เมื่อวันที่ 7 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา มูลนิธิแคร์แมท ได้รับเกียรติจากคุณ หทัยรัตน์ สุดา และ คุณจารุกัญญา เรือนคำ วิทยากรมากความสามารถ มาสร้างพลังและกระตุ้นแรงผลักดันให้กับพี่น้อง NGO ภาคเหนือ 6 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน เข้าร่วมกิจกรรม Work Shop พัฒนาหลักสูตรคู่มืออนามัยเจริญพันธุ์สำหรับเยาวชน ซึ่งภายในกิจกรรมมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความสนุกสนานของเหล่าพี่น้อง NGO
องค์กรที่นำโดยประชากรหลักของไทยให้ความหวังสำหรับการจัดหาเงินทุนด้านเอชไอวีที่ยั่งยืน
เมื่อเงินทุนด้านเอชไอวีระหว่างประเทศลดลง องค์กรของไทยจึงต้องหาเงินทุนก้อนใหม่ในประเทศและพัฒนากิจการเพื่อสังคม
แปลจากข่าวของ https://www.aidsmap.com/news/aug-2023/thai-key-population-led-organisations-give-hope-sustainable-hiv-financing?fbclid=IwAR29DtzgMGJhH66OOisbpa6By3qt9hk9DdIDWnNPCOl71_F-8mmMaxynZWM
23 August 2023
การศึกษาที่นำเสนอในการประชุมสมาคมเอดส์นานาชาติด้านวิทยาศาสตร์เอชไอวี ครั้งที่ 12 (IAS 2023) โดย คุณศตายุ สิทธิกาน จากมูลนิธิแคร์แมท ประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าองค์กรที่นำโดยประชากรหลัก 11 องค์กรดำเนินตนเองไปได้อย่างไร แม้ว่าเงินทุนระหว่างประเทศจะถูกตัดลงจาก 84% ของงบประมาณในปี 2559 เป็น 50% ในปี 2565
องค์กรเหล่านี้ใช้กลยุทธ์สองทางประคับประคองตนเองเพื่อให้บริการด้านเอชไอวีต่อไป ประการแรก คือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายในประเทศให้มากขึ้น และประการที่สอง ได้แก่การก่อตั้งและดำเนินกิจการเพื่อสังคมได้สำเร็จ
สิ่งสำคัญคือต้องมองเห็นองค์กรเหล่านั้นที่นำโดยประชากรหลักซึ่งได้สร้างคุโณปการต่องานด้านเอชไอวีของไทย ประชากรหลักคือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวีอย่างไม่ได้สัดส่วน ในประเทศไทย ได้แก่ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ผู้ใช้ยาเสพติด ผู้หญิงข้ามเพศ และผู้ให้บริการทางเพศ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประชากรหลัก
กลุ่มประชากรหลักจึงถือเป็นกุญแจสำคัญที่ตอบสนองนโยบายด้านเอชไอวีในประเทศไทย ซึ่ง 47%ของผู้ถูกวินิจฉัยเอชไอวีรายไหม่พบจากองค์กรเหล่านี้ และประชาชนสี่ในห้าคนมีโอกาสเข้าถึงยา PrEP ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการขององค์กร (ประเทศไทยมีโครงการ PrEP ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย)
“นอกเหนือจากการมีส่วนร่วมในการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่แล้ว ผู้ป่วยที่เราพบจากบริการด้านสุขภาพที่นำโดยประชากรหลักมี CD4 สูงกว่า” ศตายุ สิทธิกาน กล่าวกับ AIDSMAP “อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีที่ศูนย์ของรัฐบาลมักจะไปตรวจเอชไอวีเมื่อมีอาการป่วยแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงมีค่า CD4 ต่ำกว่าในขณะที่วินิจฉัย”
การวินิจฉัยเอชไอวีตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพื่อช่วยชีวิต และหลีกเลี่ยงการติดเชื้อฉวยโอกาส กดเชื้อไวรัสได้ และทำให้ ‘ตรวจไม่พบเท่ากับไม่แพร่เชื้อ’ (U=U) เป็นจริง
องค์กรเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในการขับเคลื่อนการตรวจหาผู้ป่วย HIV รายใหม่ การประสานส่งต่อบริการสุขภาพ การติดตามหลังตรวจ การป้องกัน HIV การสนับสนุนด้านจิตสังคม และการกำกับดูแลบริการที่นำโดยชุมชน
เข้าหาทรัพยากรในประเทศมากขึ้น
เมื่อเงินทุนระหว่างประเทศสำหรับโครงการด้านเอชไอวีลดลง ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับองค์กรเหล่านี้ที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายในประเทศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ของรัฐบาลไทยได้คืนเงินให้กับองค์กรต่างๆ ในการให้บริการด้านเอชไอวีและบริการด้านสุขภาพ อื่นๆ แต่ไม่มีความแน่นอนว่าสัญญาหรือเป้าหมายรายปีจะมีการต่ออายุปีต่อปี
ภายใต้ข้อตกลงใหม่ หากองค์กรได้รับการรับรองจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จะได้รับสิทธิประโยชน์ 2 เท่า ประการแรกสามารถทำงานร่วมกับ สปสช. ได้อย่างต่อเนื่อง และประการที่สอง สามารถตรวจตามเป้าที่องค์กรกำหนดจำนวนได้เอง (free-flow target) และคืนเงินตามผลการปฏิบัติงาน
ข้อแม้ประการหนึ่งคือ นโยบายนี้มีไว้สำหรับบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามโครงการคุ้มครองสากลของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมประมาณ 80% ของประชากร ตามที่ AIDSMAP รายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 กล่าวถึงการตัดสินใจของรัฐบาลในเดือนธันวาคม 2565 ที่ไม่อนุญาตให้มีการจ่ายเงินชดเชยให้กับประชาชนที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพประเภทอื่นหรือไม่มีความคุ้มครองเลยนอกเหนือจากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เช่น ประกันสังคม ข้าราชการ และอื่นๆ)
แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนดังกล่าว แต่เงินเบิกจ่ายคืนที่ได้จากสปสช. ยังต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานขององค์กร “แคร์แมท ต้องรวมแหล่งเงินทุนต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อปิดช่องว่างที่เกิดจากการลดลงของกองทุนระหว่างประเทศ” ศตายุ กล่าวกับ Aidsmap
วิธีหนึ่งที่องค์กรต่างๆ จะเพิ่มการสนับสนุนภายในประเทศจากสปสช. คือการขยายขอบข่ายงานบริการเพื่อเรียกเงินชดเชยมากขึ้น นอกเหนือจากบริการต่างๆของแคร์แมท เช่น การจัดหาบริการตรวจ HIV และยา PrEP ในปัจจุบัน ยังให้บริการสำหรับโรคไม่ติดต่อและสุขภาพจิตอีกด้วย แคร์แมทได้รับเงินทุนจากกองทุนป้องกันเอชไอวี สภากาชาดไทย ในโครงการพระองค์เจ้าโสมสวลี เพื่อสนับสนุนการทำงานกับเยาวชนทั่วไปและกลุ่มเยวชนที่เป็นประชากรหลักในโรงเรียน ให้บริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และบริการด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ (เช่น การตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน) ในขณะที่องค์กรอื่นๆ เช่น มูลนิธิ MPLUS ได้จดทะเบียนคลินิกของตนเป็นโพลีคลินิกเพื่อให้สามารถจัดบริการเพิ่มเติมอื่นๆได้
ผู้ให้บริการและสมาชิกในทีมต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างกว้างขวางและการสร้างขีดความสามารถเพื่อให้ได้ทักษะที่จำเป็นในการจัดการบริการทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข FHI360 USAID สถาบันวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI) และพันธมิตร
บางองค์กรกำลังจดทะเบียนคลินิกของตนกับรัฐบาลเป็นคลินิกเทคนิกการแพทย์ เพื่อให้สามารถให้บริการทดสอบในห้องปฏิบัติการและรับเงินคืนได้ แต่คลินิกเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้จ่ายยาใดๆ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้อนุญาตให้ 11 องค์กรที่ทำงานให้แก่โครงการ USAID ในส่วนของโครงการ EpiC ให้สามารถจ่ายยา PrEP และยาต้านไวรัสภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลของรัฐที่เป็นพันธมิตร จึงทำให้บริการที่นำโดยประชากรหลักสามารถดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดว่าใครสามารถสั่งจ่ายยาที่รายงานโดย Aidsmap ในเดือนกุมภาพันธ์ได้
องค์กรอื่นๆ ได้ขยายพื้นที่ทำงาน โดยเริ่มจากหนึ่งจังหวัด (เชียงใหม่) ในปี 2560 มูลนิธิเอ็มพลัสได้ขยายงานไปยัง 10 จังหวัดภายในปี 2565 การสนับสนุนภายในประเทศประจำปีจาก สปสช. ก็เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน จาก 5% ในปี 2560 เป็น 50% ในปี 2565 ของงบประมาณทั้งหมด
โมเดลธุรกิจเพื่อสังคมที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่สองคือการจัดตั้งและดำเนินกิจการเพื่อสังคม (Social enterprise) ตัวอย่างเช่น ประมาณหกปีที่แล้ว สมาชิกในทีมคนหนึ่งของ Caremat ได้พัฒนาแอปพลิเคชันบนเว็บเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบในระบบรวบรวมข้อมูลแบบที่ใช้กระดาษ เช่น ลายมืออ่านไม่ออกและบางส่วนของแบบฟอร์มถูกเว้นว่างไว้
จึงเป็นที่มาของการสร้างแอปพลิเคชันบนเว็บที่ช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลและติดตามผู้รับบริการในบริการดูแล HIV อย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบ RRTTPR ( เข้าถึง พามาตรวจ บริการตรวจ ส่งต่อรักษา ป้องกัน และเก็บรักษาผู้รับบริการ) นอกจากจะถูกใช้ภายใน Caremat เป็นที่แรกแล้วแล้ว องค์กรยังได้จัดตั้งบริษัท Accelerate Community Technology Social Enterprise (ACTSE) เพื่อสร้างรายได้
เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่พัฒนาโดย ACTSE ปัจจุบันมีการใช้งานโดยพันธมิตรโครงการ EpiC อื่นๆ ในประเทศไทย รวมถึงมูลนิธิ MPLUS และสมาคม Rainbow Sky แห่งประเทศไทย องค์กรไทยที่ทำงานในโครงการเอชไอวีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนโลกก็ใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้เช่นกัน
ในปี 2565 ACTSE มีมูลค่าการซื้อขาย 100,000 เหรียญสหรัฐ และทำกำไร 20,000 เหรียญสหรัฐ บังเอิญว่าหลังจากการก่อตั้ง ACTSE ไม่นาน รัฐบาลไทยก็ได้พัฒนากรอบกฎหมายสำหรับกิจการเพื่อสังคมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย
“ปัจจุบัน Caremat และมูลนิธิ MPLUS เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จ ACTSE” เทิดชัย สัตยาพาณิชย์ จาก FHI360 กล่าวกับ AIDSMAP “เรายังอยู่ในกระบวนการพัฒนาโมเดลกิจการเพื่อสังคมอีก 2 โมเดล หนึ่งคือโมเดลสำหรับสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (ซึ่งรวมถึงศูนย์ฝึกอบรมเรื่องความอ่อนไหวทางเพศเพื่อรองรับภาคเอกชน พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ และแผนกสินค้า) และ อีกโมเดลสำหรับพนักงานบริการในกลุ่มหรือมูลนิธิ SWING (ซึ่งเป็นร้านเบเกอรี่)”
การจัดหาเงินทุนด้านเอชไอวีอย่างยั่งยืนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการยุติโรคเอดส์
ความเปราะบางของโครงการด้านเอชไอวีซึ่งต้องอาศัยเงินทุนระหว่างประเทศถือเป็นประเด็นเร่งด่วน ศตายุ ยืนยันว่าการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรที่นำโดยประชากรหลักและหน่วยงานภาครัฐมีความสำคัญ
“องค์กรต่างๆ ได้สร้างและใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในการค้นหาบุคคลที่เข้าถึงได้ยาก และนำพวกเขาเข้าสู่บริการดูแลแบบต่อเนื่อง ในทางกลับกันหน่วยงานภาครัฐก็มีบทบาทสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของประชาชนเช่นกัน เราจำเป็นต้องโน้มน้าวรัฐบาลเกี่ยวกับความสามารถที่เราแสดงให้เห็นในการให้บริการด้านเอชไอวีแก่ประชากรหลัก ๆ” เขากล่าว “ไม่มีใครสามารถยุติโรคเอดส์ได้เพียงลำพัง เราต้องร่วมมือกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”
การแบ่งปันความรู้ระหว่างผู้ที่ทำงานด้านการเงินด้านเอชไอวีอย่างยั่งยืนก็มีความสำคัญเช่นกัน
“หลังจากพยายามนำเสนอในการประชุม IAS ไม่สำเร็จหลายครั้ง นี่เป็นครั้งแรกที่ Caremat สามารถนำเสนอผลงานของตนได้” ดวงกมล ดอนชะอุ่ม จาก FHI360 กล่าวกับ AIDSMAP
“องค์กรที่นำโดยประชากรหลักกำลังทำงานที่สำคัญเกี่ยวกับการดูแลและควบคุมเอชไอวี เช่นเดียวกับการสร้างความก้าวหน้าในด้านการเงินที่ยั่งยืนและการกระจายเงินทุนที่หลากหลาย” เธอกล่าวต่อ “พวกเขาจะต้องมีพื้นที่ในการนำเสนอ เรียนรู้ และแบ่งปันในการประชุมระดับโลก”
References
Sittikarn S et al. Sustaining key population-led HIV services as international donor funding declines: fragile success in domestic financing and social enterprise development in Thailand. 12th IAS Conference on HIV Science, Brisbane, abstract EPE0879, 2023.
เช็คก่อนตรวจ
วันที่ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี (Zero HIV Stigma Day)
“Human First” เป็นหัวข้อรณรงค์ วันที่ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวีในปี 2023 เพื่อเน้นย้ำมิติความเป็นมนุษย์ของผู้ที่มีเอชไอวีและได้รับผลกระทบจากเอชไอวี ที่ควรได้รับสิทธิความเป็นมนุษย์เฉกเช่นมนุษย์ทุกคน ให้เห็นมนุษย์ ไม่ใช่เห็นแต่ไวรัส และการเลือกปฏิบัติใดๆ ต่อผู้มีเอชไอวีควรถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ข้อเสนอเพื่อการขจัดการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี https://zerohivstigmaday.org/wp-content/uploads/2023/07/ZeroHIVStigmaDay_Toolkit.pdf
ความเป็นมา
วันที่ 21 กรกฎาคม ได้รับการเลือกและเสนอให้เป็นวันสร้างความตระหนักเรื่องการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี เพื่อเป็นเกียรติให้กับคุณ พรูเด็นซ์ โนบันตู มาเบเล่ (Prudence Nobantu Mabele) หญิงผิวดำชาวแอฟริกาใต้คนแรกที่แบ่งปันเรื่องสถานะการมีเอชไอวีให้กับสาธารณะรับรู้ เธอต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้หญิงและเด็กที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี และความรุนแรงทางเพศภาวะ คุณพรูเด็นซ์ เกิด 21 กรกฎาคม ปี 1971 ได้รับเอชไอวีปี 1990 พูดถึงสถานการณ์มีเอชไอวีของเธอในที่สาธารณะในปี 1992 และเสียชีวิตลงในวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 2017 https://en.wikipedia.org/wiki/Prudence_Nobantu_Mabele
วันสร้างความตระหนักเรื่องทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี สร้างความเคลื่อนไหวไปทั่วโลก รวมผู้คน ชุมชน และประเทศทั้งหลายให้ตระหนักและลงมือปฏิบัติต่อการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี เพื่อนักกิจกรรมด้านเอชไอวีที่จากไปและเพื่อนักกิจกรรมทุกคนที่ยังคงต่อสู้กับเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง
วันที่ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี ริเริ่มในปี 2021 โดย 4 องค์กร
คัดลอกจากและนำเสนอเนื้อหาบางส่วนจาก บทความวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
เรื่อง การใช้และความปลอดภัยของฮอร์โมนสาหรับเปลี่ยนกายภาพ ทางเพศในหญิงข้ามเพศ (Use and safety of hormone treatment for transforming physical sexual appearance in transgender women)
รศ. ดร. ภญ.จุราพร พงศ์เวชรักษ์
สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความปลอดภัยของการได้รับฮอร์โมน ในหญิงข้ามเพศ
โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด [6, 8, 9]
ในภาพรวม การศึกษาเชิงระบาดวิทยาชนิด retrospective cohort หลายการศึกษาในยุโรป ติดตามผลเป็นระยะเวลา 4 ปี จนถึงตลอดชีวิต พบว่าหญิงข้ามเพศ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าหญิงทั่วไป ด้วยช่วงอัตราความเสี่ยง 1 ถึง 2.9 และมีอัตราการเสียชีวิตจากหัวใจขาดเลือด 1.64 เท่า (95%CI 1.43-1.87) เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป และเพิ่มขึ้นเป็น 3.12 (95% CI, 1.28–7.63) ในกลุ่มที่ได้รับ ethinyl estradiol 100 ไมโครกรัมต่อวัน ร่วมกับ CPA 100 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนหรือเคยได้รับ [18-19] ซึ่งในปัจจุบัน ethinyl estradiol ไม่มีที่ใช้ในหญิงข้ามเพศอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นผลจากปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ทราบกันดีอยู่แล้วได้แก่ ดัชนีมวลกายที่สูง สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและการดารงชีวิตที่ไม่มีการออกแรงกาย อายุเมื่อเริ่มการใช้ฮอร์โมนเพื่อเปลี่ยนสภาพเพศ ก็มีความสาคัญต่อระยะเวลาของการมีปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตาม พบว่าหญิงข้ามเพศที่ได้รับฮอร์โมน มีระดับไขมันที่ดี คือ มีระดับ HDL-C เพิ่มขึ้นและระดับ LDL-C ลดลง [15, 19] เมื่อพิจารณาจากข้อจากัดของรูปการศึกษาที่เป็นข้อมูลย้อนหลังและเป็นกลุ่มประชากรยุโรป ยังไม่อาจสรุปได้ว่าหญิงข้ามเพศที่ได้รับฮอร์โมนมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดสูงกว่าหญิงทั่วไป และไม่อาจนามาคาดการณ์กับหญิงข้ามเพศไทยได้
การเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ พบว่าการศึกษาให้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอาจเนื่องจากรูปแบบการศึกษาที่แตกต่างกัน มีทั้งการศึกษาชนิด cross-sectional และการศึกษาชนิด retrospective cohort จึงทาให้การรายงานผลมีทั้งอัตราความชุก/อุบัติการณ์ และอัตราเสี่ยง รวมถึงกลุ่มเปรียบเทียบมีทั้งชายและหญิงทั่วไป [18]
ดังนั้นอุบัติการณ์ที่แท้จริงของเหตุการณ์ด้านหัวใจร่วมหลอดเลือดรวมถึงการเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าว ยังต้องการการศึกษาที่มีกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่และติดตามไปข้างหน้าในระยะเวลาที่นานเพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการศึกษาที่เป็นข้อมูล real world ในยุโรป กาลังดาเนินการอยู่ต่อเนื่อง [15]
ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ [6, 8, 9]
เป็นที่ทราบกันดีว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีคุณสมบัติก่อลิ่มเลือด ทาให้เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ ซึ่งขึ้นกับขนาดยา และปัจจัยบุคคลด้วย ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น ดัขนีมวลกายสูงกว่า 25 กก./ม.2 ปัจจัยทางพันธุกรรม ประวัติเคยเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำมาก่อน การศึกษาในหญิงข้ามเพศ หลังจากได้รับฮอร์โมนไป 2 และ 8 ปี มีความเสี่ยงต่ออุบัติการณ์ของลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำสูงกว่าบุคคลโดยทั่วไป โดยมี risk difference เมื่อเทียบกับเพศชายทั่วไป 4 (95% CI 1.6-6.7) และ 16.7 (6.4-27.5) และเมื่อเทียบกับเพศหญิงทั่วไป 3.4 (1.1-5.6) และ 13.7 (4.1-22.7) ตามลาดับ ระยะเวลาของการได้รับฮอร์โมนที่นานขึ้น การได้รับ CPA ร่วมและการได้รับเอสโตรเจนรูปแบบรับประทาน จะเพิ่มความเสี่ยง ในขณะที่รูปแบบแผ่นติดผิวหนังและเจลทาผิวหนังไม่มีผลเพิ่มความเสี่ยง ดังนั้นในหญิงข้ามเพศทุกรายที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือในรายที่อายุ 40 ปีขึ้นไป จึงแนะนําให้ใช้เอสโตรเจนรูปแบบทางผิวหนัง
การทบทวนอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์ชนิดอภิมาน ที่ประกอบด้วยข้อมูลจาก 18 การศึกษา ในหญิงข้ามเพศกว่า 10000 คน พบอัตราความชุกของเหตุการณ์ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำรวมร้อยละ 2 และความชุกสูงขึ้นตามอายุและระยะเวลาที่ได้รับฮอร์โมน หญิงข้ามเพศที่อายุเฉลี่ยไม่เกิน 37 ปี หรือได้รับฮอร์โมนไม่เกินระยะเวลา 1 ปี ไม่พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ [20]
มะเร็ง [6-9]
มะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมน ข้อมูลย้อนหลังในกลุ่มหญิงข้ามเพศ ประเทศเนเธอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา ในระหว่างการได้รับฮอร์โมนต่อเนื่อง พบว่าอัตราของอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมในหญิงข้ามเพศไม่ได้สูงกว่าหญิงทั่วไป แต่สูงกว่าผู้ชายทั่วไป ดังนั้นหญิงข้ามเพศจึงควรรับการคัดกรองเช่นเดียวกับหญิงทั่วไป มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ในหญิงข้ามเพศที่ได้รับฮอร์โมนต้านแอนโดรเจน มีอัตราของอุบัติการณ์ต่ำากว่าในชายทั่วไป (incidence ratio 0.2, 95% CI 0.08-0.42)
กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและยาต้านฮอร์โมนเพศชาย CPA มีรายงานความชุกของเนื้องอกต่อมใต้สมอง ชนิดที่สร้างฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactinoma) และเนื้องอกของเยื่อหุ้มสมอง (meningioma) สูงขึ้น ซึ่งยังไม่ทราบเหตุผล
เอกสารอ้างอิง
6. Hembree WC, Cohen-Kettenis PT, Gooren L, Hannema SE, Meyer WJ, Murad MH, Rosenthal SM, Safer JD, Tangpricha V, T’Sjoen GG. Endocrine treatment of gender-dysphoric/gender-incongruent persons: an endocrine society clinical practice guideline. J Clin Endocrinol Metab 2017; 102(11): 3869–903. doi: 10.1210/jc.2017-01658.
พล, บรรณาธิการ. คู่มือการให้บริการสุขภาพคนข้ามเพศประเทศไทย.-พิมพ์ครั้งที่ 1.-กรุงเทพฯ : กันต์รพีเพรส จากัด. 2563. หน้า 27-44, 135-154.
Totaro M, Palazzi S, Castellini C, Parisi A, D’Amato F, Tienforti D, Baroni MG, Francavilla S, Barbonetti A. Risk of venous thromboembolism in transgender people undergoing hormone feminizing therapy: a prevalence meta-analysis and meta-regression study. Front Endocrinol 2021; 12: 741866. doi: 10.3389/fendo.2021.741866.
วัยรุ่นยุพราช ให้ความร่วมมือดีมาก ทั้งสนุก ทั้งฮา และได้สาระความรู้ จากพวกเราชาวแคร์แมท
วันที่ 27 และ 28 มิถุนายน 2566 มูลนิธิแคร์แมทได้จัดกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ชั้นม.3 และ ม.4 ตามลำดับ กว่า 1200 คนได้ทั้งความรู้และความบันเทิงในเรื่อง อนามัยเจริญพันธุ์และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น
ขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียน คณะอาจารย์ และนักเรียนที่น่ารักทุกท่าน มา ณ ที่นี้ด้วยครับ