ยาเพร็ป คืออะไร? เพร็ป (PrEP) ย่อมาจาก PreExposure Prophylaxis เป็นส่วนสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี แต่มีความเสี่ยงสูง
เพร็ป คือ สูตรยาต้านไวรัสที่ให้ทานเป็นประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติด เชื้อเอชไอวี ถ้าเขาไปรับเชื้อมา ทุกวันนี้ เพร็ป ให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากในกลุ่มชายรักชาย และสาวประเภทสองที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สูตรยานี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพใน การลดการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ในกลุ่มชายหญิงทั่วไป และในกลุ่มผู้ใช้เข็มฉีดยาเสพติด
การกินยา PrEP เป็นวิธีการป้องกันเชื้อเอชไอวีอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิผลสูง และมีความปลอดภัยมากหากมีการกินอย่างถูกวิธีและมารับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ ทางคลินิกนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จึงได้เริ่มเปิดให้บริการ “PrEP-30” ขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้มารับบริการที่คลินิกนิรนามสามารถประเมินลักษณะพฤติกรรมเสี่ยงของตนเองได้ว่าเหมาะสมกับการเลือก PrEP มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันเชื้อเอชไอวีของตนเองหรือไม่ โดยช่วยประเมินความพร้อมของร่างกายเมื่อจะเริ่มใช้ PrEP และจ่ายยา PrEP โดยเน้นความสำคัญของการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงต้องกลับมาตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเป็นประจำอย่างน้อยทุก 3 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับบริการที่เลือกใช้ยา PrEP มีความเข้าใจและตั้งใจจะใช้อย่างจริงจัง คอยเฝ้าระวังผลข้างเคียง และหากพบว่าติดเชื้อเอชไอวีขึ้นมาก็จะได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาอีกด้วย
เนื่องจากบริการ PrEP ยังไม่ได้ถูกรวมอยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพต่างๆ ของประเทศไทย บริการ “PrEP-30” นี้ จึงเป็นบริการที่ผู้รับบริการต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมค่ายา และค่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30 บาทต่อวัน หรือ 900 บาทต่อเดือน
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 National Institures of Health (NIH) หรือสถาบันวิจัยสุขภาพ ได้ประกาศผลการวิจัยว่า ในการจ่ายยาต้านไวรัสนั้น สามารถป้องกันเอชไอวีด้วยได้หรือไม่ ผลปรากฎว่า ยาทานที่หลายคนรู้จักในนาม ทรูวาด้า (Truvada) ให้ผลโดยเฉลี่ยถึง 44% ในการเพิ่มการป้องกันเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชาย และสาวประเภทสอง ที่ได้รับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน ควบคู่ไปกับตรวจเลือด และใช้ถุงยางอนามัย รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์วิธีอื่นโดยป้องกัน
การศึกษายังอยู่ในระหว่างงานวิจัยว่ายาต้านจะสามารถใช้ได้ผลในกลุ่มชายหญิง และผู้ใช้ยาหรือไม่ โดยผลปรากฎว่า การรับประทานยาทรูวาด้า สำหรับผู้หญิง ที่ออกมาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 นั้น ยังไม่ปรากฏผลงานวิจัยออกมา
สรุปคือทุกวันนี้ยาเพร็ป ให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากในกลุ่มชายรักชาย และสาวประเภทสองที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สูตรยานี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยว่ามีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ในกลุ่มชายหญิงทั่วไป และในกลุ่มผู้ใช้เข็มฉีดยาเสพติด
กองควบคุมโรค หรือ CDC เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนานโยบายในการให้บริการการรับประทานยาเพร็ป แต่ในขณะที่ยังรอการอนุมัติอยู่นั้น กองควบคุมโรคได้พัฒนาวิธีการจ่ายยาเพร็ปสำหรับป้องกันเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว นอกจากนี้กองควบคุมโรคในสหรัฐอเมริกา ยังออกคำแนะนำให้กลุ่มชายรักชาย ดังนี้
3.1 ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง และใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
3.2 ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบถึงสภาพร่างกายของตัวเอง
3.3 ตรวจและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของท่านอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ
3.4 รับข้อมูลและคำแนะนำของการรับประทานยาทุกครั้ง รวมถึงลดความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันและการใช้ยาเสพติด
3.5 ลดจำนวนคู่นอนลง
3.6 การรับประทานยาเพร็ปเป็นประจำทุกวันสำคัญมาก เพราะงานวิจัยระบุว่ายาเพร็ปให้ผลในการป้องกันในระดับที่สูงในกลุ่มที่ทานเป็นประจำ
แต่การป้องกันจะไม่ได้ผลในกลุ่มที่ไม่ทายาอย่างต่อเนื่อง
3.7 รับประทานยาเพร็ปควบคู่ไปกับการรับคำปรึกษาเรื่องสุขภาพ การตรวจเอชไอวี และการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
3.8 ผู้ใดที่คิดว่าตัวเองควรได้รับประทานยาเพร็ปควรปรึกษาแพทย์
แหล่งข้อมูล: www.adamslove.org/
ปัจจุบันได้มีการพัฒนารักษาไวรัส รวมทั้งมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกันเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรจะปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ เพื่อวางแผนการรักษา ซึ่งเชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันโดยเริ่มทำลายเซลล์ CD4 เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดการติดเชื้อ และการรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัสนั้นก็เป็นเพียงการหยุดหรือทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวลดลงจนไม่อาจลุกลามกลายเป็นโรคเอดส์
ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเพื่อวางแผนในการรักษา
เลือกแพทย์และโรงพยาบาลที่รักษา
ปัจจัยข้อหนึ่งที่ทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จคือแพทย์ผู้รักษาและโรงพยาบาล ทีมงานทางการแพทย์ตะต้องมีคุณภาพ และต้องเข้าใจปัญหาที่ผู้ป่วยกำลังประสบอยู่ทุกวัน อีกทั้งยังต้องวางแผนการรักษา ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ และป้องกันผู้อื่นไม่ให้ได้รับเชื้อจากตัวผู้ป่วย
ผู้ที่ติดเชื้อมักจะมีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาทางด้านจิตใจ ปัญหาเรื่องยาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถปรึกษากับทีมงานที่รักษาได้ ที่สำคัญคือต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน
เข้าใจหลักการรักษา
เชื้อ HIV จะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อนั้นจะถูกสร้างโดย CD4 Cell เมื่อเชื้อมีปริมาณมากเซลล์ CD4 Cell ก็จะต่ำ จึงควรเริ่มการรักษาก่อนที่ภูมิคุ้มกันจะถูกทำลาย
และนอกจากดูจำนวน CD4 Cell แล้วก็ยังต้องดู viral load หรือปริมาณเชื้อที่อยูในกระแสเลือดด้วย หากพบ viral load มาก เชื้อในร่างกายก็จะมาก อวัยวะก็จะถูกทำลายมากและเร็ว ที่สำคัญคืออาจเกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาคือจะต้องทำให้ปริมาณเชื้อ (viral load) ในร่างกายมีน้อยที่สุด
การรักษาจะใช้ยาร่วมกันหลายชนิดเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา โปรดจำไว้ว่าหากเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้รักษาอย่าหยุดยาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยลำพัง ให้ปรึกษาแพทย์เสมอ เพราะอาจจะทำให้เชื้อดื้อยา
การเลือกใช้ยารักษา
การจะเลือกใช้ยารักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
เมื่อไรถึงจะเริ่มรักษา
ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นเหมือนกันว่าจะเริ่มรักษาโรคต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเอดส์ นั่นคือเซลล์ CD4 ลดลง และมีปริมาณเชื้อมาก (viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณีที่แตกต่างกันไป ดังเช่น
กรณีการรักษาผู้ป่วยหลังสัมผัสโรคติดเชื้อ HIV ( Post-Exposure Prophylaxis ) ควรทำภายใน 72 ชั่วโมง เช่น การที่เจ้าหน้าที่ถูกเข็มตำขณะทำงานโดยที่เข็มนั้นเปื้อนเลือดผู้ป่วย HIV… หลังสัมผัสเชื้อทันทีจะไม่สามารถใช้วิธีการเจาะเลือดหา viral load หรือ antigen หรือ antibody ได้ เพราะจะยังหาไม่พบ
การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ แต่ในกรณีของผู้ที่ร่วมเพศกับผู้ที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อ HIV หรือไม่ ยังไม่มีรายงานว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากแค่ไหน ดังนั้นผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการใช้ยา หากต้องใช้จะเป็นเวลานานแค่ไหน และผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
กรณี Primary Infection หมายถึง ภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั่งภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HIV เพิ่มขึ้นจนสามารถตรวจพบได้ ช่วงระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยในระยะนี้ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
กรณี ผู้ที่ติดเชื้อ HIV โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ เป็นต้น
การรักษา
ก่อนการรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อในหลายแง่มุม รวมทั้งการระยะและอาการของโรค การดื้อยา ผลข้างเคียงของยา ราคายา การติดเชื้อฉวยโอกาส และเมื่อตัดสินใจรักษาแล้ว แพทย์จะจ่ายยาที่คิดว่าดีที่สุดเพื่อป้องกันการดื้อยา ผู้ป่วยต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะรักษา เพราะการขาดยาแม้เพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง ก็จะทำให้ระดับยาในเลือดลดลง ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้ ผู้ป่วยต้องปรึกษากับแพทย์ถึงราคายาเนื่องจากขณะนี้ราคายังแพงอยู่
เป้าหมายในการรักษา
เชื้อ HIV เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ การยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV จะทำให้เชื้อหยุดหรือชะลอการดำเนินของโรคเอดส์ โดยมีเป้าหมายในการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ดังนี้
ข้อสำคัญคือผู้ที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในระยะยาวโดยที่ไม่เกิดอาการ ทั้งที่ยังไม่ได้รักษา ดังนั้นผู้ป่วยบางรายยังไม่จำเป็นต้องรีบรักษาก็ได้ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์
การติดตามการรักษา
หลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส HIV เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นแพทย์อาจจะนัดตรวจทุก 3-6 เดือน เพื่อประเมินสิ่งต่อไปนี้
แหล่งข้อมูล: www.siamhealth.net
ส่วนใหญ่แล้ว การติดเชื้อเอชไอวีเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันและการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึ่งอาจไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายได้ 100% แต่คุณสามารถป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยหรือลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ด้วยเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ ดังต่อไปนี้
หนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือถุงยางอนามัยชาย ซึ่งมีวิธีการใช้งานที่ง่ายและหาซื้อได้ในราคาถูก ข้อดีคือถุงยางอนามัยมีรูปทรง ขนาด พื้นผิว และกลิ่นหลากหลายรูปแบบให้เลือก หากคุณหรือคู่ไม่ชอบถุงยางอนามัยประเภทใดก็สามารถเปลี่ยนไปลองใช้ประเภทอื่นได้
คำเตือน: ควรใช้ก่อนวันหมดอายุ หากเลยกำหนดวันหมดอายุให้ทิ้ง, อย่าเก็บถุงยางอนามัยให้โดนแสงแดด หรือในสถานที่ร้อนจัด / เย็นจัด
วิธีการใส่ถุงยางอนามัย:
วิธีการถอดถุงยางอนามัย:
ถุงยางอนามัยหญิง ที่เรียกว่า ถุงยางอนามัยแบบสอด (Insertive Condom) ได้รับการออกแบบเฉพาะสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ในช่องคลอด ทำจากโพลียูรีเทนที่ทำหน้าที่เหมือนซับหลวมๆ ภายในช่องคลอด แต่หากตัดสินใจใช้ถุงยางอนามัยผู้หญิงในการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักก็ควรตรวจสอบให้บ่อยครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าถุงยางอนามัยจะไม่ลื่นหลุดเข้าไปในลำไส้ตรง
*ถุงยางอนามัยชายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
เคล็ดลับ: ไม่ควรใช้ถุงยางอนามัยชายและหญิงในเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการลื่นหลุดหรือฉีกขาด
วิธีการใส่ถุงยางอนามัยแบบสอด:
วิธีการถอดถุงยางอนามัยแบบสอด:
หลังจากหลั่งเรียบร้อย ให้บีบ และบิดวงแหวนภายนอกของถุงยางอนามัย จากนั้นจึงนำออกจากช่องคลอดก่อนที่จะลุกขึ้นยืน โดยระมัดระวังไม่ให้มีการรั่วไหลของของเหลว (น้ำอสุจิ) ภายใน
ยาเพร็พ หรือ ยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัส Pre- Exposure Prophylaxis (PrEP)
เป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อแบบใหม่สำหรับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง ยาเพร็พช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงที่มีภาวะเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อเอชไอวีผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้เข็มฉีดยา
ยาเป๊ป หรือ ยาต้านไวรัสหลังการสัมผัส Post-Exposure Prophylaxis (PEP)
เป็นยาต้านเชื้อที่ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อเอชไอวีก่อนที่ตัวเชื้อจะกระจายตัวในร่างกาย ตัวยาประกอบด้วยยาต้านไวรัส 2-3 ชนิด ควรรับประทานอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หลังจากที่คุณได้รับเชื้อเอชไอวี (เพื่อให้มีประสิทธิภาพควรเริ่มทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อ) และควรจะรับประทานให้ครบ 28 วัน
เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อมีการฉีดยาก็ควรใช้เข็มใหม่และแท่นเจาะที่สะอาดทุกครั้ง หลังจากที่คุณใช้เข็มฉีดยาแล้ว ควรจัดเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ขวดน้ำพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวคุณหรือผู้อื่นได้สัมผัสและรับบาดเจ็บ
แหล่งข้อมูล: www.hivcl.org, www.plannedparenthood.org, www.cdc.gov
HIV แพร่กระจายโดยการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย (condom) เป็นสิ่งจำเป็นมากในการช่วยป้องกันโรคเอดส์ และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นการไม่ใช้ถุงยางอนามัย จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูง
กิจกรรมดังต่อไปนี้ไม่ทำให้ติด HIV
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า กิจวัตรประจำวันดังกล่าวไม่ทำให้คุณติดเชื้อ HIV ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวการอยู่ร่วมกลุ่มกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ และไม่จำเป็นต้องกีดกันพวกเขาออกจากสังคม
แหล่งข้อมูล: http://www.migesplus.ch
เมื่อเร็วๆ นี้ สภากาชาดไทย แถลงข่าวโครงการลดการติดเอดส์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง พร้อมให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อรับยาต้านไวรัสเอดส์ก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือเพร็ป (PrEP) ซึ่งส่วนกลางรับได้ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของสมาคมฟ้าสีรุ่งที่กรุงเทพฯ หรือ สอบถามเพิ่มเติม โทร.0 2253 0996 ในเวลาราชการ
สำหรับกลุ่มเป้าหมายการใช้ยาตัวดังกล่าวคงพอทราบแล้วว่ายาต้านไวรัสตัวนี้คืออะไร ใช้เมื่อใด แต่กับบุคคลทั่วไปเชื่อว่าอาจยังสับสน วันนี้ mars จึงทำข้อมูลพอสังเขปให้เข้าใจง่ายขึ้น
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โดยทั่วไปเราจะคุ้นชินกับการเห็นคนรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดแผง 28 เม็ด ทุกวัน ต่อมามีการพัฒนาเป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน คือ รับประทานหลังมีกิจกรรมร่วมกัน 1 เม็ดทันที และอีก 1 เม็ด ภายใน 12 ชั่วโมง ซึ่งเหตุผลการใช้ต่างกัน และคนละเรื่องกับ ‘PrEP’ หรือ ‘PEP’ อย่างสิ้นเชิง
PrEP (PreExposure Prophylaxis) หรือ PEP (Post -Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัส HIV ในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มรักร่วมเพศ แพทย์ พยาบาล ที่อาจจำเป็นต้องรับประทานยาชนิดนี้ประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือกรณีสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไปแล้วภายใน 72 ชั่วโมง ก็ยังสามารถรับประทานเพื่อป้องกันได้
แม้ยาชนิดนี้มีชื่อเรียก 2 แบบ ตามลักษณะของเวลาในการรับประทาน แต่เนื้อยาคือตัวเดียวกัน โดยผลข้างเคียงของมันอาจเกิดขึ้นได้คือ อาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ และอาเจียน เป็นต้น
ขอบคุณข่าวสารจาก http://www.manager.co.th