คุณมีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ้างไหม
ลองมาทำแบบประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองกันได้เลย
คลิกที่นี่
https://caremat.actse-clinic.com/questionnaire/questionnaire.php
ลิ้งค์ต้นฉบับ
กรมควบคุมโรคชวนตรวจ HIV ฟรีปีละ 2 ครั้ง ตรวจเร็ว รู้ก่อน ก้าวต่อได้ เผยไทยมีผู้ติดเชื้อ HIV รู้ตัวเอง 491,017 คน หรือ 94%
1 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยเอชไอวี HIV (Human Immunodeficiency Virus) ของประเทศไทย ณ สิ้นปี 2564 พบว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 520,345 คน (ข้อมูลจาก Thailand Spectrum-AEM, ณ วันที่ 22 เม.ย.65) และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รู้สถานะการติดเชื้อของตนเอง จำนวน 491,017 คน คิดเป็นร้อยละ 94 (ข้อมูลจากระบบสารสนเทศการให้บริการผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์แห่งชาติเดือนมีนาคม 2565) ซึ่งยังมีผู้ติดเชื้อบางส่วนที่ยังไม่ทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง เนื่องจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก ส่วนใหญ่ไม่ปรากฏอาการ จะทราบได้ก็ต่อเมื่อได้ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคจึงส่งเสริมให้ประชาชนเข้ารับบริการตรวจคัดกรองเพื่อทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง และเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีดีขึ้น และลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้ โดยการรณรงค์ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “HIV ตรวจเร็ว รู้ก่อน ก้าวต่อได้” จัดกิจกรรมวันรณรงค์ตรวจเอชไอวี (Voluntary Counseling and Testing Day: VCT Day) ในวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและประชาชนได้รับการตรวจและทราบสถานะการติดเชื้อของตนเองโดยเร็ว เพื่อเข้าสู่การรักษาต่อได้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการรู้สถานะการติดเชื้อของตนเอง สำหรับคนไทยทุกคนที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ทุกสิทธิ์การรักษา สามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ในทุกโรงพยาบาลที่ให้บริการภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและรู้ผลภายในวันเดียว
นอกจากนี้ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง คือ การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV self-test) โดยในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ ชุดตรวจจากการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วมือ รู้ผลภายใน 1 นาที และชุดตรวจโดยใช้สารน้ำในช่องปาก รู้ผลภายใน 20 นาที การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเองมีข้อดี คือ สะดวก มีความเป็นส่วนตัว สามารถตรวจและทราบผลได้ด้วยตนเอง เหมาะกับผู้ที่ต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่แต่ไม่สะดวกเดินทางไปโรงพยาบาล โดยสามารถหาซื้อชุดตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเองได้ที่ร้านขายยาทั่วไป แต่ในปัจจุบันอาจยังมีการจำหน่ายไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ หากผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเองเป็นบวก ควรตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา แต่หากผลตรวจยืนยันเป็นลบ จะได้รับคำปรึกษาเพื่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อให้กับคู่ และการชวนคู่มาตรวจ เป็นต้น
ทั้งนี้ หากพบว่าติดเชื้อเอชไอวี ควรเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยเร็ว (Same day ART) เพื่อให้สามารถกดปริมาณไวรัสในกระแสเลือดได้สำเร็จ ทำให้ลดโอกาสเสี่ยงต่อการ เป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา วัณโรคในปอดหรือต่อมน้ำเหลือง ปอดอักเสบ งูสวัด ตาบอดจากไวรัสขึ้นจอตา และโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น นอกจากนี้ การคงอยู่ในระบบการรักษา โดยการกินยาอย่างต่อเนื่อง ตรงเวลา และสม่ำเสมอ จะทำให้ปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดต่ำมากจนตรวจไม่พบเชื้อ จะไม่ถ่ายทอดเชื้อให้ผู้อื่น ส่งผลต่อการลดการติดเชื้อรายใหม่ ลดการเสียชีวิต และผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ
“กรมควบคุมโรค ขอเชิญชวนหน่วยงาน และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ตลอดจนสื่อมวลชน ร่วมกันรณรงค์ตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าใจและเห็นความสำคัญ ของการรู้สถานะการติดเชื้อของตนเองโดยเร็ว และเริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องจนสามารถกดปริมาณไวรัสได้สำเร็จ จนไม่ถ่ายทอดเชื้อให้กับคู่ ผู้ติดเชื้อจะอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างยืนยาว สามารถติดตามกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ได้ทาง Facebook Page กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค และเพจ Safe SEX Story” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
เพศสภาพกับการเลือกปฏิบัติทางการเมือง
ในโอกาส Pride month 2022 นี้ ซึ่งเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของ LGBTQI++ แคร์แมทขอแชร์เนื้อหาที่จะช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนสิทธิและเสรีภาพของชาว LGBTQI+ เมื่อมองเข้าไปลึกๆแล้ว พบว่า ในกลุ่มเราเองก็ยังมีความหลากหลายและมีปัญหา ความต้องการต่างกัน ตามบริบทของอัตลักษณ์ที่ต่างกัน
คุณ ฮั้ว ณชเล บุญญาภิสมภาร นักรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิคนข้ามเพศ เป็นตัวแทนหนึ่งที่จะส่งเสียงให้เราทราบถึงปัญหาของ LGBTQI+ ในมิติทางการเมือง ติดตามลิ้งค์วิดิโอ ในรายการหักมุมการเมือง EP 11 ข้อความบทสัมภาษณ์ได้เลยค่ะ
https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=1367909923690907
เพศสภาพกับการเลือกปฏิบัติทางการเมือง
รายการหักมุมการเมือง EP.11
แขกรับเชิญ : คุณ ฮั้ว ณชเล บุญญาภิสมภาร นักรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิคนข้ามเพศ
ผู้สัมภาษณ์ : ดร. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (PNET)
ก่อนเข้าสู่เนื้อหา เราต้องทำความรู้จักก่อน “โครงการ ส่งเสริมสุขภาวะ และลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนข้ามเพศในประเทศไทย (Transgender Health Access Thailand : T-HAT)” คืออะไร การเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของคุณ ณชเล หรือ น้องฮั้ว ที่ทำมาอย่างไรบ้าง ทำอะไรมาบ้าง ?
ตอนนี้ทำงานโครงการ T-HAT เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เป็นโครงการสองปี เป้าหมายสุดท้ายที่เราอยากเห็นคือ ภาครัฐให้ความสำคัญการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดสิทธิในเรื่องการเข้าถึงบริการสุขภาพของข้ามเพศค่ะ ส่วนตัวเคยอยู่อเมริกา ภาครัฐคุ้มครอง จ่ายเงินให้คนข้ามเพศ เช่นการใช้ฮอร์โมน แปลงเพศ หรือศัลยกรรมต่างๆที่เปลี่ยนแปลงร่างกายให้ใกล้เคียงกับเพศหรือสำนึกเพศของคนๆนั้นนะคะ ทำไมอเมริกาจ่ายค่าเหล่านี้ให้เราได้ ซึ่งในฐานะที่เราเสียภาษี ทำไมประเทศไทยทำไม่ได้ พอกลับมาเมืองไทย เลยอยากพัฒนาโครงการในด้านนี้ค่ะ
ก่อนหน้าที่จะทำงานนี้ ก็เคยทำงานในหลายประเด็น เช่น เอชไอวี การเข้าถึงเครื่องมือป้องกันเอชไอวี สิทธิมนุษยชนของ LGBTQNI+ นอกจากนี้ก็เป็นคณะกรรมการมูลนิธิ หลายที่ เช่น มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน เป็นประธานมูลนิซิสเซอร์ หญิงข้ามเพศในพัทยา ด้วยค่ะ นอกจากโครงการของ สสส. ยังมีโครงการที่ทำร่วมกับสถานทูตอเมริกา ทำเพื่อน้องๆเยวชนที่เป็น LGBT เร็วๆนี้ในวันที่ 11 มิ.ย. 65 นี้ก็จะมีงานที่สถานทูตนะคะ ชื่อว่า Youth pride มีธีมในปีนี้คือ อิสรภาพและความยุตธรรม ก็อยากเชิญชวนนะคะ ให้สังคมไทยได้รู้ว่าเรามีตัวตน ซึ่งการเรียกร้องเรื่องอัตลักษณ์ เรื่องตัวตนก็ถือว่าเป็นเรื่องการเมืองค่ะ
จากที่ทำงานมานาน น้องฮั้วมองว่า ปัญหาสำคัญเรื่องอัตลักษณ์ของเพศสภาพ ในประเทศไทยมีอะไรบ้าง ?
ต้องอธิบายให้เข้าใจก่อนว่า อัตลักษณ์ทางเพศ เป็นเรื่องการเมืองแน่นอน การที่เราถูกเห็น ให้รู้ว่ามีตัวตน เป็นเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับคนที่เป็น LGBT ปัญหาหนึ่ง คือนักการเมืองหลายท่านรวมถึงคนที่ทำงานประเด็นนี้ มักใช้คำว่า ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งคำคำนี้มันลดทอนการมีตัวตนของบุคคลที่มีความหลากหลาย คือจะเหมารวมว่า บุคคลหลากหลายทางเพศมีความต้องการคล้ายกัน มีปัญหาเดียวกัน อยากผลักดันนโยบายเหมือนๆกัน แต่ถ้าเราดูลึกเข้าไปจริงๆ มันมีคนหลายกลุ่มมากๆเลยที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น เกย์ เลสเบี้ยน คนข้ามเพศ ในคนข้ามเพศก็มี หญิงข้ามเพศ ชายข้ามเพศอีก คนเป็นไบเซ็กชวล และอื่นๆอีกที่สังคมไทยยังไม่รู้จัก ในภาคการเมืองของเรา จะเห็นว่าคนที่ทำหน้าที่เป็นปากเสียงให้กับเรา ก็มักมีอัตลักษณ์ทางเพศที่เป็นผู้ชายโดยกำเนิด ส่วนใหญ่ก็คือผู้ชาย กลุ่มของหญิงรักหญิงก็มักจะถูกทำให้หายไป คนก็เลยไม่เห็น และไม่เกิดนโยบายที่มาส่งเสริมความเฉพาะ หรือความต้องการเฉพาะของกลุ่มนั้น มันจึงเป็นเรืองสำคัญที่จะทำให้แต่ละกลุ่มถูกมองเห็น ต้องมีพื้นที่ให้เขาได้พูด จะได้รู้ว่ามีปัญหาอย่างไร เพื่อที่จะออกแบบนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของคนแต่ละกลุ่มได้อย่างไรเพราะแต่ละกลุ่มก็ต้องการไม่เหมือนกัน
นโยบายไหนที่แสดงว่าเป็นการเหมารวม ?
ต้องบอกว่า นโยบายที่มาช่วยส่งเสริมสนับสนุนสิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศยังไม่มีค่ะ อย่างที่ทราบกันว่า สมรสเท่าเทียมก็ถูกปัดตกไป มีพรรคการเมืองพยายามที่จนำเรื่องนี้เข้าสู่สภาก็ไม่สำเร็จ ประเทศไทยถูกมองว่าเป็นสวรรค์ของ LGBT แต่ความจริง แม้ว่าในสังคมก็โอบรับอยู่บ้าง แต่กฎหมายหรือนโยบายด้านสิทธิของ LGBT มีน้อยมาก ประเทศไทยก็ยังคงต้องทำงานนี้อีกนาน ก็อยากจะฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่เห็นความสำคัญที่จะออกแบบนโยบายคุ้มครองสิทธิทางสุขภาพคนหลากหลายเพศ
ขอตอบคำถามที่ว่า ทำไมถึงไม่ควรเหมารวมว่าเรามีความต้องการที่คล้ายกัน และเลือกใช้คำแค่ว่า คนที่มีความหลากหลายทางเพศ ขอยกตัวอย่างเรื่องสุขภาพ การใช้ฮอร์โมน การแปลงเพศ การข้ามเพศ เป็นปัญหาหลัก ในขณะที่คนที่เป็นเกย์ เป็นเลสเบี้ยน ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างกายให้ตรงกับเพศสำนึกของตนเอง ฉะนั้นคนข้ามเพศจึงมีปัญหาสำคัญในการเข้าถึงบริการที่เกี่ยวกับการข้ามเพศ จึงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าทำไมถึงไม่ควรเหมารวมมองว่าปัญหาของ LGBT เป็นปัญหาก้อนเดียว ควรถูกมองให้เป็นปัญหาเฉพาะเจาะจงตามอัตลักษณ์ทางเพศของคนคนนั้นค่ะ
น้องฮั้ว ทำให้เราเห็นภาพของ Trans ได้ชัดมากและรู้ว่าปัญหาคืออะไร อันนี้เป็นปัญหาการให้บริการทางสุขภาพ แล้วทางการเมืองล่ะ ?
แน่นอนว่า ในเมื่อเราไม่มองเห็นความหลากหลายที่แท้จริงของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ การเรียกร้องสิทธิก็จำกัดใช่ไหมคะ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมามีการกระตุ้น เติบโต และเบิกบานของสิทธิ เราเห็นว่าพรรคการเมืองหลายพรรคพูดถึง และพยายามออกแบบนโยบายที่โอบรับ แต่ยังติดกรอบที่มองความหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน ตรงนี้คิดว่ายังคงเป็นปัญหา ในทางการเมือง ตัวแทนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศยังน้อยมากๆ บางประเทศเราเห็น รัฐมนตรีที่เป็น LGTB เช่นไต้หวันเป็นต้น แต่ในประเทศไทยต้องตั้งคำถามนะคะว่า เรามีประชากร LGBT มากมาย แต่ทำไมยังไม่มีใครได้รับโอกาสในรัฐสภา คำถามมี 2 ประเด็นค่ะ คือ 1. ทำไมถึงมี LGBT ในรัฐสภาน้อยมาก นับคนได้และอัตลักษณ์ยังไม่หลากหลาย 2.ทำไมรัฐสภายังไม่มีพื้นที่ให้ LGBT หรือพวกเขาอาจจะเป็นอยู่แล้วแต่ไม่กล้าเพราะกลัวไม่มีพื้นที่ ไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง ก็คือมองเป็นสองส่วนแล้วกัน คือนโยบายที่ไม่สร้างความปลอดภัยที่ทำให้คนเป็น LGBT ได้เปิดเผยตัวเอง ในขณะเดียวกัน ยังไม่มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ LGBT เดินเข้าสู่ภาคการเมือง อันนี้ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ค่ะ
มีข้อเสนออะไรในเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายต่อภาคใหญ่ของกระบวนการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.รวมไปถึงเลือกตั้งทั่วประเทศที่เราหวังว่าเกิดขึ้นในอนาคต ?
มี 2-3นโยบายที่รู้สึกว่าสำคัญ ที่จะส่งผลกระทบให้เกิดความผาสุก ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าคนที่เป็น LGBT มีอัตลักษณ์ทับซ้อนหลากหลาย ไม่ได้มีเฉพาะชนชั้นกลาง ยังมี LGBT ที่เป็นคนจน คนพิการ ถ้าเรายังไม่เข้าใจ ก็จะออกแบบแต่นโยบายที่รองรับแค่ชนชั้นกลาง ในขณะที่คนพิการที่เป็น LGBT ยังเจอการเลือกปฏิบัติเป็นสองเท่า (Double discrimination) อีกเรื่องคือ การส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิค่ะ ก็มี พ.ร.บ.ความเสมอภาคระหว่างเพศ กลุ่ม LGBT ก็ใช้กลไกนี้เรียกร้องสิทธิ แต่ก็ยังไม่เฉพาะเจาะจงให้กับ LGBT งานวิจัยหลายงานชี้ให้เห็นว่า LBGT ยังมีประสบการณ์ถูกเลือกปฏิบัติค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการหางานทำ ดังนั้น นโยบายที่สำคัญคือการโอบรับคน LGBT ที่อยู่ในภาคธุรกิจ ภาคเศรษฐกิจ ต้องชัดเจน และมอบพื้นที่ให้ได้งานทำ และไม่เลือกปฏิบัติ
และยังมีเรื่อง กฎหมายสมรถเท่าเทียม ประเทศอื่นทำได้ ทำไมเรายังทำไม่ได้ หลายประเทศมีแล้ว มันเป็นเทรนด์แล้ว ในเอเชียก็มีหลายประเทศ ซึ่งไทยประชากรมากมาย เมื่อเรียกร้องสิทธิ ก็ถูกตั้งคำถามจากภาครัฐว่า Trans มีทั้งหมดกี่คน คือยากจะถามกลับว่า มันเป็นหน้าที่ของเราไหมที่จะไปหาจำนวน เราไม่มีทรัพยากรที่จะทำได้ ภาครัฐต่างหากที่ต้องหาจำนวน ถ้าจริงใจจริงๆที่จะช่วยแก้ปัญหาให้เราเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพ มันทำได้ มีหลายประเทศเช่น ที่แคนาดา ก็มีแบบสำรวจสำมะโนประชากรที่อัตลักษณ์ทางเพศที่ไม่ใช่ชายหญิง
คำถามสำคัญคือ มันมีอะไรคะที่ทำให้ประเทศไทยหรือการเมืองไทย ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่โอบรับ ส่งเสริม คุ้มครอง สนับสนุน สิทธิของ LGBT อย่างแท้จริง ? Action ที่สำคัญมากๆคือ การปฏิบัติจริง เราอยากได้ความชัดเจนตรงนี้ค่ะ
กลายเป็นว่าถูกผลักภาระให้เราสำรวจ นี่ไม่ใช่แค่ LGBT แต่กลุ่มคนพิการ คนจน ต่างๆก็เจอแบบเดียวกัน แบบสำรวจก็มีให้เลือกแค่เพศ ชาย / หญิง รัฐทำได้ ก็แค่ปรับอะไรนิดหน่อย
น้องฮั้วมีข้อเสนอของเครือข่าย LGBTI ต่อการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. อะไรบ้าง ?
เราคิดว่า กทม.เป็นเมืองยุทธศาสตร์เรื่องการขับเคลื่อน เป็นต้นแบบของอะไรหลายๆอย่าง ที่อยากเห็นคือ เป็นต้นแบบเรื่องการบริการสุขภาพที่ไม่เลือกปฏิบัติกับ LGBT จริงๆแล้วใน กทม.มีคลินิกมากมายที่ให้บริการเฉพาะ เช่น โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ รามาธิบดี สามารถเป็นต้นแบบได้สำหรับคลินิกในต่างจังหวัด เราคิดว่าสิ่งนี้สำคัญ อยากให้พัฒนาเป็น Model ให้ต่างจังหวัดมาศึกษาดูงาน และเผยแพร่ Model นี้ให้เป็นประโยชน์ต่อทุกคนทั่วประเทศค่ะ
อีกเรื่องคือการคุ้มครอง ส่งเสริม สิทธิ LGBT ต้องชัดเจน อย่าพูดว่าเราคุ้มครองสิทธิของคนทุกคน แต่ในความเป็นจริง LGBT ถูกลืม ไม่เคยได้เลย ในวาทกรรมที่ว่า “คนทุกคน” “คนทุกเพศ” ฉะนั้นมันต้องชัดเจน เกิดการส่งเสริมสิทธิอย่างแท้จริง
กทม. มี LGBT ในภาคธุรกิจจำนวนมาก สำคัญมากๆ ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญที่ drive เศรษฐกิจของกทม. ต้องเห็นนโยบายที่ชัดเจนที่จะให้คนเหล่านี้เข้าสู่การจ้างงาน ในขณะเดียวกัน การศึกษาก็สำคัญเพราะเราทำงานกับเยาวชน เป็นกระบวนการแรกเลยที่ให้คนเรียนรู้ว่า LGBT คือใคร การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในดรงเรียนก็สำคัญ เด็กนักเรียนที่เป็น LGBT มักถูกบูลลี่ เมื่อได้ที่ปลอดภัยก็จะไม่ถูกเบียดขับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เขาในภายภาคหน้าในการหางานทำ
ขอทิ้งท้ายหน่อยค่ะ เรื่อง LGBT ที่มี IN+
I ( Intersex) คือคนที่ลักษณะทางโครโมโซม หรือทางร่างกายมีสองเพศ อาจมีโครโมโซมเป็น XXY, XXX เป็นต้น
N ( Non binary) คือคนที่ไม่นิยามตนเองว่าเป็นเพศใด ไม่เป็นชาย ไม่เป็นหญิง
อีกกลุ่มคือ A อยากจะเสนอ 2 A นะคะ
A แรก คือ Asexual อีก A คือ Alliance หมายถึง พันธมิตร เรามักจะคัดผู้มีเพศกำเนิดเป็นชาย/หญิง (ชายแท้ หญิงแท้) ออกไป จริงๆแล้วกลุ่มนี้ก็สำคัญ อย่าแยกออกจากชุมชนเพราะเราก็คือมนุษย์เหมือนกัน ฉะนั้น เวลาทำงานเรื่องสิทธิ คนที่จะเป็นกระบอกเสียงสำคัญให้เราได้อีกคือ คนที่เป็นผู้ชาย ผู้หญิงโดยกำเนิดนี่แหละค่ะ ที่สามารถเข้าร่วมผลักดันนโยบายที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับคนที่เป็น LGBT อย่าเอาตัวเองออกไปเพราะคำว่า “หลากหลายทางเพศ” ก็รวมเอาคนกลุ่มนี้ด้วยเช่นกันค่ะ
หัวข้อที่น่ารู้
1 Testosterone คืออะไร? ทำอย่างไรกับร่างกาย
2. Testosterone สร้างจากไหน
3. ระดับ Testosterone เปลี่ยนไปตามวัยอย่างไร
4. ผู้ชายมีอารมณ์ทางเพศตอนไหนเป็นพิเศษ
5. ระดับ Testosterone เมื่อมีถึงจุดสุดยอด
6. เหตุใดเมื่อถึงจุดสุดยอดแล้ว มันอ่อนปวกเปียกไประยะหนึ่ง
7. การช่วยตัวเองเกี่ยวข้องอย่างไรกับระดับ Testosterone
8. ภาวะขาด Testosterone
9. ทำอย่างไรให้ Testosterone กลับคืนมา
1. Testosterone คืออะไร? ทำอย่างไรกับร่างกาย
เป็นฮอร์โมนเพศตัวหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น Testosterone ในมนุษย์เพศชายเป็นตัวสำคัญในการสร้างและพัฒนาเนื้อเยื่อสืบพันธ์ุของผู้ชายได้แก่ อัณฑะและต่อมลูกหมาก รวมทั้งให้ร่างกายมีลักษณะความเป็นชายเช่น มีกล้าม มีมวลกระดูกที่ใหญ่หนา และมีขนดก (1,2) สูตรทางเคมีคือ C19H28O2
2. Testosterone ในร่างกาย สร้างจากไหน
ฮอร์โมนชนิดนี้สร้างได้ในร่างกายทั้งเพศชายและหญิง ในผู้ชาย Testosterone ส่วนใหญ่ผลิตจากลูกอัณฑะ ส่วนน้อยจากต่อมหมวกไต ส่วนในผู้หญิง ผลิตน้อยในรังไข่ และต่อมหมวกไต ผู้ชายวัยผู้ใหญ่มีระดับ Testosterone สูงกว่าผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ 7-8 เท่า (3)ซึ่งร่างกายผู้ชายสามารถผลิตฮอร์โมนนี้ได้มากกว่าผู้หญิงถึงวันละ 20 เท่า การผลิตแต่ละครั้งจะอยู่ในร่างกายได้นาน 4-8 ชั่วโมง (4,5)
3. ระดับ Testosterone เปลี่ยนไปตามวัยอย่างไร
ก่อนกำเนิด
Testosterone มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบอวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะ ขนาดของอัณฑะ ต่อมลูกหมากและท่อน้ำเชื้อ ในตัวอ่อนเพศชาย (ุ6)
วัยทารก
ในวัยนี้ผลของฮอร์โมนเพศชายมีผลน้อยมาก ระดับ Testosterone เพิ่มขึ้นในทารกเพศชายในหลายสัปดาห์หลังจากเกิด และยังคงระดับไปอีก 2-3 เดือน แต่เดือนที่ 4-7 เป็นต้นไประดับฮอร์โมนชายลดลงอย่างมาก ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด (7,8)
วัยเด็กก่อนเจริญพันธ์ุ
Testosterone ยังไม่มีอิทธิพลมากในเด็กเล็กจนถึงก่อนเข้าสู่วัยรุ่น ผลจากฮอร์โมนชายเริ่มปรากฏชัดขึ้นในทั้งเด็กชายและเด็กหญิงที่เริ่มโตขึ้น เช่นมีกลิ่นตัว ผิวมัน เป็นสิว มีขนมากขึ้น เด็กโตเริ่มมีขนอวัยวะเพศ ขนรักแร้ ขนที่หน้า เป็นต้น (9)
วัยเจริญพันธ์ุ
เด็กชายที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เริ่มมีระดับฮอร์โมนชายมากกว่าในเด็กหญิง ร่างกายเริ่มสร้างสเปิร์มในอัณฑะ อวัยวะเพศชายขยายขนาด รวมถึงคลิตอริสขยายขนาดในผู้หญิง มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น เกิดลึงค์แข็งตัวบ่อยครั้งในชาย และคลิตอริสคัดตึงในหญิง นอกจากนี้ยังทำให้รูปร่างของขากรรไกร คาง จมูกเปลี่ยนไปโดยทำงานร่วมกับ Growth hormone มีส่วนทำให้กระดูกหยุดการยืดขยาย แต่ในผู้ชายจะค่อยไปเป็นค่อยไป ในขณะที่ผู้หญิงจะหยุดสูงเร็วกว่าเนื่องจากอิทธิพลของเอสโตรเจนเป็นหลัก Testosterone ทำให้เกิดมัดกล้าม ทำให้ไหล่กว้างขึ้น เสียงห้าว ลูกกระเดือกใหญ่ ต่อมไขมันใหญ่ขึ้น ทำให้เป็นสิว หน้าเริ่มตอบลงเป็นผลจากมวลไขมันใต้ผิวหนังลดลง มีขนขึ้นที่หัวหน่าว ต้นขา หน้าแข้ง ใบหน้า หน้าอก รักแร้ (10)
วัยผู้ใหญ่ขึ้นไป
ฮอร์โมน Testosterone มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์ม เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และยังมีส่วนควบคุมกระบวนการทำงานของเกร็ดเลือดที่ส่งผลให้เลือดหยุดไหลเมื่อเกิดบาดแผล (11) ในวัยผู้ใหญ่นี้ Testosterone จึงมีความสำคัญต่อทั้งเพศหญิงและชาย ระดับของมันจะลดลงตามอายุของมนุษย์โดยเฉพาะในเพศชาย
4. ผู้ชายมีอารมณ์ทางเพศตอนไหนเป็นพิเศษ
บทนี้ขอนำเสนอรูปแบบการหลั่งของ Testosterone ในร่างกายผู้ชาย ในแต่ละวันระดับ Testosterone ในกระแสเลือดพุ่งขึ้นสูงในช่วงเช้าตรู่ และสูงสุดเวลา 8.00 น. ซึ่งส่งผลให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว จึงเป็นที่มาของการ เคารพธงชาติ นั่นเอง การหลั่ง Testosterone เริ่มลดลงเต็มที่ในช่วงเย็นถึงหัวค่ำ ช่วงนี้ความรู้สึกทางเพศมักน้อย และเริ่มเพิ่มขึ้นอีกตอนดึก จึงไม่แปลกใจว่าผู้ชายมักอยากมีเพศสัมพันธ์ตอนกลางคืนและตอนเช้า จากภาพ (12) เป็นการตรวจวัดระดับ Testosterone ในอาสาสมัครเพศชายโดยเปรียบเทียบสองกลุ่มคือช่วงวัยหนุ่ม จำนวน 17 คน และวัยชรา จำนวน 12 คน จะเห็นว่าระดับฮอร์โมนชายลดลงเมื่ออายุมากขึ้น แต่ลักษณะรูปแบบการหลั่งก็ยังคล้ายคลึงกัน
5. เมื่อผู้ชายถึงจุดสุดยอด ระดับ Testosterone เป็นอย่างไร
การทดลองเล็กๆในปี ค.ศ. 2020 จากชายสุขภาพดี 7 คน อายุเฉลี่ย 36 ปี (13) ระบุว่า ระดับฮอร์โมนจะไต่ระดับตั้งแต่ภาวะปกติ การเริ่มแข็งตัวของอวัยวะเพศ จุดไคลแมกซ์ ไปสูงสุดในขณะหลั่ง และลดลงหลังจากหลั่ง 10 นาที ในระดับที่เท่าๆกับตอนที่อวัยวะเพศแข็งตัว ดังที่แสดงในภาพ
(หน่วยเป็น ng/ml)
6. เหตุใดเมื่อถึงจุดสุดยอดแล้ว มันอ่อนปวกเปียกไประยะหนึ่ง
เคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่าทำไมเมื่อเสร็จกิจแล้ว เจ้าโลกของคุณจะอ่อนตัว และรู้สึกผ่อนคลายมากๆ ซึ่งก็เกิดกับผู้ชายส่วนใหญ่ ยกเว้นผู้ชายบางคนโดยเฉพาะหนุ่มแน่น ก็กลับมาแข็งตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะมี Testosterone สูงมากๆ หรือไม่ก็อารมณ์พาไปประเภทว่า turn on สุดๆ ทีนี้มันเกิดอะไรขึ้นกับผู้มีเจ้าโลกโดยทั่วไป ตั้งแต่เริ่มเกิดอารมณ์ทางเพศ แข็งตัว เมื่อถึงจุดสุดยอดแล้ว และกลับมาอ่อนตัว มันมีสิ่งใดควบคุมร่างกายเราให้เป็นเช่นนั้น
คำตอบคือ จริงๆแล้ว Testosterone ไม่ได้มีผลมากนักในการผลักให้ร่างกายถึงจุดสุดยอด แต่เป็นการทำงานร่วมกันกับสารสื่อประสาทบางตัว ที่โดดเด่นได้แก่
Serotonin ช่วยควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย และการหลั่งน้ำเชื้อ โดยทำงานร่วมกับระบบกลไกการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น
Dopamine ทำให้สมองสร้างความรู้สึกกระสันหรืออารมณ์หื่น (14) ซึ่งหลั่งในระดับสูงสุดขณะถึงจุดสุดยอด
เมื่อถึงจุดสุดยอดและหลั่งแล้ว ระดับ Dopamine จะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีฮอร์โมนตัวหนึ่งชื่อว่า Prolactin พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและไปกด Dopamine ให้ลดลง ทำให้หมดความกำหนัดไปชั่วขณะ โดยเฉลี่ย 10-20 นาที Prolactin กระตุ้นให้สมองเกิดภาวะอิ่มเอมและผ่อนคลาย ภาวะหลังจากถึงจุดสุดยอด ยังถูกควบคุมด้วยฮอร์โมน Oxytocin และสารสื่อประสาท Endorphine อีกด้วยที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย (15)
ถึงแม้ว่า Dopamine และ Prolactin จะควบคุมความรู้สึก อารมณ์ และกลไกก่อนและหลังจุดสุดยอด แต่ทั้งสองตัวไม่ได้มีผลต่อระดับการหลั่ง Testosterone ในร่างกายแต่ประการใด (16)
7. การช่วยตัวเองเกี่ยวข้องอย่างไรกับระดับ Testosterone (17)
คุณผู้ชายทั้งหลายอาจสงสัยว่าการช่วยตัวเองหรือสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองจะส่งผลอย่างไรกับระดับ Testosterone ในร่างกาย คำตอบสั้นๆคือ ไม่ส่งผลใดๆ การช่วยตัวเองและการหลั่งน้ำเชื้อไม่ส่งผลใดหรือไม่เกิดผลเสียใดต่อระดับฮอร์โมนเพศชายในระยะยาว แต่หากขยายคำตอบออกมาจะพบว่า ในระยะสั้นนั้น มันส่งผลอยู่เหมือนกันในหลายๆประการ
นักวิจัยกล่าวว่า Testosterone เกี่ยวพันกับแรงขับทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย แต่ในผู้ชายจะเกิดขึ้นมากกว่า อันที่จริงระดับ Testosterone จะพุ่งสูงขึ้นในระหว่างสำเร็จความใคร่หรือขณะมี sex และร่วงกลับมาอยู่ในระดับปกติหลังจากถึงจุดสุดยอดแล้ว
จากการศึกษาเล็กๆในปีค.ศ. 1972 พบว่าการหลั่งอสุจิจากการช่วยตัวเองไม่มีผลอย่างเป็นนัยสำคัญ และไม่ส่งผลโดยตรงต่อระดับ Testosterone นั่นหมายความว่า ระดับของฮอร์โมนนี้ไม่ลดลงกว่าระดับปกติเมื่อยิ่งช่วยตัวเองมากขี้นบ่อยขึ้น ซึ่งอาจไม่ตรงกับความเห็นของคนทั่วไป
การทดลองในปีค.ศ. 2001 (18) ในอาสาสมัครชาย 10 คน โดยให้อั้นการช่วยตัวเองนาน 3 สัปดาห์พบว่าระดับ Testosterone เพิ่มขึ้นเล็กน้อย และการทดลองปีค.ศ.2003 ในชาย 28 คน ที่ให้อั้นการช่วยตัวเอง พบว่าระดับ Testosterone พุ่งขั้นสูงอย่างรวดเร็วในช่วง 7 วันแรก (19) ซึ่งผู้ทดลองให้ความเห็นว่าประสิทธิภาพการหลั่งของผู้ชายน่าจะสูงสุดเมื่ออั้นไว้ไม่เกิน 7 วัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เมื่อระดับ Testosterone สูงขึ้นในเลือดจากการกลั้นไม่ให้หลั่ง แต่การถึงจุดสุดยอด ( orgasm ) ก็ไม่ได้ส่งผลให้ Testosterone สูงขึ้นอย่างฉับพลัน (17)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองไม่ได้ทำให้ระดับ Testosterone เปลี่ยนแปลงในระยะยาว จึงไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผมร่วง นกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) หรือเป็นสิวเห่อทั้งหน้าและหลัง แต่ทว่า การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง อาจส่งผลทางจิตใจซึ่งทำให้ระดับ Testosterone เปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น บางคนอาจรู้สึกละอายเมื่อช่วยตัวเอง เนื่องจากภาวะสังคมที่ตนอาศัยอยู่ หรือจากแรงกดดันส่วนตัว ที่มองว่าการช่วยตัวเองเป็นเรื่องผิดจารีต ศิลธรรม หรือเท่ากับว่าไม่ศรัทธาต่อศาสนา (ในบางนิกาย บางศาสนา) ไม่ศรัทธาต่อคนรัก ความละอายนี้ร่วมกับปัญหาความสัมพันธ์ จึงส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า นำมาซึ่งระดับ Testosterone ที่ต่ำลงจน นกเขาไม่ขัน หรือ แรงขับดันทางเพศลดลง
คุณอาจช่วยตัวเองอย่างไม่สบายใจ โดยเฉพาะตอนที่คุณช่วยตัวเองบ่อยขึ้นในช่วงเวลาที่มีความสัมพันธ์กับแฟนหรือคู่นอน ซึ่งก็อาจจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ยากลำบาก และหากเกิดภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ก็จะส่งผลต่อระดับ Testosterone หลังจากนั้น ซึ่งปัญหาเช่นนี้อาจแก้ไขด้วยการหันมาพูดคุยกันอย่างเปิดอก และตกลงกันให้ดีถึงกิจกรรมทางเพศที่ต้องแบ่งเป็นสัดส่วน หรือให้คู่นอนช่วยพัฒนาความต้องการร่วมกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะช่วยในด้านจิตใจ ทำให้ระดับ Testosterone ไม่ลดลง
8. ภาวะขาด Testosterone ในผู้ชาย
(แชร์จากบทความ “เมื่อผู้ชายพร่องฮอร์โมน” Bumrungrad.com.th, Jan 2008. )(20)
อายุที่เพิ่มมากขึ้นไม่ได้หมายความว่าสุขภาพของคุณต้องเสื่อมตามไปด้วยเสมอไป คนเคยกล่าวไว้ว่า “ชีวิตเริ่มต้นเมื่อ 40” เพราะเป็นช่วงที่ทุกอย่างแทบจะลงตัวหมดแล้ว แม้กระนั้น คุณผู้ชายหลายท่านกลับไม่รู้สึกว่าชีวิตได้เริ่มต้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามชีวิตกลับไม่น่ารื่นรมย์เอาเสียเลย
คุณรู้สึกเหนื่อยอย่างบอกไม่ถูก ไม่กระตือรือร้น หงุดหงิดโดยไม่มีเหตุผล เบื่อง่าย นอนไม่หลับ? บางครั้งแทบไม่อยากมองหน้าภรรยา เกิดผลกระทบต่อทั้งร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคม ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง
อาการเหล่านี้ของคุณผู้ชายคล้ายคลึงกับอาการของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (Menopause) หลายคนเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ว่าเป็น “ภาวะวัยทอง” บ้าง “ภาวะวิกฤติวัยกลางคน” บ้าง บางคนบอกว่าเป็นเรื่องของสังขาร และบางครั้งก็ยกให้เป็นเรื่องของสภาพจิตใจ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่ฟังดูน่าหดหู่ใจทั้งสิ้น
แท้ที่จริงแล้วปรากฏการณ์ที่คุณกำลังเผชิญอยู่นั้นคืออะไร และคุณจะรับมือกับอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้ได้อย่างไร ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนต่อมไร้ท่อและการเจริญพันธุ์มีคำตอบให้คุณแล้ว
เพียงเพราะคุณ “แก่ลง” แน่หรือ
เมื่อก่อนแพทย์เชื่อว่าอาการประหลาด ๆ ที่คุณผู้ชายประสบอยู่นั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการแก่ชราและไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ อาการเหล่านี้เท่าไรนัก แต่ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันแล้วว่าอาการเหล่านี้ มีที่มาจากการที่ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงนั่นเอง
“เมื่อก่อน พอพูดถึงอาการเหล่านี้ในผู้ชายก็ต้องมีการนำไป เทียบเคียงกับอาการของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน จึงเป็นที่มาของคำว่า Male Menopause” ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์กล่าว “แต่เมื่อมีการศึกษา กันอย่างกว้างขวางขึ้นพบว่าคำนี้ไม่ตรงกับความจริงนัก เพราะแม้จะมี อาการคล้าย ๆ กันทั้งชายและหญิงแต่สาเหตุนั้นแตกต่างกันอย่างมาก”
ภาวะ Menopause หรือภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิงเกิดจาก การที่รังไข่หยุดทำงาน ไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศอีกต่อไป แต่สำหรับ ผู้ชายนั้น “ไม่มีวันขาดฮอร์โมน เพียงแต่ว่าสภาวการณ์บางอย่าง ของร่างกายทำให้การสร้างฮอร์โมนเพศลดลง จนเมื่อเกิดภาวะพร่อง ฮอร์โมน การทำงานและระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ฮอร์โมนเพศ ก็ทำงานผิดเพี้ยนไป” ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์อธิบาย “ดังนั้นถ้าจะเรียกให้ถูก คำที่เหมาะสมน่าจะเป็น กลุ่มอาการที่เกิด จากภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone Deficiency Syndrome หรือ Androgen Deficiency of the Aging Male) หรือ Andropause ซึ่งเป็นคำที่คุ้นเคยมากกว่า”
ผู้ชายกับฮอร์โมน
เมื่อคุณผู้ชายเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนนั้นอาการที่ เกิดขึ้นจะค่อยเป็นค่อยไปไม่แสดงออกอย่างชัดเจน ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์กล่าวถึงผลกระทบของภาวะพร่องฮอร์โมนว่า “การที่ฮอร์โมนเพศต่ำลงนั้นส่งผลต่อคุณภาพ ชีวิตของผู้ชายอย่างมากทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ความคิด ความสัมพันธ์ และความเป็นอยู่
ผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนต่ำจะกระสับกระส่าย หงุดหงิด ง่าย ไม่กระฉับกระเฉง เฉื่อยชา มองโลกในแง่ร้าย กล้ามเนื้อ ลีบลง สะสมไขมันมากขึ้น นอนไม่หลับ สมองไม่เฉียบคม อารมณ์แปรปรวน ความต้องการทางเพศ ลดลง อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่เต็มที่ ขาดความมั่นใจ บางรายถึงกับ มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย”
ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์อธิบายต่อว่า “การที่ฮอร์โมนลดลงนั้นคือลดลงทั้งหมด ฮอร์โมนตัวสำคัญที่เริ่มลดได้แก่ ฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งถือว่า เป็นฮอร์โมนกลางคืนตามปกติเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ฮอร์โมนนี้จะเริ่มหลั่งทำให้เรารู้สึกง่วงและเข้านอน จนไปหลับสนิทเอาตอนเวลา ประมาณเที่ยงคืน เมื่อหลับสนิท ต่อมใต้สมองจะผลิตฮอร์โมนออกมาหลายชนิด ชนิดแรกคือ Growth Hormone หรือฮอร์โมนของความเป็นหนุ่มเป็นสาว ซึ่งจะทำเราคงสภาพความเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่เสมอ
ฮอร์โมนชนิดต่อไปได้แก่ฮอร์โมนจากต่อม ธัยรอยด์ซึ่งจะเปลี่ยน อาหารให้เป็นพลังงานผู้ที่มีฮอร์โมนนี้ในปริมาณที่พอเพียง ก็จะมีพลัง ในการทำงานต่าง ๆ อย่างกระฉับกระเฉง ชนิดต่อมาคือ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมชราจากชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นสารเริ่มต้น ที่จะเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย
ชนิดสุดท้าย คือฮอร์โมนจากลูกอัณฑะ หรือ Testicular Hormone ที่เราเรียกว่า Testosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนของความเป็นชาย ความนึกคิดแบบชายตัดสินใจแน่วแน่ไม่ลังเล มองทุกอย่างด้วย
เหตุผลมองโลกในแง่ดีอารมณ์ดีฮอร์โมนเพศชายนี้เกี่ยวข้องกับความหนาของกระดูกกล้ามเนื้อ การเผาผลาญของไขมันการมีรูปร่างสมส่วนผู้ชายที่มี ฮอร์โมนเพศชายปกติจึงไม่ลงพุง กล้ามเนื้อแข็งแรง อารมณ์แจ่มใส”
ฮอร์โมนเพศชายประตูสู่สุขภาพ
ในระยะยาว การพร่องฮอร์โมน เพศชายเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่สำคัญอีกหลายประการ อาทิ โรคกระดูกบาง กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และอัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ
“เวลาที่ผู้ชายมีฮอร์โมนลดลง ไขมันในร่างกายจะสูง มีการสะสม มากบริเวณรอบเอวหรือเรียกง่าย ๆ ว่าลงพุง ดังนั้น การลงพุงจึง กลายเป็นสัญญาณอันดับแรก ที่แสดงถึงการพร่องของฮอร์โมนเพศชาย คือถ้ามี เส้นรอบเอวเกินกว่า 94 เซนติเมตรในคนตะวันตก และเกินกว่า 90 เซนติเมตรในคนตะวันออก” ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์อธิบาย
ลงพุงอันตราย
ในไขมันจะมีฮอร์โมนชื่อ Leptin ฮอร์โมนตัวนี้ที่มีอยู่ในไขมันจะไป ยับยั้งต่อมใต้สมองไม่ให้หลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นผลผลิตฮอร์โมนเพศชาย ออกมา รวมทั้งยับยั้งลูกอัณฑะไม่ให้ผลิตฮอร์โมนเพศชายด้วย ดังนั้น ผู้ชายที่อ้วนลงพุงจึงพร่องฮอร์โมนเพศชายไปโดยปริยาย ขณะเดียวกัน เมื่ออ้วนลงพุง ก็จะมีฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งอยู่ในไขมันมากขึ้นส่งผลให้ สมดุลของฮอร์โมนเสียไป
“ลองคิดดู เมื่อเกิดภาวะอ้วนลงพุงแล้ว เราก็ไม่ค่อยอยากขยับ ทำกิจกรรมอะไรเท่าไร ไม่เคลื่อนไหว ไม่ใช้พลังงานก็มีไขมันสูง เมื่อไขมัน สูงก็ไปอุดตันที่เส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดขาดความยืดหยุ่น กลายเป็น โรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะผิดปกติของไขมัน ที่เรียกว่า Dyslipidemia ซึ่งได้แก่ ภาวะที่มีคอเลสเตอรอลชนิดเลวเยอะ มีคอเลสเตอรอลชนิดดีน้อย เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา
เพราะฉะนั้นผู้ชายที่เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพ ทางเพศนั้นก็เพราะ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศอุดตันทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ไม่ดี พอสมองสั่งการให้อวัยวะเพศแข็งตัว จึงแข็งตัวได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ เมื่อมีไขมันเยอะ ไขมันก็จะไปแทรกตัวอยู่ตามกล้ามเนื้อที่อวัยวะเพศชาย เวลาแข็งตัวก็แข็งตัวได้ไม่เต็มที่อีก จะเห็นได้ว่าทั้งหมดทั้งปวงนี้เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกันไปทั้งระบบ”
ผู้ชายที่มีฮอร์โมนเพศชายพร่องส่วนมากจะมาพบ แพทย์ด้วยอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ Erectile Dysfunction ซึ่งเป็นภาวะ ที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่เต็มที่ ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์ เล่าว่า “เมื่อมีผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการ ‘นกเขาไม่ขัน’ แพทย์ก็จะตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายด้วย เพราะพบว่าผู้ชายที่มีปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะมีฮอร์โมนเพศอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นแพทย์จึงมีปรัชญาว่า ให้รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศก่อน และรักษาสุขภาพที่ดี ของผู้ชายไปด้วย”
ภาวะพร่องฮอร์โมนแก้ไขได้
การให้ฮอร์โมนเพศชายเสริม มีคำกล่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศที่ หลายคนเคยเชื่อกันว่าเป็นเพราะร่างกายแก่ชราลงว่า “Getting old is natural, feeling old is optional.” หมายความว่า แม้ความแก่ชรา จะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกแก่ชราไปด้วย แต่ปัจจุบัน รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ทุกคนทำงานหนัก นอนดึก เครียด พักผ่อนน้อย รับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ และขาดการออก กำลังกาย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่เร่งให้เกิดภาวะฮอร์โมนพร่องก่อนวัย อันควรทั้งสิ้น
“เดี๋ยวนี้คนอายุ 30 กว่า ๆ ก็เริ่มมาปรึกษาหมอด้วยอาการ หย่อนสมรรถภาพทางเพศแล้ว” ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์กล่าว “ผู้ที่มีปัญหา จากภาวะพร่องฮอร์โมนนั้นจะเข้ามารับการรักษาจากหลายหน่วย บางราย มาด้วยอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บางรายมารักษาเรื่องผมร่วง บางรายมาปรึกษาเรื่องอ้วน บางคนก็มาตรวจสุขภาพ แต่ไม่ว่าจะมาจาก หน่วยไหน เราก็ดูแบบองค์รวมอยู่แล้ว คือเรารักษาไปพร้อม ๆ กัน เพื่อการมีสุขภาพที่ดี
เมื่อเรารู้แล้วว่าตัวบ่งชี้เบื้องต้น ของสุขภาพเพศชายคือเรื่องของสมรรถภาพทางเพศ เราจึงเช็ค ทั้งหมด ตั้งแต่ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมัน ภาวะต่าง ๆ ของร่างกาย ตรวจระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องทุกชนิด ต่อมลูกหมาก ดูไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยว่า เป็นอย่างไร ต้องปรับตรงไหนกันบ้าง เพราะฮอร์โมนผู้ชาย ไม่มีทางหมดเพียงแต่พร่องไป เพราะฉะนั้น เมื่อเราให้ฮอร์โมนเสริมไปสักระยะหนึ่ง ก็พบว่ามีพัฒนาการทางสุขภาพดีขึ้น น้ำหนักลดลง สดชื่นขึ้น สมรรถภาพ ทางเพศกลับมา ความสุขในชีวิตก็กลับมา”
การให้ฮอร์โมนเสริมเป็นวิธีการที่ได้ผลดีในผู้ที่ประสบกับภาวะพร่อง ฮอร์โมนส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้ต้องผ่านการตรวจอย่างละเอียด ภายใต้การ ดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะในระหว่างการให้ฮอร์โมนก็ต้องมีการ ตรวจติดตามเป็นระยะ ๆ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์เน้นว่าเรื่องของฮอร์โมนเพศชายนั้น ผู้ชายมี ความต่างจากผู้หญิง “ร่างกายของผู้หญิงหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนและไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้อีก ในกรณีของ ผู้หญิง เมื่อมาพบแพทย์จึงต้องมีการรับฮอร์โมนทดแทน
สำหรับผู้ชายนั้นแม้จะมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการที่ระดับ ฮอร์โมนลดต่ำลง แต่ร่างกายไม่เคยหยุดสร้างฮอร์โมนเพศชาย ดังนั้น จึงสามารถฟื้นฟูประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมนเพศชายได้ โดยแพทย์ จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อกระตุ้นการสร้าง ฮอร์โมนให้กลับเป็นปกติอีกครั้ง ในกรณีที่เป็นไปได้ แต่ในผู้ชายสูงวัย ที่มีการพร่องฮอร์โมนเพศชายแน่นอน ก็จะมีการให้ฮอร์โมนเพศชาย เสริมต่อเนื่อง”
และวิธีการในการกระตุ้นร่างกายให้สร้างฮอร์โมนอย่างปกตินั้นไม่ใช่ วิธีการแปลกใหม่แต่อย่างใด ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์แนะนำวิธีการปฏิบัติตัว เพื่อกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนตามธรรมชาติดังต่อไปนี้ *เข้านอนตั้งแต่หัวค่ำเพื่อให้แน่ใจว่าคุณหลับสนิทได้ตอนประมาณเที่ยงคืน *ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นฮอร์โมนนี้ ต่างจากการออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพตามปกติ (30 นาที) กล่าวคือ ต้องทำอย่างน้อยวันละ 45 นาที หรือ 300 นาทีต่อสัปดาห์ *เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ *สุดท้าย สำคัญที่สุดคือ ต้องคิดบวก มองทุกอย่างในแง่ดี จะได้ไม่เกิดภาวะซึมเศร้าซึ่งอาจทำให้คุณนอนไม่หลับได้
ปัญหาเรื่องการพร่องฮอร์โมนเพศชายนั้นมาจากรูปแบบการใช้ชีวิต เป็นสำคัญ และสามารถเยียวยาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนแนวทางการ ดำเนินชีวิต ควบคู่ไปกับการดูแลอย่างดีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ เพื่อให้วัย 40 ของคุณเป็นการเริ่มต้นของความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดี ดังคำกล่าวจอร์จ เบิร์นที่ว่า “วัยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่คุณ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแก่ลงไปตามวัยด้วย”
9. ทำอย่างไรให้ testosterone กลับคืนมา (21)
1. ออกกำลังกายด้วยวิธี Weight training
การออกกำลังกายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งในการเพิ่มฮอร์โมนเพศในผู้ชาย
มีงานวิจัยในผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินเป็นโรคอ้วน (ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่มาจากระดับฮอร์โมนที่ลดลง) ชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอให้ประโยชน์ได้มากกว่าอาหารลดน้ำหนัก ส่วนวิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับการเพิ่มฮอร์โมนเพศก็คือ การฝึกด้วยแรงต้าน เช่นการยกน้ำหนัก (Weight Training)
2. การลดความเครียด
ผลการวิจัยถึงอันตรายของความเครียดที่สัมพันธ์กับการลดลงของฮอร์โมนเพศชาย สรุปได้ว่าเมื่อเกิดอาการเครียดระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนเครียดจะสูงขึ้น และเมื่อการเพิ่มขึ้นของคอร์ติซอลที่มากผิดปกติจะไปลดฮอร์โมนเพศชายให้ต่ำลงได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นเป็นสองเท่า อีกทั้งฮอร์โมนเครียด ยังมีผลต่อจิตใจ และแสดงอาการไปถึงสมรรถภาพทางเพศ และความต้องการในเรื่องเพศที่ลดลง ดังนั้นเมื่อเราไม่เครียด ฮอร์โมนเพศชายก็จะไม่ถูกกระตุ้นให้ลดต่ำลง ซึ่งถือเป็นการชะลอปัญหาและยืดฮอร์โมนเพศชายให้สมดุลยาวนานยิ่งขึ้น
3. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
แนะนำให้พักผ่อนในแต่ละวันให้ได้ 6-8 ชั่วโมง ถึงจะเรียกว่าเป็นการพักผ่อนอย่างเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ และส่งผลดีต่อฮอร์โมนเพศชาย
มีงานศึกษาชิ้นหนึ่งที่ถูกเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกาพบว่าการนอนหลับเพียง 5 ชั่วโมงต่อคืนบ่อยครั้ง มีความสัมพันธ์กับการลดระดับฮอร์โมนเพศชายถึง 15% และในทางกลับกันการนอนหลับ 7-10 ชั่วโมงต่อคืนเป็นประจำจะช่วยให้ฮอร์โมนเพศชาย testosterone เพิ่มกลับมาในเปอร์เซ็นต์ที่เท่ากัน
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ถึงแม้ในชีวิตประจำวันการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ถึงอย่างไรการควบคุมเรื่องการบริโภคอาหารบางประเภทก็มีส่วนช่วยรักษาสมดุลและเพิ่มฮอร์โมนเพศได้เช่นกัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นลดปริมาณของการบริโภคของมัน ของหวาน ของเค็ม เลือกรับประทานธัญพืชที่ไม่ขัดสี รวมทั้งผักและผลไม้ให้มากขึ้น
5. รับประทานอาหารเสริม วิตามิน และแร่ธาตุ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รู้จักเสริมสารอาหารที่สำคัญต่อฮอร์โมนเพศชาย ด้วยการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดในรูปแบบอาหารเสริม
ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย Western Washington University พบกว่าแร่ธาตุสังกะสี และแมกนีเซียมสามารถช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศได้ตามธรรมชาติถึง 43.7% และช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อได้ถึง 2.5 เท่า ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ชายที่ชอบออกกำลังกายอย่างยิ่ง
ไม่เพียงเท่านั้นสารอาหารอย่างซีลิเนียม (Selenium) ยังจำเป็นเช่นกัน เพราะสามารถช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย และเพิ่มจำนวนอสุจิ นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ จะทำงานร่วมกับสารอาหารที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น วิตามินอี วิตามินซี เบต้าแคโรทีน เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ช่วยชะลอวัย และยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายได้อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังให้ประโยชน์กับผู้ชายที่ชอบออกกำลังกายในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นกีฬา ช่วยให้การฟื้นตัวของกล้ามเนื้อเป็นไปได้เร็วขึ้น ที่สำคัญยังช่วยลดอาการบาดเจ็บระหว่างออกกำลังกายอีกด้วย
สารอาหารที่สำคัญในการสำหรับคุณผู้ชายอย่าง แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ก็จำเป็นไม่แพ้กัน ซึ่งจะทำหน้าที่ลำเลียงโมเลกุลไขมันขนาดเล็กเข้าไปใช้ในเซลล์ เพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานกับร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายได้รับสารอาหารนี้ ไม่เพียงพอการเผาผลาญก็จะทำงานลดลง เสี่ยงที่จะมีโอกาสสะสมของชั้นไขมันบริเวณหน้าทองกลายเป็นผู้ชายอ้วนลงพุง และมีโอกาสอาจเกิดไขมันสะสมตามหลอดเลือด เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันและความดันโลหิตสูงตามมา
ส่วนสารอาหารที่จำเป็นประเภทสุดท้าย ที่ผู้ชายที่กำลังประสบปัญหาฮอร์โมนเพศชายลด จำเป็นต้องมีอย่างเพียงพอก็คือ กลุ่มวิตามินบี ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความสดชื่นและเพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย ส่งผลให้สามารถออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. เลิกสูบบุหรี่ และลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ มักจะเป็นส่วนหนึ่งของผู้ชายไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สองพฤติกรรมนี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อ ปอด หัวใจ หลอดเลือด และอวัยวะภายในที่สำคัญของร่างกายเท่านั้น การลดต่ำลงอย่างน่าตกใจของฮอร์โมนเพศในผู้ชายก็มีสาเหตุมาจากสิ่งนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการลด ละ เลิก พฤติกรรมทำลายสุขภาพนี้ มีส่วนช่วยอย่างยิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนเพศกลับคืนมาเป็นปกติ และยังช่วยชะลอการลดลงอย่างผิดปกติได้ด้วย
‘นิโคติน’ ในบุหรี่ คือสารพิษร้ายแรงที่มีผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดลง และยังไปทำให้เกิดการรวมตัวของกรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็ก ๆ ที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศเสียไป ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวน้อยลงหรือไม่แข็งตัว นอกจากนี้สารพิษในบุหรี่อีกหลายชนิดยังส่งผลต่อความแข็งแรงและจำนวนของอสุจิที่ลดลงด้วย
การดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นเดียวกัน หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเพศที่ร่างกายจะผลิตได้น้อยลง ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จำนวนอสุจิลดลงและไม่แข็งแรง รวมถึงเส้นผมหลุดร่วงได้อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. “Understanding the risks of performance-enhancing drugs”. Mayo Clinic. Retrieved December 30, 2019.
2. Mooradian AD, Morley JE, Korenman SG (February 1987). “Biological actions of androgens”. Endocrine Reviews. 8 (1): 1–28. doi:10.1210/edrv-8-1-1. PMID 3549275.
3. Torjesen PA, Sandnes L (March 2004). “Serum testosterone in women as measured by an automated immunoassay and a RIA”. Clinical Chemistry. 50 (3): 678, author reply 678–9. doi:10.1373/clinchem.2003.027565. PMID 14981046.
4. Southren AL, Gordon GG, Tochimoto S, Pinzon G, Lane DR, Stypulkowski W (May 1967). “Mean plasma concentration, metabolic clearance and basal plasma production rates of testosterone in normal young men and women using a constant infusion procedure: effect of time of day and plasma concentration on the metabolic clearance rate of testosterone”. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism. 27 (5): 686–94. doi:10.1210/jcem-27-5-686. PMID 6025472.
5. Southren AL, Tochimoto S, Carmody NC, Isurugi K (November 1965). “Plasma production rates of testosterone in normal adult men and women and in patients with the syndrome of feminizing testes”. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism. 25 (11): 1441–50. doi:10.1210/jcem-25-11-1441. PMID 5843701.
เรามารู้ประวัติศาสตร์ รู้รูปแบบ รู้วิธีใช้ ให้มากขึ้นกันเถอะ แคร์แมทขอเสนอบทความดีๆนั่นคือ
ถุงยางอนามัย ถุงอนามัยสตรีและสารหล่อลื่น
(male condom, female condom and lubricants)
อ.ดร.ภก.ดนุช ปัญจพรผล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
1 เม.ย.2565
บทนำ(1-3)
สุขภาวะทางเพศและการคุมกำเนิดของประชาชนเป็นสิ่งที่ได้รับตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่งจากสังคมไทยใน
ปัจจุบัน จากแนวคิดโปรแกรมถุงยางอนามัย (comprehensive condom programming) ก่อให้เกิดยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัย
แห่งชาติ พ.ศ. 2558-2562 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนใช้ถุงยางอนามัยหรือถุงอนามัยสตรี รวมถึงสารหล่อลื่นให้เป็นวิถี
ชีวิตปกติ ลดปัญหาการตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ และความเสี่ยงจากโรคมะเร็งที่สามารถแพร่ผ่านจากการมี
เพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานตามนโยบายยังไม่เต็มประสิทธิภาพสืบเนื่องจากหลายเหตุปัจจัย ในปีพ.ศ. 2561 ตลาด
ถุงยางอนามัยในประเทศไทยมีมูลค่า 1,423 ล้านบาท ลดลงจากปี 2560 ร้อยละ 0.6 สาเหตุเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงด้าน
ทัศนคติและพฤติกรรมเรื่องการมีเพศสัมพันธ์โดยพบว่าอายุของเยาวชนที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกลดลง มีความเชื่อว่าเรื่องเพศที่ผิด
และความประมาท รวมถึงการรณรงค์จากภาครัฐลดลง สิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลให้ปริมาณการใช้ถุงยางอนามัยในหมู่เยาวชนลด
น้อยลง ทำให้สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่และปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในยุทธศาสตร์
ด้านถุงยางอนามัย (พ.ศ.2563-2573) จึงมียุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน ส่งเสริม
ให้ประชาชนเข้าถึงถุงยางอนามัย รวมถึงพัฒนาระบบบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพถุงยางอนามัย เป็นต้น โดยร้านยาเป็นหนึ่ง
ในจุดบริการเป้าหมายที่สามารถส่งเสริม ให้ความรู้ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยให้กับประชาชนเพื่อส่งเสริมการ
แก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาวได้
ความเป็นมาของถุงยางอนามัย(4)
หลักฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดคือในสมัยพระเจ้าไมนอสแห่งเกาะครีต
ราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล โดยพระองค์เชื่อว่าในน้ำอสุจิของพระองค์มีอสรพิษและแมงป่องอยู่จึงทำให้เหล่าสตรีที่มีความสัมพันธ์
กับพระองค์เสียชีวิต ดังนั้นพระองค์จึงใช้กระเพาะปัสสาวะของแกะใส่ไปในอวัยวะเพศหญิงเพื่อป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์และการ
เสียชีวิตของพระมเหสี ต่อมาในช่วงค.ศ. 1000 สมัยอียิปต์โบราณ มีการใช้ปลอกสวมอวัยวะเพศที่ทำจากผ้าลินินสีต่าง ๆ เพื่อ
จำแนกชนชั้นของประชากรและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในเลือด “บิลฮาร์เซีย” ซึ่งติดเชื้อจากทางเดินปัสสาวะ ในยุคโรมันโบราณพบ
การระบาดของโรคซิฟิลิส ชาวโรมันจึงผลิตปลอกสวมอวัยวะเพศจากผ้าลินิน ลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะของแพะหรือแกะเพื่อ
ป้องกันโรค สำหรับในภูมิภาคเอเชีย ช่วงก่อนคริสตศตวรรษที่ 15 ประเทศจีนมีการใช้ถุงที่ทำจากผ้าไหมหล่อลื่นด้วยน้ำมันเพื่อ
ป้องกันโรคระบาดและในประเทศญี่ปุ่นมีใช้กระดองเต่าหรือหนังเป็นวัตถุดิบ
หลักฐานการใช้ถุงยางอนามัยเกิดขึ้นในทวีปยุโรปเกิดขึ้นราวคริสตศตวรรษที่ 17 สมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 1 โดยผลิตจากปลา
และลำไส้ของแพะ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อซิฟิลิสในกองทัพ ต่อมาในสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 2 ทรงกังวลเกี่ยวกับจำนวนบุตร
จึงให้แพทย์ทำถุงเพื่อคุมกำเนิดขึ้น โดยผลิตจากลำไส้แกะ โดยคำว่า “condom” ปรากฎครั้งแรกในบันทึกของนายแพทย์ Daniel
Turner และคำนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในปีค.ศ. 1785 เป็นต้นมา เพราะมีการบรรจุคำนี้ลงในพจนานุกรรมภาษาถิ่นของ
ลอนดอน โดยคำว่า condom มีที่มาจาก 2 ทฤษฎี ทฤษฎีแรกคือมาจากชื่อสกุลของนายแพทย์ Colonel Condom นายแพทย์ที่
สร้างถุงคุมกำเนิดให้กับพระเจ้าชาร์ลที่ 2 และอีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่ามาจากคำว่า “condus” ในภาษาลาตินที่มีความหมายว่าภาชนะ
รองรับ (vessel)
พบการใช้ถุงที่ทำจากลำไส้เล็กหรือกระเพาะปัสสาวะของสัตว์จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยทหารเยอรมันใช้เพื่อ
ป้องกันโรคซิฟิลิสและหนองใน จากนั้นความนิยมของถุงที่ทำมาจากลำไส้สัตว์เริ่มลดน้อยลง ในช่วงปีค.ศ. 1920 ถุงยางอนามัยที่ทำ
มาจากยางธรรมชาติได้เกิดขึ้นและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะมีความยืดหยุ่นที่ดีและสามารถผลิตมาก จึงถูกนำไปใช้ใน
กองทัพอเมริกันและยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และภายหลังการอุบัติของเชื้อเอชไอวีในช่วงปีค.ศ. 1980 ถุงยางอนามัยจึงถูก
ใช้เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการป้องกันโรคและคุมกำเนิดของประชากรโลกจนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการพัฒนารูปแบบ สี กลิ่น และเติม
สารต่าง ๆ ให้เป็นทางเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละคน
ถุงยางอนามัยในประเทศไทยและการป้องกันโรค
ในช่วงต้น ประเทศไทยใช้ถุงยางอนามัยเพื่อการวางแผนครอบครัว แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในไทยในปี
พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา จึงเกิดโครงการถุงยางอนามัย 100% ขึ้น เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ดังแสดงในตารางที่ 1(5)
ความหมายของถุงยางอนามัยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขคือ “ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติ น้ำยาง
สังเคราะห์ หรือวัสดุอื่น ใช้สวมอวัยวะเพศชายระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อใช้คุมกำเนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์”
โดยกำหนดให้ถุงยางอนามัยเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องได้รับอนุญาตในการผลิตหรือนำเข้า มีมาตรฐานและข้อกำหนดเกี่ยวกับ
ผลิตภัณฑ์ การบรรจุ เครื่องหมายและฉลากให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธาณสุข(6)
ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(7)
โรคทางเพศสัมพันธ์ | ประสิทธิภาพการป้องกันโรค |
เอดส์ | มากกว่าร้อยละ 90 |
ไวรัสตับอักเสบบี | มากกว่าร้อยละ 90 |
พยาธิในช่องคลอด | มากกว่าร้อยละ 90 |
หนองในแท้ | มากกว่าร้อยละ 90 |
หนองในเทียม | ร้อยละ 50-90 |
ซิฟิลิส | ร้อยละ 50-90 |
เริม | ร้อยละ 10-50 |
แผลริมอ่อน | ร้อยละ 10-50 |
หูดหงอนไก่ | ไม่สามารถป้องกันได้ หรือน้อยกว่าร้อยละ 10 |
เมื่อใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง พบว่ามีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงถึง 98% หมายถึงครอบครัวที่มีการใช้ถุงยาง
เป็นประจำใน 1 ปี พบสตรีที่ตั้งครรภ์เพียง 2 คนใน 100 คน ในขณะที่ผู้ที่ใช้ถุงยางอนามัยสม่ำเสมอแต่ไม่ถูกต้องในบางครั้งจะพบ
การตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นถึง 18 คนใน 100 คน(8)
วัสดุที่ใช้ในการผลิตถุงยางอนามัย(9-10)
น้ำยางธรรมชาติ (Latex) เป็นวัสดุที่นิยมใช้ทำถุงยางอนามัย เนื่องจากมีความกระชับ ยืดหยุ่นดี ราคาถูก สามารถใช้
ร่วมกับสารหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคนได้ แต่ห้ามใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นที่เป็นสูตรน้ำมัน อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนหนึ่งที่แพ้น้ำยาง
ธรรมชาติ อาจจะเกิดการระคายเคือง ผื่นแดงและผิวหนังบวมพองได้ จึงต้องหลีกเลี่ยงไปใช้ถุงยางอนามัยที่ผลิตจากวัสดุอื่นแทน
หนังแกะ (Lambskin) ทำมาจากลำไส้เล็กของแกะ ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ถือเป็นวัสดุที่เก่าแก่ที่สุด โดยในปัจจุบันมี
การนำกลับมาใช้อีกครั้ง ถุงยางอนามัยที่ผลิตจากหนังแกะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่ไม่สามารถป้องกัน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือเชื้อเอชไอวีได้เนื่องจากถุงยางจากหนังแกะนี้จะมีรูพรุนขนาดเล็กที่เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสผ่านได้
จุดเด่นของถุงยางประเภทนี้คือให้ความรู้สึกธรรมชาติเหมือนไม่ได้ใส่ นำส่งความอุ่นของร่างกายได้ดี สามารถใช้กับสารหล่อลื่นได้
ทุกประเภททั้งสูตรน้ำ ซิลิโคนและน้ำมัน แต่มีราคาค่อนข้างสูง มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าน้ำยางธรรมชาติและอาจจะมีกลิ่นที่ไม่พึง
ประสงค์
โพลีไอโซพรีน (Polyisoprene) เป็นยางสังเคราะห์ที่มีความยืดหยุ่นและทนทานเหมือนน้ำยางธรรมชาติ มีราคาต่ำกว่า
หนังแกะและสูงกว่าน้ำยางธรรมชาติ สามารถใช้กับสารหล่อลื่นสูตรน้ำและซิลิโคนเช่นเดียวกับน้ำยางธรรมชาติ
โพลียูรีเทน (Polyurethane) เป็นพลาสติกสังเคราะห์ลักษณะบางใส ใช้ทำทั้งถุงยางอนามัยและถุงอนามัยสตรี จุดเด่น
ของวัสดุนี้คือส่งผ่านความรู้สึกและความร้อนได้ดี และบางกว่าน้ำยางธรรมชาติ แต่มีราคาที่สูงกว่า รวมถึงความแข็งแรงและความ
ยืดหยุ่นน้อยกว่า อาจส่งผลถึงความกระชับของถุงยางอนามัยที่ไม่ดีเท่าถุงยางอนามัยจากน้ำยางธรรมชาติ สามารถใช้กับสารหล่อ
ลื่นสูตรน้ำและซิลิโคนได้
ไนไตรล์ (Nitrile) เป็นยางสังเคราะห์ ใช้ในถุงอนามัยสตรีแทนสารโพลียูรีเทน เนื่องจากสามารถนำส่งความร้อนได้ดีและมี
ราคาถูก รวมถึงสามารถใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นทั้งสูตรน้ำ ซิลิโคน และน้ำมัน
ปัจจัยพิจารณาการเลือกใช้ถุงยางอนามัย(11)
1. ขนาด
เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกถุงยางอนามัย เพราะขนาดถุงยางอนามัยที่เหมาะสมจะส่งผลถึงประสิทธิภาพของถุงยาง
อนามัย เนื่องจากถุงยางอนามัยที่เล็กเกินไปจะทำให้คับ แน่น ไม่สบายตัว ทำให้เกิดการฉีกขาดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่
ถ้าขนาดใหญ่เกินไปอาจจะทำให้หลุดในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
ขนาดของถุงยางอนามัยที่เห็นในท้องตลาดของประเทศไทยอยู่ระหว่าง 49-56 มิลลิเมตร โดยวัดจากความกว้างของถุงยางอนามัยที่
วางบนพื้นระนาบ ซึ่งการเลือกขนาดถุงยางอนามัย ให้ผู้ใช้วัดเส้นรอบวง (หน่วยมิลลิเมตร) ที่บริเวณส่วนที่หนาที่สุดของอวัยวะเพศ
ชายขณะแข็งตัวเต็มที่ นำเส้นรอบวงมาหารสองจะเป็นค่าประมาณของความกว้างของถุงยางอนามัยที่จะใช้หรือสามารถดาวน์โหลด
สายวัดจากสื่อออนไลน์ทั่วไปได้เช่นกัน จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าชายไทยจะมีการใช้ถุงยางขนาด 49, 52, 54
และ 56 คิดเป็นร้อยละ 25, 50, 12 และ 5 ตามลำดับ (11)
2. ความหนา
เป็นปัจจัยที่ส่งผลในด้านความรู้สึกขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยความหนาของถุงยางอนามัยในท้องตลาดทั่วโลกจะอยู่ระหว่าง
0.01-0.09 มิลลิเมตร ความหนาปกติของถุงยางอนามัยโดยทั่วไปอยู่ในช่วง 0.05-0.07 มิลลิเมตร และสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่ม
ความรู้สึกให้คล้ายกับการไม่สวมถุงยางอนามัย สามารถใช้แบบบางพิเศษซึ่งจะมีความหนาเพียง 0.01-0.02 มิลลิเมตร
3. รูปร่างและพื้นผิวสัมผัส
รูปร่างของถุงยางอนามัยมีผลต่อความกระชับ โดยทั่วไปจะเป็นแบบผนังขนาน สำหรับแบบผนังไม่ขนาน โดยจะมีส่วนเว้า
หรือโป่งขึ้นที่ส่วนปลายของถุงยางอนามัยผลิตเพื่อเพิ่มความกระชับกับอวัยวะเพศชายมากขึ้น นอกจากนี้ส่วนปลายสุดของถุงยาง
อนามัยบางรุ่นจะมีกระเปาะเพื่อรองรับน้ำอสุจิ
ผิวสัมผัสของถุงยางอนามัยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผิวเรียบ และผิวขรุขระ ถุงยางอนามัยแบบผิวขรุขระผลิต
เพื่อเพิ่มความรู้สึกให้แก่เพศหญิงหรือทั้งสองฝ่ายในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งถุงยางอนามัยแบบผิวขรุขระจะมีหลายรูปแบบเช่น
แบบปุ่ม แบบขีด แบบเกลียวหรือแบบผสม อย่างไรก็ตามมีรายงานพบว่าถุงยางอนามัยแบบผิวขรุขระสามารถเกิดการระคายเคือง
ในเพศหญิงบางคนได้
4. สารฆ่าเชื้ออสุจิ
สาร nonoxynol เป็นสารฆ่าเชื้ออสุจิ ทำหน้าที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ของอสุจิไปยังเซลล์ไข่ โดยมีการใช้สาร nonoxynol-
9 เคลือบบนผิวนอกของถุงยางอนามัย(10) แต่จากรายงานขององค์การอนามัยโลกปีค.ศ. 2001 รายงานว่าไม่มีหลักฐานว่าการใช้
ถุงยางอนามัยที่เคลือบด้วยสาร nonoxynol-9 จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่าถุงยางอนามัยที่ไม่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ
นอกจากนี้ยังพบว่าสารฆ่าเชื้ออสุจิดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว จึงอาจทำให้ผนังช่องคลอดและผนังอวัยวะเพศชายเกิด
การระคายเคืองหรือรอยถลอกได้ในผู้ที่ใช้ถุงยางอนามัยที่เคลือบด้วยสารนี้ตั้งแต่วันละ 2 ครั้งขึ้นไป ส่งผลให้เพิ่มโอกาสในการติด
เชื้อเอชไอวีและเชื้อโรคอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้สารฆ่าเชื้ออสุจิส่งผลทำให้ถุงยางอนามัยมีอายุที่สั้นลง แต่อย่างไรก็ตามการใช้ถุงยาง
อนามัยที่เคลือบสารฆ่าเชื้ออสุจิก็ยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีได้มากกว่าการไม่ใช้ถุงยางอนามัย(12-14)
5. สารชะลอการหลั่ง
สารชะลอการหลั่งที่นิยมใช้เป็นกลุ่มของยาชา ใช้เคลือบที่ถุงยางอนามัยเพื่อแก้ปัญหาสำหรับเพศชายที่มีความไวต่อ
ความรู้สึกมากและเกิดภาวะหลั่งเร็ว โดยสารที่นิยมใช้ได้แก่ เบนโซเคนและลิโดเคน เป็นต้น
6. สารหล่อลื่น
สารหล่อลื่นนิยมใช้เคลือบบนถุงยางอนามัย เพื่อช่วยให้อายุของถุงยางอนามัยนานขึ้น ง่ายต่อการแกะออกจากบรรจุ
ภัณฑ์และช่วยลดการระคายเคืองช่องคลอดในระหว่างใช้ได้ สารหล่อลื่นที่นิยมใช้มากมักจะเป็นสารหล่อลื่นในกลุ่มซิลิโคน เช่น โพลี
ไดเมธิลไซโลเซน เป็นต้น เนื่องจากเป็นสารที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ละลายน้ำจึงหล่อลื่นได้ยาวนานและไม่มีปฏิกิริยากับสารอินทรีย์อื่น
นอกจากนี้ยังมีถุงยางอนามัยบางรุ่นที่ใช้สารหล่ออื่นที่สามารถละลายน้ำได้ เช่นโพลีเอธิลีนกลัยคอล หรือกลีเซอรีนด้วยเช่นกัน โดย
ปริมาณสารหล่อลื่นที่ใส่ประมาณ 150-300 มิลลิกรัมต่อถุงยางอนามัย 1 ชิ้น(14) นอกจากนี้พบการใช้สารหล่อลื่นพิเศษบางประเภท
อาจจะทำให้อุ่นในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ซึ่งจะช่วยเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกของคู่รักได้มากยิ่งขึ้น(15)
7. กลิ่นและสี
การแต่งกลิ่นและสีให้กับถุงยางอนามัยเพื่อช่วยกระตุ้นความรู้สึกและอรรถรสทางเพศ ช่วยดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของ
อวัยวะเพศชายและหญิง และสามารถใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ทางปากได้ โดยกลิ่นที่นิยมมาก ได้แก่ กลิ่นสตอรว์เบอร์รี่ กล้วย วานิ
ลา และช็อกโกแลต เป็นต้น สำหรับการแต่งสี ถุงยางอนามัยนิยมใช้สีธรรมชาติหรือแต่งสีชมพู แต่ในต่างประเทศอาจจะพบถุงยาง
อนามัยที่แต่งสีพิเศษตามเทศกาล เช่นแต่งสีส้ม-ดำสำหรับเทศกาลฮาโลวีน, สีเขียว-แดงสำหรับเทศกาลคริสต์มาส หรือชมพู-แดง
ในช่วงวันวาเลนไทน์ เป็นต้น นอกจากนี้ถุงยางอนามัยบางรุ่นอาจจะมีการใส่สารเรืองแสงในที่มืดด้วยเช่นกัน(14)
ข้อดีและข้อเสียของถุงยางอนามัย(11,15)
ข้อดี
1. เป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2. ไม่พบผลข้างเคียงที่อันตรายจากการใข้ถุงยางอนามัย
3. มีขนาด สีสัน รูปแบบพื้นผิวให้เหมาะสมกับผู้ใช้
4. สะดวกในการใช้และหาซื้อได้ทั่วไป
ข้อเสีย
1. จำเป็นต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ อาจจะเกิดความไม่ยินยอมของทั้งสองฝ่าย
2. อาจจะหลุดหรือฉีกขาดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้
3. คนที่แพ้น้ำยางธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติได้
วิธีการใช้ถุงยางอนามัย(16)
1. ตรวจสอบวันหมดอายุของถุงยางอนามัย และควรมีถุงยางอนามัยสำรอง เพื่อป้องกันกรณีถุงยางอนามัยรั่วหรือฉีกขาด
2. แกะถุงยางอนามัยจากบรรจุภัณฑ์อย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายต่อถุงยางอนามัยและห้ามคลี่ถุงยาง
อนามัยออกก่อนนำไปใช้
3. สวมใส่ถุงยางอนามัยในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่
4. นำด้านที่เป็นกระเปาะไว้ด้านนอก บีบปลายถุงยางอนามัยเพื่อไล่อากาศออก
5. สวมถุงยางอนามัยแล้วรูดลงมาจนถึงโคนอวัยวะเพศ
6. ตรวจสอบถุงยางอนามัยว่าไม่มีรอยรั่วหรือฉีดขาดก่อนการมีเพศสัมพันธ์
7. ภายหลังมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรถอนอวัยวะเพศขณะแข็งตัวโดยจับรอบอวัยวะเพศชายในบริเวณขอบของถุงยาง
อนามัย
8. ถอดถุงยางอนามัยอย่างระมัดระวัง โดยเริ่มจากบริเวณส่วนโคนอวัยวะเพศก่อน แล้วรูดน้ำอสุจิไปอยู่ที่ปลายถุง มัด
ปาดถุง ห่อด้วยกระดาษ และควรทิ้งในถังขยะสำหรับขยะติดเชื้อจะเหมาะสมที่สุด
9. ถ้าเกิดการฉีกขาดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ควรเปลี่ยนถุงยางอนามัยทันที แต่ถ้าไม่มั่นใจหรือเพิ่งทราบในภายหลัง
การมีเพศสัมพันธ์แล้วว่าถุงยางอนามัยชำรุด ควรให้ฝ่ายหญิงรับประทานยาคุมฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์
10. ทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยสบู่อ่อน ๆ อย่างนุ่มนวล โดยเฉพาะในฝ่ายหญิงไม่ควรสวนล้างอวัยวะเพศ เพราะเสี่ยง
ต่อการติดเชื้อและนำไปสู่การอักเสบของโพรงมดลูกได้
คำแนะนำเกี่ยวกับถุงยางอนามัย(15)
1. ไม่ควรใช้ถุงยางอนามัย 2 ชั้น เนื่องจากการเสียดสี จะทำให้ถุงยางอนามัยฉีกขาดและผู้ใช้ติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น
2. ใส่ถุงยางแล้วลดความรู้สึกทางเพศ อาจจะมีความเป็นไปได้สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย แต่สามารถแก้ไขได้เพราะถุงยาง
อนามัยมีหลายประเภท สามารถเลือกใช้แบบที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ใช้ เช่นแบบบางพิเศษที่สามารถให้ความรู้สึกอย่างเต็มที่
หรือแบบที่ให้ความรู้สึกอุ่นเพื่อสามารถกระตุ้นความรู้สึกได้ดียิ่งขึ้น ยกเว้นผู้ที่ประสบปัญหาหลั่งเร็วสามารถเลือกใช้ถุงยางอนามัยที่
ผสมยาชา เพื่อยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ได้
3. ควรเลือกถุงยางอนามัยให้ถูกต้องตามขนาดที่เหมาะสมและควรใช้สารหล่อลื่นที่เหมาะสมกับวัสดุที่ใช้ผลิตถุงยางนั้น ๆ
4. การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องปาก ควรเลือกใช้ถุงยางอนามัยแบบแต่งกลิ่น เนื่องจากไม่มีสารหล่อลื่นและสามารถเลือก
กลิ่นได้ตามรสนิยม
5. การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก สามารถเลือกใช้ถุงยางอนามัยแบบใดก็ได้ เพราะไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่บ่งชี้ว่า
ถุงยางอนามัยแบบใดดีกว่ากัน แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องใช้สารหล่อลื่นปริมาณมากเพื่อลดความเสี่ยงของการฉีกขาดของถุงยางอนามัย
6. น้ำอสุจิไม่สามารถซึมผ่านถุงยางอนามัยได้
7. ควรใช้ถุงยางอนามัยตลอดระยะเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายจะมีการหลั่งสาร
คัดหลั่งและอสุจิตลอดเวลา
8. เมื่อต้องการมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งที่ 2 ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยอันใหม่ ห้ามใช้ซ้ำ
9. ถุงยางอนามัยใช้ได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถล้างน้ำใหม่แล้วใช้ซ้ำได้ เพราะจะเกิดการฉีกขาด หลุดหรือหลวมได้
10. ไม่ควรเก็บถุงยางอนามัยไว้ในกระเป๋าสตางค์ เนื่องจากการเสียดสี อากาศร้อน และแรงกดทับจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมคุณภาพ ควรจะพกแค่เฉพาะวันที่ต้องการใช้เท่านั้น สำหรับเวลาที่ไม่ได้ใช้ควรเก็บในที่เย็น แห้งและพ้นจากแสงแดด
ถุงอนามัยสตรี (Female condom)
ถุงอนามัยสตรีเกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยนายแพทย์ชาวเดนมาร์กชื่อ Lasse Hessel โดยลักษณะของ
ถุงอนามัยสตรีจะเป็นถุงใส เนื้อนุ่มแต่มีความเหนียวและแข็งแรง ถุงอนามัยสตรีมีความยาวใกล้เคียงกับถุงยางอนามัยของผู้ชาย แต่
มีแหวนยืดหยุ่นที่ปลายทั้งสองด้าน โดยด้านหนึ่งเป็นด้านปิด สำหรับด้านเปิดจะเป็นด้านที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย จะอยู่นอกอวัยวะเพศ
หญิง ถุงอนามัยสตรีมีอายุการเก็บรักษา 5 ปี(17,18)
สำหรับประเทศไทยให้ความสนใจกับถุงอนามัยสตรีมากขึ้นในปัจจุบัน โดยในแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 –
2565) ตามยุทธศาสตร์ด้านถุงยางอนามัย (พ.ศ. 2563 – 2573) ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560
– 2573 มีการผลักดันให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถุงอนามัยสตรีให้ง่ายและตรงตามความต้องการของผู้หญิงในราคาที่ถูกลง
และสนับสนุนการใช้ถุงอนามัยสตรีเป็นทางเลือกให้ผู้หญิงมากขึ้น รวมถึงแสวงหาการสนับสนุนถุงอนามัยสตรีจากองค์กรระหว่าง
ประเทศมากขึ้น(3)
ประเภทของถุงอนามัยสตรี
1. ถุงอนามัยสตรี FC1®
เป็นถุงอนามัยสตรีรุ่นแรก ผลิตจากพลาสติกสังเคราะห์คือโพลียูรีเทนหล่อลื่นด้วยสารหล่อลื่นประเภทซิลิโคนโดยบริษัท
Female Health Company ของสหรัฐอเมริกา และปีค.ศ. 1992 เริ่มออกจำหน่ายในทวีปยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร,
สวิสเซอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, อิตาลี และออสเตรีย เป็นต้น ต่อมาองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริการับรองและขายใน
สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1994(19)
2. ถุงอนามัยสตรี FC2®
ถุงอนามัยสตรีรุ่นที่ 2 เป็นการพัฒนามาจาก FC1® โดยบริษัท Female Health Company เช่นเดียวกัน แต่เปลี่ยนวัสดุ
เป็นยางสังเคราะห์ไนไตรล์แทนโพลียูรีเทน ในปี ค.ศ. 2003 เริ่มจัดจำหน่ายในทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 2005 และปี ค.ศ. 2009 ผ่าน
การรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(19) ปัจจุบันส่งออกไปมากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก(20) ซึ่งถุงอนามัยสตรี
FC2® มีประสิทธิภาพสูงเช่นเดียวกับ FC1® แต่มีราคาที่ถูกกว่า นอกจากนี้มีการเพิ่มขนาดวงแหวนด้านปลายเปิดให้มีขนาดใหญ่
คลุมอวัยวะเพศหญิงและฐานของอวัยวะเพศชายเพื่อการป้องกันการสัมผัสกันของอวัยวะเพศ ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ดียิ่งขึ้น
และยางสังเคราะห์มีความเหนียวนุ่มจึงทำให้ไม่เกิดเสียงรบกวนในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์(21)
จากงานวิจัยในสตรีที่ใช้ถุงอนามัยสตรีในแอฟริกาใต้เปรียบเทียบกันระหว่าง FC1® และ FC2® พบว่าอัตราการฉีกขาด
ของ FC1® และ FC2® อยู่ในอัตราที่ต่ำ เพียง 0.73% และ 0.85% ตามลำดับ การหลุดเข้าไปในช่องคลอดบางส่วนหรือทั้งหมดของ
FC1® พบ 3.14% และ FC2® พบ 2.98% สำหรับการหลุดออกจากอวัยวะเพศหญิงของถุงอนามัยสตรีทั้งสองรุ่นอยู่ในระดับที่ต่ำ
กว่า 0.37% และความล้มเหลวด้านคลินิกของ FC1® อยู่ที่ 5.24% และ FC2® อยู่ที่ 4.3% แสดงให้เห็นว่าถุงอนามัยสตรีทั้ง 2 รุ่นมี
ประสิทธิภาพที่ดี(22)
3. ถุงอนามัยสตรีอื่น ๆ(19,20)
นอกจากบริษัท Female Health Company ยังพบการผลิตถุงอนามัยสตรีจากประเทศอินเดียและจีนเช่นกัน เช่น ถุง
อนามัยสตรี CupidTM ของบริษัท Cupid Ltd. ประเทศอินเดีย ซึ่งผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ, ถุงอนามัยสตรี O’lavieTM และ
Phoenurse® โดยบริษัท Shanghai Medical Apparatus company และ Tianjin Condombao Medical Polyurethane
Tech. Co. Ltd ประเทศจีน ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองยี่ห้อผลิตมาจากโพลียูรีเทน
ในด้านประสิทธิภาพของถุงอนามัยสตรี พบว่ามีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดประมาณ 95% แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี
ประสิทธิภาพจะลดลงเหลือเพียง 79%(8) และถุงอนามัยสตรีสามารถลดการติดเชื้อเอชไอวีได้สูงกว่า 95% รวมถึงสามารถป้องกัน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่น โรคซิฟิลิสและหนองในได้(17)
ข้อดีและข้อเสียของถุงอนามัยสตรี(23)
ข้อดี
1. ป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
2. ฝ่ายหญิงสามารถใช้ถุงอนามัยสตรีได้ ถ้าฝ่ายชายไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัย
3. สามารถใช้ได้กับผู้ที่แพ้น้ำยางธรรมชาติ
4. สามารถใส่ไว้ในอวัยวะเพศหญิงได้นานถึง 8 ชั่วโมงก่อนมีเพศสัมพันธ์ และไม่จำเป็นต้องถอดทันทีภายหลังเพศสัมพันธ์
ข้อเสีย
1. ถุงอนามัยสตรีอาจจะหลุดได้ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
2. บางคู่อาจจะเกิดการระคายเคืองได้
3. ฝ่ายชายอาจจะเสียความรู้สึกทางเพศได้ เนื่องจากความเทอะทะของถุงอนามัยสตรี
4. อาจจะเกิดเสียงในขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ จึงควรใช้สารหล่อลื่นเพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว
5. ราคาแพง และยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย
6. มีขนาดเดียว
วิธีการใช้ถุงอนามัยสตรี(15,23)
1. ตรวจสอบวันหมดอายุของถุงอนามัยสตรี
2. แกะถุงยางอนามัยสตรีอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันความเสียหาย ไม่ควรใช้ปากแกะหรือใช้เล็บจิกบริเวณที่มีถุงอนามัย
สตรีอยู่
3. ถอดแหวนหรือตัดเล็บ เพื่อป้องกันการรั่วของถุงอนามัยสตรีในขณะใส่
4. ทาสารหล่อลื่นที่ถุงอนามัยสตรี บีบส่วนปลายปิดหรือบริเวณที่วงแหวนหนาให้เล็กลงแล้วสอดเข้าไปในอวัยวะเพศหญิง
ในท่านอน หรือท่าสควอช หรือท่ายืน ยกขาข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ก็ได้ โดยเลือกท่าที่สะดวกที่สุด
5. ใช้นิ้วมือสอดเข้าไปภายในถุงอนามัยสตรี ดันไปถึงบริเวณปากมดลูก
6. ตรวจสอบถุงยางอนามัยว่าไม่เกิดการพับงอ
7. สังเกตว่าวงแหวนด้านปลายเปิดของถุงอนามัยสตรีจะอยู่ด้านนอกคลุมปริเวณปากอวัยวะเพศ
8. การถอดถุงอนามัยสตรี โดยจับวงแหวนด้านปลายเปิด บิดเป็นเกลียวเพื่อให้อสุจิอยู่ภายในถุง นำออกอย่างเบามือ ห่อ
ด้วยกระดาษแล้วทิ้งลงในถังขยะสำหรับขยะติดเชื้อ
9. เปลี่ยนถุงอนามัยสตรีอันใหม่ เมื่อต้องการมีเพศสัมพันธ์ซ้ำ ไม่ควรนำมาล้างแล้วใช้ซ้ำ
10. ในกรณีเมื่อฝ่ายชายเสร็จกิจ แต่วงแหวนด้านปลายเปิดเข้าไปภายในช่องคลอด ไม่ได้คลุมที่ด้านนอกอวัยวะเพศหญิง
ฝ่ายหญิงควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์
คำแนะนำเกี่ยวกับถุงอนามัยสตรี(21,23)
1. ห้ามใช้ถุงยางอนามัยที่หมดอายุแล้ว
2. สามารถใช้ถุงอนามัยสตรีในช่วงมีประจำเดือนได้
3. ถ้าพบการฉีกขาดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ควรหยุดกิจกรรม ทำความสะอาดอวัยวะเพศและเปลี่ยนถุงอนามัยสตรีอันใหม่
4. ไม่แนะนำให้ใช้ถุงอนามัยสตรีร่วมกับถุงยางอนามัยของผู้ชายเพราะเสี่ยงกับการเสียดสีและฉีกขาดได้
5. สามารถใช้ถุงอนามัยสตรีกับการคุมกำเนิดวิธีอื่นได้ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด ห่วงอนามัย
ได้ แต่ห้ามใช้ร่วมกับฝาครอบปากมดลูก (diaphragm) และ วงแหวนคุมกำเนิด (inner ring) เนื่องจากอุปกรณ์อยู่ในตำแหน่ง
เดียวกันกับถุงอนามัยสตรี
6. การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก สามารถใช้ถุงอนามัยสตรีได้ โดยใช้สารหล่อลื่นปริมาณมากเพื่อช่วยในการนำถุง
อนามัยสตรีเข้าไปในทางทวารหนัก
ถุงยางยูนิเซ็กซ์ (unisex condom)
วันที่ 28 ตุลาคม 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานเกี่ยวกับถุงยางยูนิเซ็กซ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก ผลิตโดยทีมวิจัยและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ของนายแพทย์ John Tang Ing Chinh ประเทศมาเลเซีย ภายใต้ชื่อ Wondaleaf Unisex Condom จัดจำหน่าย
เฉพาะในประเทศมาเลเซีย โดยถุงยางยูนิเซ็กซ์ 1 กล่อง บรรจุถุงยางจำนวน 2 ชิ้นพร้อมสารหล่อลื่นสูตรน้ำ 2 ซอง ราคา 14.99 ริง
กิตมาเลเซีย(24)
ถุงยางยูนิเซ็กซ์ผลิตจากโพลียูรีเทน มีความหนา 0.03 มิลลิเมตร มีขนาดเดียว ความพิเศษของถุงยางนี้คือมีขอบด้านบน
เป็นกาว 1 ด้าน ซึ่งสามารถพลิกเพื่อติดกับบริเวณหัวหน่าวรอบอวัยวะเพศชายหรือหญิงก็ได้ โดยทางบริษัทอธิบายว่าการมีแถบกาว
จะทำให้ไม่เกิดการเลื่อนหลุดในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และการติดคลุมรอบ ๆ
หัวหน่าวจะทำให้เพิ่มการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ แต่ข้อแนะนำที่เพิ่มเติมสำหรับการใช้ถุงยางยูนิเซ็กซ์คือ การ
ลอกถุงยางออกจะไม่ทำให้เจ็บปวดสำหรับผู้ที่กำจัดขนบริเวณหัวหน่าวแล้ว แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้กำจัดขน ควรลอกออกอย่างช้า ๆ(25)
สารหล่อลื่นหรือเจลหล่อลื่น(26-28)
สารหล่อลื่นมีความจำเป็นในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีการหลั่งสารหล่อลื่นออกมาน้อย ซึ่งจะก่อให้เกิด
ความเจ็บปวดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์หรือการระคายเคืองของเนื้อเยื่ออวัยวะเพศหญิงได้ สารหล่อลื่นแบ่งออกได้เป็น 3
ประเภท ดังนี้
1. สารหล่อลื่นสูตรน้ำ (water based lubricants)
เป็นสารหล่อลื่นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางมากที่สุด สามารถหาซื้อได้ง่าย มีจุดเด่นคือเข้ากันได้กับผิวหนังและไม่มี
ผลกระทบต่อเนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอด ล้างออกง่าย สามารถใช้กับถุงยางอนามัยและเซ็กซ์ทอยได้ทุกประเภทโดยไม่ทำให้
เสื่อมสภาพ
สารหล่อลื่นสูตรน้ำที่มีกลีเซอรีนเป็นส่วนประกอบ จะมีรสชาติหวานเล็กน้อย ราคาถูก หาได้ง่าย ไม่เป็นมัน แต่ข้อเสืยคือ
แห้งไว ต้องเติมบ่อยๆ และมักจะทำให้รู้สึกเหนียวติดได้ ยิ่งไปกว่านั้นการใช้กลีเซอรีนกับอวัยวะเพศหญิงจะทำให้มีความเสี่ยงในการ
ติดเชื้อยีสต์ได้ง่าย จึงมีคำแนะนำไม่ควรใช้กับอวัยวะเพศหญิง สามารถใช้หล่อลื่นในการมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือทวารหนักได้
สารหล่อลื่นสูตรน้ำที่ไม่มีกลีเซอรีนในส่วนประกอบเพื่อลดปัญหาการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด โดยอาจจะใช้สารอื่น เช่น
โพรพิลีน ไกลคอล ซึ่งเป็นสารที่ไม่เป็นมัน ลดการระคายเคืองในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่พบว่าสารดังกล่าวอาจจะทำให้เกิด
การระคายเคืองเนื้อเยื่อได้ โดยมีการศึกษาบอกว่าพบอัตราเสี่ยงในการแพร่เชื้อเอชไอวีได้เพิ่มมากขึ้นและมีรสขม นอกจากนี้ โดยทั่วไปสารหล่อลื่นสูตรน้ำอาจจะมีส่วนประกอบของสารกันเสียกลุ่มพาราเบน ซึ่งบางคนมีอาการแพ้สารดังกล่าว อาจจะทำให้
เกิดการแพ้ คันและบวมได้ จึงอาจจะเลือกให้สารหล่อลื่นสูตรน้ำที่ปราศจากพาราเบนจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้
นอกจากนี้อาจจะมีการเติมสารอื่น ๆ เช่น เติมสารให้ความอุ่นร้อน เช่น แคปไซซิน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดและ
กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือเติมสารบำรุงและให้ความชุ่มชื้น เช่น อโลเวร่า หรือ กรดไฮยาลูรอนิก หรือมีการแต่งกลิ่น-สี เป็นต้น
2. สารหล่อลื่นสูตรซิลิโคน (silicone based lubricants)
สารหล่อลื่นประเภทนี้ราคาสูงกว่าสารหล่อลื่นสูตรน้ำ เป็นสารหล่อลื่นที่ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทยมากนัก แต่มี
แนวโน้มว่าจะเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นสารหล่อลื่นที่ปรับไปตามอุณหภูมิร่างกาย สามารถหล่อลื่นได้นานกว่าสารหล่อลื่น
สูตรน้ำ ไม่ระเหย จึงไม่ต้องเติมระหว่างทำกิจกรรม ยิ่งไปกว่านั้นยังให้ความรู้สึกนุ่มนวลและมีรายงานการแพ้น้อย โดยสารสำคัญที่
ใช้เช่น ไซโคลเมธิโคน หรือ ไดเมธิโคนอล เป็นต้น ซึ่งข้อจำกัดของสารหล่อลื่นประเภทนี้คือล้างออกยาก รสชาติไม่ดี และไม่สามารถ
ใช้กับถุงยางอนามัยหรือเซ็กซ์ทอยที่มีส่วนประกอบของซิลิโคนได้ ส่วนใหญ่มักจะเหมาะกับคู่ที่แต่งงานหรือทราบผลเลือดซึ่งกันและ
กันที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
3. สารหล่อลื่นสูตรน้ำมัน (oil based lubricants) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
สารหล่อลื่นสูตรน้ำมันปิโตรเลียม เช่นวาสลีน น้ำมันมิเนรัล เป็นต้น สารหล่อลื่นกลุ่มนี้มีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย แต่ไม่
เหมาะกับการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากทำให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้ถุงยางอนามัยหรือเซ็กซ์ทอยเสียสภาพ ล้างยากและ
ทิ้งคราบที่ผ้า สารหล่อลื่นสูตรนี้จึงเหมาะกับการมีเพศสัมพันธ์ภายนอกหรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของเพศชาย
สารหล่อลื่นสูตรน้ำมันธรรมชาติ เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันอาโวคาโด น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น เป็นสารหล่อลื่นที่มีความ
ปลอดภัยสูง รับประทานได้ หาง่ายและราคาถูก จึงสามารถใช้นวดตัวหรือใช้ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้ เนื่องจากร่างกายสามารถ
กำจัดน้ำมันเหล่านี้ดี แต่ข้อเสียคือสามารถทำให้ถุงยางอนามัยหรือเซ็กซ์ทอยเสียสภาพได้เช่นกันและเป็นคราบติดผ้าได้ ล้างออกได้
ยาก
เอกสารอ้างอิง
1. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี พ.ศ. 2562 กองโรคเอดส์
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. 2562
2. บริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด. รายงานประจำปี 2561. 2561
3. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-
2565) ตามยุทธศาสตร์ด้านถุงยางอนามัย (พ.ศ. 2563-2573) ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-
2573. 2563
4. Khan F, Mukhtar S, Dickinson IK, Sriprasad S. The story of the condom. Indian J Urol. 2013;29(1):12-15
5. กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. โครงการถุงยางอนามัย 100% มาตรการป้องกันโรคเอดส์ในประเทศ
ไทย. 2538
6. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ถุงยางอนามัย พ.ศ. ๒๕๕๖. 2556
7. Panupong. ป้องกัน ปลอดภัย ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. [cited 2021 October 05]. Available from:
https://healthythai.online/categories/healthful/news/1677
8. Nazario B. Condoms. [cited 2021 October 06]. Available from: https://www.webmd.com/sex/birthcontrol/
birth-control-condoms
9. Hatcher RA, Trussell J, Nelson AL, Cates W, Stewart FH, Kowal D. Contraceptive Technology. 19th ed. New
York: Ardent Media; 2009
10. Types of condoms. [cited 2021 October 06]. Available from: https://goaskalice.columbia.edu/answeredquestions/
types-condoms
11. MedThai. ถุงยางอนามัย. [cited 2021 October 06]. Available from: https://medthai.com/ถุงยางอนามัย
12. World Health Oraganization. WHO/CONRAD Technical Consultation on nonoxynol-9; 2001 Oct 9-10;
Geneva, Switzerland. Geneva: World Health Oraganization.; 2003
13. Rees AM. Consumer Health USA volume 2. Arizona: Oryz Press; 1997
14. Blackledge RD. Forensic Analysis on the Cutting Edge: New Methods for Trace Evidence Analysis. New
Jersey: John Wiley & Sons; 2007
15. The sexual health charity FPA. Your guide to male and female condoms. England: FPA; 2014
16. UNAIDS. The male condom UNAIDS Technical update. Geneva: UNAIDS Information Centre; 2000
17. UNAIDS. The female condom and AIDS UNAIDS point of view. Geneva: UNAIDS Information Centre; 1997
18. PATH, UNFPA. Female Condom: A Powerful Tool for Protection. Seattle: UNFPA, PATH; 2006
19. WHO/UNFPA. Female Condom: Generic Specification, Prequalification and Guideline for Procurement 2012.
Geneva: WHO Press; 2012
20. The Female Health Company. All about the FC2 female condom. [cited 2021 October 06]. Available from:
https://fc2femalecondom.com/wp-content/uploads/2017/03/All-About-the-FC2-Handout_English-web.pdf
21. Female condoms. [cited 2021 October 06]. Available from:
https://www.rhsupplies.org/fileadmin/uploads/rhsc/Working_Groups/New_Underused_RH_Technologies_Caucu
s/Documents/Technical_Briefs/rhsc-brief-female-condom_A4.pdf
22. Beksinska M, Smit J, Mabude Z, Vijayakumar G, Joanis C. Performance of the Reality polyurethane female
condom and a synthetic latex prototype: a randomized crossover trial among South African women.
Contraception. 2006 Apr;73(4):386-93
23. DerSarkissian CB. Female condoms. [cited 2021 October 06]. Available from:
https://www.webmd.com/sex/birth-control/what-are-female-condoms
24. Ebrahim H. Malaysian gynaecologist creates ‘world’s first unisex condom’. [cited 2021 October 29].
Available from: https://www.reuters.com/business/healthcare-pharmaceuticals/malaysian-gynaecologistcreates-
worlds-first-unisex-condom-2021-10-28/
25. Wondaleaf Unisex Condom. [cited 2021 October 29]. Available from:
https://www.wondaleaf.com/wondaleaf-unisex-condom/
26. Moon A. Girl Sex 101. USA: Lunatic Ink; 2014
27. Amherd C. 7 Steps to Pain-Free Sex: A Complete Self-Help Guide to Overcome Vaginismus, Dyspareunia,
Vulvodynia & Other Penetration Disorders. 3rd ed. Munich: P6 Beckenbodenzentrum; 2013
28. Price J. Naked at Our Age: Talking Out Loud About Senior Sex. New York: Seal Press; 2011
พังผืดในปอด หลังหายโควิด (Post โควิด-19 pulmonary fibrosis) กับสมุนไพรไทย
ผู้เขียน: ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะพังผืดปอดหลังหายจากโควิด
2.เพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่คาดว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อลดความรุนแรงของการเกิดพังผืดที่ปอด
บทคัดย่อ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 สิ่งที่ตามมาคือผู้ที่หายจากการติดเชื้อบางรายอาจจะมีอาการหลงเหลือ ตั้งแต่อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจลำบากจนถึงการเกิดพังผืดในปอด ซึ่งการเกิดพังผืดในปอด (Post โควิด-19 pulmonary fibrosis) พบได้บ่อยในผู้ที่ติดเชื้อรุนแรง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการรักษาที่ชัดเจนของยาที่ใช้รักษาพังผืดในปอดหลังหายโควิด ทำให้ทั่วโลกต่างศึกษาวิจัยพิสูจน์ประสิทธิภาพยาซึ่งรวมทั้งยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพร ในต่างประเทศมีงานวิจัยที่น่าสนใจของบัวบกและขมิ้นชัน ซึ่งเป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายในไทยที่คาดว่าอาจมีบทบาทในการนำมาประยุกต์ใช้ในผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อลดความรุนแรงของการเกิดพังผืดในปอด
คำสำคัญ พังผืดในปอด, โควิด-19, สมุนไพรไทย, pulmonary fibrosis, post covid-19, Thai herb
บทนำ
ปอดเป็นอวัยวะสำคัญที่เป็นเป้าหมายของการถูกโจมตีจากเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 เนื่องจากตัวรับ Angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) receptor พบมากที่ปอด ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากมีอาการไม่รุนแรงสามารถฟื้นตัวและใช้ชีวิตเป็นปกติได้หลังออกจากโรงพยาบาล แต่ผู้ติดเชื้อบางรายปอดอักเสบรุนแรง เนื้อเยื่อปอดเสียหาย จนนำไปสู่การเกิดพังผืดในปอด (pulmonary fibrosis) ซึ่งเป็นภาวะที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังที่ปอด
พยาธิสภาพของการเกิดพังพืดปอดหลังหายโควิด
จากการสร้างไฟโบรลาสต์ (fibroblast) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเมทริกซ์ที่อยู่นอกเซลล์ (extracellular matrix) จนมีปริมาณมากเกินไป ประกอบกับสารก่ออักเสบและไซโตไคน์จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเกิดพังผืดที่ปอด ทำให้เนื้อเยื่อปอดตายและถูกแทนที่ด้วยพังผืดปอดจึงไม่สามารถแลกเปลี่ยนและหมุนเวียนออกซิเจนให้ร่างกายได้อย่างเพียงพอ [1] ภาวะพังผืดปอดสามารถเพิ่มโอกาสเสียชีวิตจากภาวะที่ตามมา คือ การเกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome : ARDS) [2]
จากการศึกษาพบว่า 90% หลังหายป่วยโควิด-19 ผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ออกแรงหนักไม่ค่อยได้ เพราะจะเหนื่อย เนื้อเยื่อปอดเสียหาย แต่ผู้ป่วยราว 50% ปอดที่เสียหายฟื้นฟูให้ดีขึ้นภายใน 6 เดือน ในขณะที่ผู้ป่วยบางส่วนอาจใช้เวลานานกว่านั้นและมีผู้ป่วยราว 10% ที่พบว่าปอดยังเสียหายจากพังผืด โดยอัตราการเกิดพังผืดปอดในผู้ป่วยโควิด-19 จะสัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อ โดยพบสูงถึง 71% ในผู้ที่มีการติดเชื้อรุนแรง [1]
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ส่งเสริมการเกิดพังผืดในปอด เช่น อายุมาก โรคร่วมอย่างความดัน เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ เม็ดเลือดขาวต่ำหรือสูง การอยู่ ICU เป็นเวลานาน การใช้เครื่องช่วยหายใจ และมีประวัติสูบบุหรี่ พังผืดปอดมีผลรบกวนคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก เหนื่อย ไอเรื้อรัง โดยมักจะไอแบบไม่มีเสมหะ (dry or non-productive cough) [2]
การใช้ยาเพื่อรักษาการเกิดพังผืดปอดหลังหายโควิด
ถึงแม้ว่าคำว่า “พังผืด” ที่ใช้อธิบายลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อปอด อาจฟังดูเหมือนว่าภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างถาวร แต่ปัจจุบันยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจนว่าภาวะพังผืดปอด ที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 จะหมดหนทางรักษา เนื่องจากโดยปกติแล้วเซลล์ปอดมีความสามารถที่จะฟื้นฟูได้ตามกระบวนการตามธรรมชาติของร่างกายแต่กระบวนการดังกล่าวอาจไม่สมบูรณ์ เป้าหมายสำคัญของการรักษาจึงอาจอยู่ที่การหยุดยั้งกระบวนการอักเสบและการส่งเสริมกระบวนการเยียวยาของเซลล์ปอด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะพังผืดปอด แต่หากเกิดพังผืดขึ้นแล้วยาจะมีบทบาทในการชะลอการเพิ่มขึ้นของพังผืด พังผืดปอดหลังหายจากโรคโควิด-19 เป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาให้หายขาดและยังขาดทางเลือกการรักษาที่มีประสิทธิภาพ [1,2] ในอดีต USFDA ได้อนุมัติยา 2 ชนิดสำหรับรักษาโรคพังผืดที่ปอดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic pulmonary fibrosis: IPF) คือ ยานินเทดานิบ (Nintedanib) และ ยาเพอร์เฟนิโดน (Pirfenidone)
ปัจจุบันมีงานวิจัยนำมาใช้ในภาวะพังผืดปอดหลังหายจากโรคโควิด-19 ออกฤทธิ์ต้านการเกิดพังผืด ยาทั้งสองชนิดนี้ต้องระวังการใช้ในผู้ที่ตับมีปัญหาและอาจเพิ่มโอกาสเกิดเลือดออกในผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด ยา Nintedanib ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่แพ้ถั่วลิสงหรือถั่วเหลือง ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ myocardial infarction ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือมีอาการของ unstable angina ภายในระยะเวลา 1 เดือน ยา Pirfenidone ห้ามใช้ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย หรือผู้ที่ต้องล้างไต [1,3]
ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นยาอีกกลุ่มที่พบการใช้ เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) พบงานวิจัยในหนูทดลองว่าช่วยชะลอความเสี่ยงของการเกิดพังผืดปอดหลังหายจากโรคโควิด-19 มีเคสรายงานการใช้เพรดนิโซน (Tapering prednisone from 40 mg) ติดตามอาการ 1 เดือน ช่วยทำให้อาการทางคลินิกดีขึ้นเล็กน้อย (ลดการใช้ออกซิเจนที่บ้าน และผลภาพถ่ายรังสีปอดดีขึ้น) [4] ปัจจุบัน มีการศึกษาแบบ RCT ที่ใช้เพรดนิโซโลนขนาดต่ำ 20 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ (ยังไม่ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษา) [1] มีหลักฐานพบว่าการใช้ยาต้านการเกิดพังผืดปอดรวมถึงยาต้านอักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์อย่าง Prednisolone ภายในสัปดาห์แรกที่พบภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน อาจช่วยชะลอการเกิดภาวะพังผืดที่ปอดได้ [2]
สมุนไพรกับการรักษาพังพืดปอดหลังหายโควิด
นอกจากยาแผนปัจจุบันแล้ว ยังมีการศึกษาวิจัยสนับสนุนการใช้สมุนไพรในผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะในประเทศจีนที่มียาสมุนไพรหลากหลายตำรับ โดยใช้ร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันพบว่าให้ผลการรักษาที่ดี โดยอาศัยฤทธิ์ต้านไวรัส ต้านอักเสบ เป็นหลัก สำหรับตำรับยาสมุนไพรจีนที่มีข้อมูลงานวิจัยพบฤทธิ์ต้านการพังผืดในปอด คือ ตำรับที่มีชื่อว่า Jingyin Granule ซึ่งประกอบไปด้วยสมุนไพรจีน 9 ชนิด บางชนิดอาจไม่มีชื่อเรียกในไทย แต่ขอยกตัวอย่างสมุนไพรในตำรับนี้ ที่คนไทยอาจรู้จัก เช่น ดอกสายน้ำผึ้ง พลูคาว รากชะเอมเทศ โดยข้อมูลงานวิจัยพบสารออกฤทธิ์สำคัญในตำรับนี้ คือ arctigenin, quercetin, luteolin, kaempferol, rutin, gallic acid, chlorogenic acid ที่พบฤทธิ์ต้านการเกิดพังผืดปอด ผ่านกลไกต้านอักเสบ ซึ่งข้อมูลนี้อาจนำไปประยุกต์ใช้เลือกหาสมุนไพรไทย ที่พบสารสำคัญดังกล่าวได้ ในรูปแบบของอาหาร ในการดูแลสุขภาพปอด เช่น สาร quercetin พบได้ในหัวหอม ข่า ตะไคร้ กระชาย พริก สะเดา มะรุม, สาร kaempferol พบในกระชาย ผักหวานบ้าน ผักชี, สาร luteolin พบในพริก หัวหอม [5-6]
บัวบก
งานวิจัยอีกชิ้นที่น่าสนใจคือการใช้สมุนไพรเพื่อช่วยสมานแผลที่ปอดและชะลอการเกิดพังผืดที่ปอดหลังหายโควิด-19 (Slow Down the Progression of Pulmonary Fibrosis and Improve Post-COVID-19 Lung Healing) โดยใช้สารสกัดจากเปลือกสนฝรั่งเศส ชื่อการค้า “พิกโนจีนอล (Pycnogenol®)” ในขนาด 150 มิลลิกรัมต่อวัน (ครั้งละ 50 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง) ร่วมกับสารสกัดบัวบก ชื่อการค้า “เซนเทลลิคุม (Centellicum®)” 675 มิลลิกรัมต่อวัน (ครั้งละ 225 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง) เป็นเวลา 8 เดือน ร่วมกับยามาตรฐาน Pirfenidone 2,403 มิลลิกรัมต่อวัน (ครั้งละ 801 มิลลิกรัม แบ่งให้ 3 ครั้ง) เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ยา Pirfenidone เพียงอย่างเดียว ในอาสาสมัคร 19 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นพังผืดที่ปอดหลังหายโควิด-19 โดยมีความรุนแรงของอาการด้วยการใช้แบบประเมินสภาวะของผู้ป่วย (Karnofsky performance scale index) ในระดับคะแนน 60-80 คือสามารถทำกิจกรรมได้แต่ต้องให้ความพยายามเพิ่มขึ้น มีอาการหรืออาการแสดงของโรคบางอย่างจนถึงต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่สามารถดูแลตัวเองได้ จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากเปลือกสนฝรั่งเศสช่วยลดการบวมของเนื้อเยื่อปอดในขณะที่สารสกัดบัวบกช่วยปรับปรุงการสร้างคอลลาเจนและชะลอการเกิดแผลเป็นและพังผืดที่ปอด สารสกัดทั้งสองมีฤทธิ์คล้ายคลึงกัน ในเรื่องช่วยทำให้การหมุนเวียนเลือดดีขึ้น ซึ่งมีผลดีต่อการกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สของปอด เสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และสารสกัดบัวบกจะมีฤทธิ์โดดเด่นในการสมานแผล หลังติดตามครบ 8 เดือน กลุ่มที่ได้สารสกัดเปลือกสนฝรั่งเศสและสารสกัดบัวบกมีระดับสารอนุมูลอิสระลดลงอย่างชัดเจน (oxidative stress) อาการทางคลินิก เช่น เหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อ และการใช้ยาสเตียรอยด์ (Rescue medication) น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเริ่มเห็นผลตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังได้รับสารสกัดรอยโรคที่ปอดคงที่หรือดีขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเปลือกสนฝรั่งเศสและสารสกัดบัวบก ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่พบการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งกลุ่มที่ได้สารสกัดเปลือกสนฝรั่งเศสและสารสกัดบัวบก ยังไม่พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์ [7]
ขมิ้นชัน
ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรไทยอีกตัวหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยหลายชิ้นพบฤทธิ์ต้านพังผืดที่ปอดในโมเดลหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพังผืดปอดจากการติดเชื้อไวรัส หรือจากยา Bleomycin โดยสารออกฤทธิ์สำคัญคือ สารเคอร์คูมิน อาจได้ประโยชน์ในการนำมาใช้ลดการเกิดพังผืดปอดหลังหายจากโรคโควิด-19 โดยมีฤทธิ์โดดเด่นในด้านต้านการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน กลไกของสารเคอร์คูมินในการต้านพังผืดที่ปอด พบว่าช่วยลดการแสดงของโปรตีน TGF-β (potent pro-fibrogenic properties) เพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ cathepsins K และ cathepsins L ที่มีส่วนช่วยสลายคอลลาเจนในการสร้างพังผืดที่ปอด (matrix degradation) ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ชะลอการสร้างคอลลาเจนและลดการสะสมคอลลาเจนในเนื้อเยื่อปอดจากการอักเสบ รวมถึงช่วยลดการหลั่งสารสื่ออักเสบ (NF-kB, TNF-α, MMP-2, MMP-9 และ IFN-ɣ) และไซโตไคน์หลายชนิด (เช่น IL-1 และ IL-6) ที่นำไปสู่การเกิดพังผืดที่ปอด [8-9]
ในปี พ.ศ. 2560 รัฐบาลได้ประกาศสมุนไพร “Champion Products” Quick Win 4 ชนิด ได้แก่ บัวบก ขมิ้นชัน กระชายดำและไพลเพื่อพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเพราะทั้งบัวบกและขมิ้นชันเป็นสมุนไพรไทยที่ใช้มาอย่างยาวนานในมนุษย์ เป็นทั้งยาและอาหาร หาง่ายในเมืองไทย ราคาไม่แพง คนไทยนิยมใช้บัวบกเป็นเครื่องดื่มแก้ช้ำใน แก้ร้อนใน หรือรับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริกหรือผัดไทยเป็นประจำวันละ 5-10 ใบ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัวบกเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน ชนิดชง กินครั้งละ 2 – 4 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร ชนิดแคปซูล รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร การศึกษาทางคลินิกพบขนาดการใช้สารสกัดบัวบกวันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน ในผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอยทางสมองเล็กน้อย พบว่าปลอดภัย ผลข้างเคียงของบัวบกอาจมีผลลดความดันโลหิตในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะระวังการใช้ขนาดสูง หรือต่อเนื่องในรายที่มีความดันโลหิตต่ำอยู่แล้ว มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะบ่อย [10]
ขมิ้นชันในบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นยาบรรเทาอาการแน่น จุกเสียด ท้องอืดและท้องเฟ้อ รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัมถึง 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอนโดยมีรายงานขนาดการใช้สูงถึง 12 กรัมต่อวัน นาน 3 เดือน พบว่าปลอดภัย [11] ข้อห้ามใช้คือผู้ที่มีปัญหาท่อน้ำดีอุดตัน ข้อควรระวังคือนิ่วในถุงน้ำดี อาจปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เนื่องจากผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีบางรายรับประทานขมิ้นชันแล้วให้ผลดีเรื่องการย่อยอาหารขับลม กรณีตัดถุงน้ำดีแล้วรับประทานขมิ้นชันได้ ทั้งขมิ้นชันและบัวบก ควรระวังการใช้ในผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟารินเพราะอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก
สรุป
พังผืดในปอดหลังจากหายจากการติดเชื้อโควิด-19 (Post โควิด-19 pulmonary fibrosis) อาจพบได้ไม่บ่อย แต่เป็นภาวะที่หากเกิดขึ้นแล้วถือว่าส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างมาก ในภาวะที่ยังขาดแนวทางการรักษาที่ชัดเจน การมีหลักฐานงานวิจัยเบื้องต้นของสมุนไพรไทยอย่างบัวบก ที่โดดเด่นด้านการสมานแผล ขมิ้นชัน ที่มีฤทธิ์โดดเด่นด้านต้านอักเสบ อาจเป็นทางเลือกหนึ่งให้ผู้ป่วย ในแง่การใช้เชิงส่งเสริมสุขภาพ เช่น การใช้ในรูปแบบอาหาร เนื่องจากอย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนว่าหากใช้สารสกัดบัวบกเดี่ยวๆ หรือการใช้ขมิ้นชัน ซึ่งยังมีงานวิจัยในระดับเซลล์และหนูทดลอง ในผู้ป่วยพังผืดปอดจะให้ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีหรือไม่ ยังคงต้องมีการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติมในเรื่องของขนาดของสารสกัด และระยะเวลาในการใช้
เอกสารอ้างอิง
รับชุดตรวจ HIV ด้วยตนเอง ฟรี! กับแคร์แมทสิครับ
มาแล้ว บริการชุดตรวจเอชไอวี ด้วยตนเอง
เพียงเจาะปลายนิ้ว
รู้ผลภายใน 1 นาที
สนใจ สั่งจองได้ที่ 094-6297666
หมายเหตุ รับชุดตรวจ ฟรี! สำหรับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย/สาวประเภทสอง หรือผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี
ชุดตรวจ อินสติ (Insti) คืออะไร คุณสมบัติอย่างไร วิธีใช้อย่างไร?
คลิกที่นี่
ขั้นตอนการใช้ชุดตรวจ
การอ่านผล
มารับฟังเสียงสะท้อนจากองค์กรชุมชน เพื่อยุติการตีตราและเลือกปฏิบัติ ไม่ว่ากับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี คนข้ามเพศ คนที่มีความหลากหลายทางเพศ และพนักงานบริการ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงรัฐสวัสดิการ ระบบบริการสุขภาพ
และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้อย่างเท่าเทียม #ZeroDiscriminationDay #ZeroDiscrimination