ซิฟิลิส (Syphilis)
โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทรีโพนีมาพาลลิดัม (Treponema pallidum) เมื่อได้รับเชื้อจะกระจายไปตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดพยาธิสภาพได้เกือบทุกอวัยวะ
ติดต่อได้ 2 ทางคือ
2. ทางเพศสัมพันธ์ จากคู่นอนที่มีเชื้อถ่ายทอดให้อีกฝ่าย
วิถีป้องกันและปฏิบัติเกี่ยวกับซิฟิลิส
1.มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลซิฟิลิส คู่นอนอาจมีแผลที่ปาก ลิ้น อวัยวะเพศ ดังนั้นอาจติดเชื้อได้จากการจูบหรือทำ Oral sex
3.การทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆของคู่นอน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์
5.ไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาด้วยตัวเอง หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลในอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิส
เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลอัพเดทวันที่ 29 พ.ย.2563 โดยองค์การอนามัยโลก
ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals ) หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี สามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 ได้หรือไม่
การศึกษาเล็กๆจากหลายแหล่งให้ความสนใจว่ายาต้านรีโทรไวรัสจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 (SARS-CoV2) ได้หรือไม่ ปรากฏว่าผลการศึกษายังไม่สอดคล้องกันนัก
การศึกษาในช่วงที่ผ่านมานำเสนอว่าผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่ใช้ยา Tenofovir Disoproxil fumarate (TDF) มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อโควิดน้อย อย่างไรก็ตามมีการศึกษาอื่นแสดงให้เห็นว่ายาต้านสูตรที่มี TDF ผสมอยู่ได้แก่ยา PrEP ไม่สามารถป้องกันได้ และก็ไม่สามารถเยียวยาโรคจากการติดเชื้อโควิด การศึกษานี้กลับพบว่ากลุ่มผู้ที่รับประทานยา PrEP มีอุบัติการณ์ของโควิทมากว่ากลุ่มที่ไม่รับประทาน
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร บทความต่างๆที่เกี่ยวข้องยังไม่มีหลักฐานพอจะสรุปได้ว่ายาต้านรีโทรไวรัส (หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี) สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบรายบุคคลได้ หรือช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยจากเชื้อโควิด ซึ่งหลักฐานที่พบก็ยังไม่มีความแน่นอนเนื่องจากเป็นการศึกษากลุ่มเล็กและความหนาแน่นของเชื้อที่กลุ่มประชากรมีโอกาสได้สัมผัสก็ยังไม่แน่ชัด
ดังนั้นในขณะนี้ ผู้ที่กินยา PrEP หรือ ยาต้านไวรัสรักษาโรคเอดส์ ที่มีความหวังให้ช่วยป้องกันเชื้อโควิด จึงควรมีการป้องกันตัวเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้รับยาเหล่านี้
องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำอย่างไรกับการใช้ ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals) หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี ในการรักษาหรือป้องกัน Covid-19
องค์การอนามัยโลกยังไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านรีโทรไวรัสเพื่อรักษาหรือป้องกันเชื้อ Covid-19 นอกเหนือจากการทดลองทางคลินิกในขณะนี้ บทความและงานวิจัยที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับยาต้านรีโทรไวรัสต่างๆ ก็ยังเป็นสังเกตการณ์จากธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับการทดลองทางคลินิกไม่กี่แห่ง และไม่ปรากฏหลักฐานที่มีคุณภาพที่จะมาสนับสนุน
การศึกษาล่าสุดพบว่ายา LPV/r (โลพินาเวียร์+ริโทนาเวียร์) ไม่ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิดและไม่ช่วยให้ผลลัพธ์ทางคลินิกของอาการจากโรคที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยจากเชื้อโควิดดีขึ้น มีการศึกษาอีกสองแห่งยืนยันผลเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้ใช้ยา LPV/r เพื่อรักษาผู้ป่วยจากโควิดที่กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากยาไม่ได้ลดอัตราการตาย ระยะเวลาที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล และความเสี่ยงที่จะเกิดอาการลุกลามจนถึงขึ้นใช้เครื่องช่วยหายใจ อีกทั้งการศึกษาขององค์การอนามัยโลกเองจากหลายประเทศ ก็ให้ผลว่ายานี้ให้ประสิทธิภาพน้อยหรือแทบไม่มีประสิทธภาพต่อการควบคุมอัตราการตาย การลดภาวะพึ่งเครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาของผู้ป่วยจากเชื้อโควิดที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล
แหล่งอ้างอิง
https://www.who.int/news-room/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19-hiv-and-antiretrovirals
วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็น “วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ (the International Day against homophobia, transphobia and biphobia)” เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องมีวันนี้เพราะด้วยสถานการณ์ที่กลุ่ม LGBTIQ ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจยังคงมีให้เห็นจากข่าวและสื่อออนไลน์ต่างๆ อยู่เสมอ
การก้าวผ่านช่วยเวลาที่เจ็บปวดของกลุ่ม LGBTIQ ที่ต้องเจอกับการล้อเลียนเชิงเหยียดเพศ การถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่วัยเด็ก จนเป็นผู้ใหญ่มันไม่ง่ายนักที่จะผ่านไปได้ง่ายๆ สิ่งเหล่านี้ล้วยส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาอย่างมากมายทั้งในด้านสุขภาพ อารมณ์ความรู้สึก นำไปสู่พฤติกรรมที่แสดงออกที่ส่งผลในการเข้าสังคม กลายเป็นปมปัญหาในใจที่ยากต่อการขจัดไปให้หมดสิ้น การพยายามหาทางออกด้วยตนเองกลายเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องกระทำเพราะไม่มีใครคอยสนับสนุนพวกเขา ซึ่งหลายครั้งไม่มีอะไรมายืนยันว่าจะถูกต้องและได้ผลจริง เพราะแต่ละคนมีความเปราะบางที่แตกต่างกันไป
แต่สิ่งที่น่ากังวลใจมากกว่าปัญหาภายในจิตใจคือการยอมรับจากสังคมวงกว้าง การกำหนดขอบเขตในสิ่งที่พวกเขาเป็นได้และยอมรับให้เขาเป็นโดยปราศจากการคำนึงในเรื่องศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน รวมถึงการล้อเลียนเชิงเหยียดเพศและการถูกทำร้ายร่างกายจึงยังคงพบเห็นได้อยู่เสมอ กลายเป็นเรื่องธรรมกาสามัญสร้างตราบาปฝังอยู่ในใจ
องค์กรแคร์แมท เชียงใหม่ ขอร่วมเป็นกระบอกเสียงหนึ่งในการสร้างควาตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและยอมรับการมีตัวตนของ LGBTIQ อย่างที่พวกเขาควรจะเป็น สนับสนุนให้กลุ่ม LGBTIQ ได้ก้าวข้ามและแสดงศักยภาพที่ตนเองมีเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่อย่างสวยงาม เกิดการยอมรับในความเท่าเทียมและใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างปกติสุขในฐานะเพื่อนมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับคนอื่นในสังคม
เป็นที่รู้กันว่าผู้ติดเชื้อ HIV ในปัจจุบัน สามารถรับยาต้านไวรัส จนมีอาการดี สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยเป็นโรคเอดส์ แต่กระนั้นก็ต้องรับประทานยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต ไม่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเลยจะดีกว่าไหม? แล้วเรารู้หรือไม่ว่ามีสิ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราติดเชื้อ HIV คือ….?
คำตอบคือ “งดการมีเพศสัมพันธ์” … อ้าว ถ้างดไม่ได้ล่ะ ก็ต้องใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
“โอ้ยยย มีเพศสัมพันธ์บ่อยมาก เปลี่ยนคู่ขาเป็นว่าเล่น”
“เคยติดเชื้อหนองในบ้าง ซิฟิลิสบ้าง แผลริมอ่อนบ้าง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า”
“รับงานXXX ในและนอกสถานที่ รับงานเป็นหลักแหล่ง ไม่เป็นหลักแหล่ง ไม่ว่าจะที่ผับบาร์ หรือตามเสาไฟถนน”
“คิดว่าตัวเองไม่เสี่ยง แต่อยากลองป้องกันดู ไม่แน่ใจว่าจะพลาดเมื่อไหร่”
“แฟนติดเชื้อ HIV แล้ว รักเขามาก แต่เรายังไม่ติดและมีเพศสัมพันธ์กัน”
“ไม่ชอบใช้ถุงยาอนามัย ไม่ฟิน ไม่สนุก ไม่รู้สึกเสียว ใช้ไม่สะดวก หาไม่ได้ ณ เวลานั้น คู่ไม่ยอมใช้ บลาๆๆๆ”
เดี๋ยวค่ะ ใจเย็น เรามีอีก 1 ทางเลือกสำหรับคนที่ไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง หรือเข้าข่ายที่กล่าวมาข้างต้น สามารถรับประทานยาชนิดหนึ่งซึ่งช่วยได้ นั่นคือ ยา เพร็พ (PrEP)
PrEP ย่อมาจาก Pre Exposure Prophylaxis คือยาป้องกันไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีในคนที่เสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อเอชไอวี (ก่อนมีเซ็กส์) ย้ำว่า ก่อนมีเซ็กส์ ถ้าหลังมีเซ็กส์แล้วกินยาภายใน 72 ชั่วโมง นั้นเรียกว่ายา PEP (Po
st exposure Prophylaxis) นะจ๊ะ
มีคนบอกว่า กินเพร็พก็เหมือนกินยาคุมกำเนิด คือกินเพร็พกันไว้ไม่ให้ติดเชื้อ HIV เหมือนกินยาคุมกันไว้ไม่ให้ท้อง ส่วนยา PEP เหมือนกินยาคุมฉุกเฉิน กินหลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว แต่เหนื่อยไหม ต้องหวาดระแวง ต้องรีบไปหายามากินให้ทันภายใน 72 ชั่วโมง และทั้ง PEP กับยาคุมฉุกเฉินก็มีประสิทธิภาพไม่ถึง 100% ซึ่งถ้าเรากินยาก่อนมีเซ็กส์เพื่อป้องกันไว้จะได้ผลป้องกันดีกว่าที่เรามากินทีหลังมีเซ็กส์แล้ว เหมือนเราเอากระสอบมากั้นไม่ให้น้ำท่วมบ้านเรา ย่อมดีกว่าปล่อยให้น้ำเข้าไปแล้ววิดออกจนเหนื่อย จริงไหม????
เพร็พป้องกันได้แค่ไหน?
คนที่กินยาสม่ำเสมอ สามารถป้องกันได้ 92% งานวิจัยและรายละเอียดที่ลิ้งค์นี้ค่ะ
http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000150/sti/060661/1.%20PrEP_TG_BMA_06062018%20KT_PP%20marked.pdf
หลายคนอาจยังสับสน ว่าศูนย์สุขภาพแคร์แมทของเรามีบริการยาอะไร PrEP หรือ PEP ซี่งที่ผ่านมา มีคนมาขอ PEP เยอะพอสมควร เป็นสิ่งดีที่เรายังตระหนักถึงการป้องกันอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดความเสี่ยงขึ้น แต่จะดีกว่าไหมที่เราเลือกที่จะป้องกันไว้ก่อนเลย สิ่งที่เราเรียกว่า”ความเสี่ยง” ก็แทบจะไม่มี ขอเรียนให้ทราบว่า ณ ตอนนี้ เรามีเฉพาะยาเพร็พ (PrEP) ให้อย่างเดียว เรามาเน้น “ป้องกัน” กันแบบสบายๆ แบบเพร็พ ดีกว่า ป้องกัน กึ่งแก้ไข แบบPEP กันเถิดหนา
อย่างไรก็ตาม เราต้องขอย้ำอีกอย่างว่า PrEP และ PEP ป้องกันได้แค่ HIV แต่ไม่สามารถป้องกันโรคอื่นจากเพศสัมพันธ์ได้ เช่น ซิฟิลิส หนองใน หูด เริม แผลริมอ่อน ดังนั้น การป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การใช้ถุงยางอนามัย ร่วมกับการกิน PrEP ด้วยทุกครั้งที่มีเซ็กส์
พี่ๆน้องๆ ท่านใดสนใจรับเพร็พ ติดต่อเราทีมแคร์แมทได้ สามารถสอบถามก่อนทางเพจของเฟสบุ๊คได้เลยค่ะ หรือพร้อมตรวจเลือด เดินเข้าคลินิกเราได้เลย เรามียาเพร็พ ฟรี เพียงแต่เรามีนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน กินยาได้นานเท่าที่คิดว่าหมดความเสี่ยงแล้ว
องค์กรแคร์แมทมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกจากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ให้เป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่ให้บริการยา PrEP โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดแก่กลุ่มเป้าหมาย ขอบคุณค่ะ/ครับ
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวัน VCT Day เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักให้ประชาชนทุกคนรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของการตรวจหากาติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสามารถเข้ารับบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีฟรี ปีละ 2 ครั้ง ทุกสิทธิการรักษา โดยขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ให้โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัด ตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ พัฒนาการการให้บริการตรวจเลือดให้รวดเร็วขึ้น สามารถแจ้งผลตรวจให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ไปรับบริการ (Same day result) โดยยื่นบัตรประชาชนที่ห้องทำบัตร หรือติดต่อที่ห้องให้การปรึกษาเพื่อแจ้งความประสงค์แก่เจ้าหน้าที่และจะได้รับการปรึกษา ประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ข้อมูลขั้นตอนในการตรวจเลือด และรับฟังผลเลือดภายในวันที่ตรวจ และหากพบว่าเกิดเชื้อเอชไอวีจะได้รับการเจาะเลือดหาระดับซีดีโฟร์และพบแพทย์เพื่อเข้ากระบวนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อในด้านสุขภาพและชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่ 2527 เป็นต้นมา โดยยังมีการตรวจพบผู้มีเชื้อรายใหม่ ปีละ 6,139 ราย ทำให้มีผู้มีเชื้อเอชไอวี/เอดส์ สะสมจำนวนทั้งสิ้น 433,778 ราย (พ.ศ.2559) ในส่วนอัตราความชุกของเอชไอวีส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ร้อยละ 9.2 และพนักงานบริการชายร้อยละ 11.9 ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยากมีลักษณะเฉพาะเนื่องด้วยถูกมองว่ามีพฤติกรรมทางเพศที่แปลกและแตกต่างจากเพศสภาพของคนส่วนใหญ่ในสังคม และในปัจจุบันประเทศไทยมีแผนและความมุ่งมั่นในการยุติปัญหาเอดส์ภายในปี 2573 ด้วยชุดบริการ RRTTR (Reach Recruit Test Treat and Retrain) โดยเน้นให้บริการกับกลุ่มประชากรหลักที่มีพฤติกรรมและความเสี่ยงสูง
ในปี 2558 ได้มีโครงการนำร่องเรื่องการตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยชุมชนซึ่งเป็นหนึ่งในบริการของศูนย์สุขภาพชุมชนภายใต้โครงการ LINKAGES โดยศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยและองค์กร FHI360 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) มีพื้นที่การทำงาน ใน 4 จังหวัด (กรุงเทพ สงขลา ชลบุรีและเชียงใหม่) ผ่านการดำเนินงานขององค์กรชุมชน 5 องค์กร ศูนย์สุขภาพชุมชนมีบริการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือด และตรวจเลือดโดยสมัครใจแบบรู้ผลในวันเดียว (Same Day Result; SDR) รวมถึงการส่งต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยทำงานร่วมกับสถานบริการด้านสุขภาพของรัฐและเอกชนในพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินงานทั้งประเทศพบว่าศูนย์สุขภาพชุมชนสามารถตรวจเลือดได้ร้อยะ 42.4 ของการตรวจเลือดทั้งประเทศ และสามารถวินิจฉัยผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้ร้อยละ 31.4 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ของประเทศ
ศูนย์สุขภาพแคร์แมท เป็นหน่วยบริการที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานขององค์กรแคร์แมท เชียงใหม่ องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ไม่แสวงหาผลกำไร ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2546 ศูนย์สุขภาพแคร์แมทก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ภายใต้แนวคิด “ตรวจเร็ว รู้เร็ว รักษาเร็ว” (Test and Treat Model) ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (Man who have sex with man-MSM) และสาวประเภทสอง (Transgender-TG) รวมถึงพนักงานบริการชาย (Male Sex Worker) โดยมีบริการให้คำปรึกษาเพื่อประเมินพฤติกรรมเสี่ยง การตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และเชื้อซิฟิลิส (Syphilis) ด้วยความสมัครใจ การประสานส่งต่อผู้มีผลเลือดบวกเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) ร่วมกับสถานพยาบาลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งการติดตามดูแลสนับสนุนเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคงสถานะผลเลือดลบและการจัดการชีวิตหลังการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราให้บริการอะไรบ้าง?
เทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ในประเทศไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นของปีใหม่แบบไทย คำว่าสงกรานต์มาจากคำในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่าเส้นทางโหราศาสตร์ โดยเป็นเทศกาลพุทธแบบดั้งเดิมและมีการเฉลิมฉลองทุกปีในระหว่างวันที่ 13 ถึง 16 เมษายนเทศกาลสงกรานต์เป็นที่รู้จักกันในชื่อเทศกาลเล่นน้ำ เป็นพิธีการเฉลิมฉลองโดยใช้น้ำเพื่อชำระล้างสิ่งไม่ดีจากปีเก่าให้หมดไป คนที่เฉลิมฉลองสงกรานต์มีส่วนร่วมในการรดน้ำดำหัวแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการล้างเคราะห์และล้างบาปให้ออกไปจากชีวิต บางคนก็เพิ่มสมุนไพรลงไปในน้ำที่ใช้ทำพิธีเช่นกั
เนื่องจากเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดของปี การเฉลิมฉลองด้วยน้ำจึงมีความเกี่ยวข้องกับเทศกาลในหลายระดับ อย่างไรก็ตามสงกรานต์ไม่ได้มีการเฉลิมฉลองแบบดั้งเดิมเสมอไป ในเมืองใหญ่ ผู้คนจะออกมาตามถนน ตามเมืองต่าง ๆ เช่นกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือจังหวัดท่องเที่ยวในแต่ละภาคจะเห็นปาร์ตี้ตามท้องถนนและการต่อสู้ด้วยน้ำ ในช่วงวันหยุดราชการสำนักงานและธนาคารจะปิดทำการเป็นระยะเวลาสามวัน หลายคนใช้เวลานี้เป็นโอกาสที่จะไปเยี่ยมครอบครัวของพวกเขา นอกเหนือจากพิธีกรรมทางน้ำและงานปาร์ตี้ริมถนนแล้วยังมีกิจกรรมสำคัญอื่นๆ ที่คนไทยมีส่วนร่วมในช่วงสัปดาห์นี้ หลายคนจะใช้เวลานี้ไปวัด บางคนอาจมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดบ้านประจำปีของของพวกเขา
ในวันที่สองของวันสงกรานต์ หลายครอบครัวจะตื่นแต่เช้าและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนาแบบดั้งเดิม พวกเขาจะถวายทานแก่พระสงฆ์ พวกเขายังมีส่วนร่วมในพิธีกรรมที่เรียกว่า ‘การสรงน้ำพระพุทธรูป’ ในระหว่างพิธีกรรมนี้สาวกผู้ศรัทธาจะรดน้ำลงบนพระพุทธรูปในบ้านของพวกเขา และที่วัดในท้องถิ่นของพวกเขา ในส่วนงานรื่นเริงที่มีชื่อเสียงที่สุดในเชียงใหม่อยู่ที่รอบๆคูเมือง และถนนห้วยแก้ว เป็นงานปาร์ตี้ขนาดใหญ่ที่คนหลายพันคนได้ต่อสู้กันด้วยปืนฉีดน้ำ ลูกโป่ง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่พวกเขาสามารถหาได้ ถนนยังแออัดไปด้วยผู้ขาย/ผู้หญิงปืนฉีดน้ำ ของเล่น อาหาร และเครื่องดื่มและของมึนเมาและอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยได้ในที่สุด
ศูนย์สุขภาพแคร์แมทให้บริการให้การปรึกษาและตรวจหาเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำหรับกลุ่มชายรักชาย (MSM) สาวประเภทสอง (TG) รวมถึงพนักงานบริการชาย (MSW) แบบรู้ผลในวันเดียว สนับสนุนอุปกรณ์การป้องกันถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น รวมถึงบริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อฯ (PrEP) โดยเปิดให้บริการทุกวันอังคาร ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 13.00 – 19.00 น. และวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น. สามารถติดต่อเราได้ที่ Tel : 052-005458 หรือwww.caremat.org
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://publicholidays.asia/thailand/th/songkran-festival
การพัฒนากระบวนการเพื่อเข้าถึงกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงโดยใช้รูปแบบของเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อสนับสนุนการทำงานยุติปัญหาเอดส์ของประเทศไทยขององค์กรแคร์แมท ดำเนินการโดยกระบวนการเสริมศักยภาพผู้รับบริการที่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีให้มีความรู้และทักษะในการให้ข้อมูลเรื่องเอชไอวีกับกลุ่มเพื่อนที่ยังมีพฤติกรรมเสี่ยง การสร้างแรงจูงใจในการนำกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพ และการประสานภาคีเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการเพื่อให้เกิดการทำงานที่ยั่งยืน เป็นกระบวนการสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายเพื่อยุติปัญญาเอชไอวี/เอดส์ได้อย่างแท้จริง
จากข้อมูลสถานการณ์การระบาดของเอชไอวีในประเทศไทยโดยการนำเสนอของศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข (TUC) ในเวทีเสวนาเรื่องการจัดบริการสุขภาพโดยชุมชน เมื่อวันที่11 มกราคม 2560 ที่ผ่านมาข้อมูลการคาดประมาณการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรต่าง ๆ ยังพบว่ากลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง รวมถึงพนักงานบริการชายยังมีจำนวนที่สูงกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 49 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมดจำนวน 6,139 ราย/ปี (Summary Result 2010-2030 Projection for HIV/AIDS in Thailand by Thailand Working Group on HIV/AIDS Projection) ซึ่งก่อให้เกิดส่งผลกระทบในหลายด้านทั้งในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพ การรับและถ่ายทอดเชื้อ การใช้ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัย ประเด็นสุดท้ายคือผลกระทบในเรื่องการของตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศของคนทั่วไป หน่วยงานด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้ร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในรูปแบบของชุดบริการ RRTTPR ซึ่งได้แก่
นอกจากนี้ยังรวมถึงงานด้าน Prevention การส่งเสริมการป้องกันไม่ว่าผู้รับบริการจะมีผลเลือดจะเป็นลบหรือบวกด้วยการแจกอุปกรณ์การป้องกันซึ่งได้แก่ถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นสำหรับกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย ซึ่งแนวทางนี้ถือว่าเป็นแนวทางการทำงานหลักของหน่วยงานผู้ให้บริการสุขภาพทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ในประเทศไทย
องค์กรแคร์แมทเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ไม่แสวงผลกำไร มีการดำเนินงานด้านการดูแลและสนับสนับสนุนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และในปัจจุบันได้เปิดบริการศูนย์สุขภาพชุมชนแคร์แมทเพื่อให้บริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจโดยในปี พ.ศ. 2558 – 2560 มีผู้มาใช้บริการรวมทั้งสิ้น 4,874 ราย แยกเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย 3,794ราย และสาวประเภทสอง 1,080 ราย มีการตรวจพบสถานะการมีเชื้อเอชไอวี จำนวน 407 ราย และมีสถานะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 110 ราย (M&E: รายงานสรุปข้อมูลผู้มาใช้บริการศูนย์สุขภาพแคร์แมท,ตุลาคม 2560) โดยทั้งหมดได้มีการประสานต่อกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตามสิทธิของผู้รับบริการ
แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ากลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่ถูกประเมินว่าเป็นผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง และในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาของศูนย์ฯ ได้สะท้อนว่าการตัดสินใจเพื่อตรวจเลือดของกลุ่มเป้าหมายยังมีความไม่มั่นใจในคุณภาพและบริการในเรื่องของผลแลปการอ่านค่าผลเลือดที่ออกมาของศูนย์สุขภาพ รวมถึงเชื่อมประสานการทำงานกับหน่วยงานผู้ดูแลและให้บริการด้านสุขภาพในแต่ละพื้นที่ขององค์กรแคร์แมทยังมีน้อยเมื่อมี
การประสานต่อส่อกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่กระบวนการรักษาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลและสนับสนุนจึงทำให้ขาดการติดตามเรื่องการดูแลสุขภาพที่ต่อเนื่องของกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ องค์กรแคร์แมทจึงได้ดำเนินการประสานความร่วมมือการทำงานกับหน่วยงานผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (รพ./รพสต.) หน่วยงานสถานศึกษา ผู้นำชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาด้านเอชไอวี/เอดส์และสุขภาพแบบองค์รวม โดยการจัดประชุมสร้างความเข้าใจและกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกันในระดับพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการทำงานเพื่อยุติปัญหาเอดส์ซึ่งถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพของคนทุกคนในชุมชน
การดำเนินการเพื่อยุติปัญหาเอดส์ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศที่จะนำไปสู่ความสำเร็จประเด็นสำคัญคือต้องให้กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลที่รอบด้านสามารถวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของตัวเอง มีทางเลือกในการใช้บริการด้านสุขภาพโดยคำนึงเรื่องพื้นที่ปลอดภัย ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติ ตลอดจนมีคุณภาพมาตรฐานที่เท่าเทียมกันกับระบบบริการปกติของภาครัฐ มีเพื่อนที่คอยสนับสนุนและติดตามดูแลสร้างความตระหนักในการป้องกันตัวเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนจากภาคส่วนต่างๆ ในการร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อยู่บนพื้นฐานในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของคนไทยที่เท่าเทียมกันทุกคน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD (Sexually Transmitted Disease) หมายถึง โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีดังนี้:
เป็นไวรัสสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์
เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคซึ่งไม่ใช่หนองในแท้ (Gonococcal Urethritis) สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมที่พบบ่อยที่สุดคือ Chlamydia trachomatis คนไทยจะรู้จักกันในชื่อ “ฝีมะม่วง” ซึ่งหมายถึงต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอักเสบจากการติดเชื้อ เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนที่ขาหนีบและปวด หรือที่ชาวบ้านเรียก “ไข่ดันบวม” ก็เกิดจากเชื้อ Chlamydia trachomatis นี่เอง
โรคติดเชื้อทริโคโมนาสเป็นโรคติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่ง ปกติแล้วมักอาศัยอยู่ในช่องคลอด แต่ก็พบเชื้อนี้อาศัยอยู่ในท่อปัสสาวะ (องคชาติ) ของผู้ชายเช่นกัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการใดๆ แต่บางคนอาจตกขาวสีเหลือง มีลักษณะเป็นฟอง มีอาการคันที่อวัยวะเพศหรือเจ็บบริเวณแคมของช่องคลอด ส่วนผู้ชายมักจะไม่มีอาการ แต่อาจทําให้ปัสสาวะขัดได้ โรคติดเชื้อทริโคโมนาสติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธุ์ทางช่องคลอดกับผู้ที่เป็นโรคโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoea เชื้อนี้จะทำให้เกิดโรคเฉพาะเยื่อเมือก mucous membrance เช่น
HPV เป็นเชื้อไวรัสที่พบบ่อย คนส่วนใหญ่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้ โดยเฉลี่ยไวรัสนี้มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ และมากกว่า 30 สายพันธุ์เกิดบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
บางคนที่ติดเชื้อ HPV โดยไม่มีอาการแสดงออกของโรคและหายไปเอง แสดงว่าเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงมาก โดยทั่วไป HPV จะติดต่อกันโดยการสัมผัสผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ บริเวณหูด หรือส่วนที่ติดเชื้อไวรัส เป็นส่วนน้อยที่ติดต่อกันจากการร่วมเพศทางปาก ซึ่งยังไม่มีผลยืนยันว่าการสัมผัสของนิ้วมือหรือวัตถุที่ติดเชื้อไวรัสจะสามารถส่งต่อเชื้อได้ ส่วนยารักษาในปัจจุบันยังไม่มีตัวยาที่ใช้ฆ่าเชื้อไวรัส HPV ได้ แต่ยาสามารถรักษาอาการของหูดได้
เริม คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มาจากเชื้อ herpes simplex virus type 1 (HSV-1) หรือ type 2 (HSV-2) ที่พบเห็นส่วนมากมักจะเป็นชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของการติดเชื้อเริมที่ผิวหนัง ริมฝีปาก และอวัยวะเพศ อาจลามติดเชื้อไปที่ส่วนอื่นของร่างกายและทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ลักษณะผื่นของโรค herpes จะเหมือนกันไม่ว่าเกิดที่ไหน จะเป็นตุ่มน้ำเล็กๆ บนผิวหนังที่อักเสบสีแดง
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายและอยู่ในชั้นของผิวหนัง เชื้อจะแบ่งตัวทำให้ผิวหนังเกิดอาการบวมเป็นตุ่มน้ำและเกิดการอักเสบ หลังจากนั้นเชื้อจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ปมประสาท ganglia เป็นเวลานานโดยที่ไม่มีการแบ่งตัว แต่หากปัจจัยแวดล้อมเหมาะสมเชื้อก็อาจเกิดการแบ่งตัวได้ และทำให้เกิดอาการเป็นซ้ำ
ผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปากจะมีอัตราการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 20-40 สำหรับเริมที่อวัยวะเพศจะมีอัตราการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 80
ปัจจัยที่กระตุ้นยังไม่แน่ชัด เชื่อว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับแสงแดด ไข้ การมีประจำเดือน ความเครียด การเป็นซ้ำจะมีอาการน้อยกว่า และหายเร็วกว่าการเป็นครั้งแรก
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Treponema pallidum เชื้อนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือกเช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา หรือทางผิวหนังที่มีแผล เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเข้ากระแสเลือดและไปจับตามอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดโรคตามอวัยวะ
โรคตับอักเสบบี เป็นการอักเสบของตับซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยเชื้อไวรัสจะบุกรุกเข้าสู่เซลล์ตับและก่อให้เกิดการอักเสบขึ้น ในบางกรณีเชื้ออาจจะอยู่นิ่งเป็นปีๆ ซึ่งผู้ที่มีเชื้ออาจไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกาย เชื้อนี้สามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วในเซลล์ตับ ส่งผลก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายตับ
ไวรัสตับอักเสบซี แพร่กระจายมากขึ้น เนื่องจากพบได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยประมาณประมาณ 1-2% ของคนที่มาบริจาคเลือด หลังเป็นตับอักเสบแล้วก็มีแนวโน้มเกิดเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
20% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังชนิดซี จะเป็นตับแข็งภายใน 10-20 ปี บางส่วนกลายเป็นมะเร็งตับ
แหล่งข้อมูล: www.adamslove.org
ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิด ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในขณะร่วมเพศ มีทั้งแบบสำหรับผู้ชายและผู้หญิง
ส่วนใหญ่ฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายใช้โดยสวมครอบอวัยวะเพศชายที่กำลังแข็งตัวในขณะร่วมเพศ เมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิแล้ว น้ำอสุจิจะถูกเก็บไว้ในถุงยางอนามัย ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่น ซิฟิลิส หนองใน และ เอดส์ได้อีกด้วย
ถุงยางอนามัย ทำมาจากอะไร?
ถุงยางอนามัยในสมัยก่อนเคยทำจากหนังธรรมชาติ เช่นหนังแกะและยางพารา แต่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะทำมาจากลาเท็กซ์หรือโพลียูรีเทน
ลาเท็กซ์ คือวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการทำถุงยางอนามัย เพราะเชื้อไวรัสไม่สามารถผ่านทะลุไปได้ และราคาถูก หาซื้อง่าย ทว่ามีข้อเสียคือน้ำมันอาจทำให้ถุงยางฉีกขาดได้ และหลายคนอาจเกิดอาการแพ้
โพลียูรีเทน คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้ลาเท็กซ์ ในท้องตลาดมีอยู่ยี่ห้อหนึ่งวางขาย ทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง
เจลหล่อลื่น
เจลหล่อลื่นเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในถุงยางอนามัยที่มีความแตกต่างหลากหลาย เพราะบางครั้งถุงยางอนามัยก็ไม่มีเจลหล่อลื่น หรือบางครั้งก็ใช้ซิลิโคนเคลือบแทน บางครั้งอาจเป็นถุงยางอนามัยที่ใช้น้ำเป็นตัวหล่อลื่น วัตถุประสงค์ของสารหล่อลื่น คือทำให้ถุงยางมีความลื่นและง่ายต่อการใช้ อีกทั้งป้องกันไม่ให้ถุงยางฉีกขาดด้วย
ข้อควรรู้ก่อนออกศึก
ถุงยางอนามัย สามารถป้องกันการสัมผัสโดยตรงระหว่างองคชาติ ปาก ช่องคลอด หรือช่องทวารหนักได้ แต่หากใช้ไม่ถูกต้องถุงยางอนามัยจะใช้ไม่ได้ผลหรือไม่สามารถป้องกันเชื้อเอชไอวีได้เลย
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับถุงยางอนามัย
“ถุงยางอนามัย ใช้ไม่ได้ผลหรอก” จริงๆ แล้ว จากการศึกษาพบว่า 80% – 97% ถุงยางอนามัยสามารป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีได้ ถ้าใช้อย่างถูกต้องทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
“ถุงยางแตกตลอด!” จริงๆ แล้ว มีเพียง 2% เท่านั้น ที่ถุงยางอนามัยจะแตกได้หากใช้ถูกวิธี อย่าลืมว่าห้ามใช้น้ำมันกับถุงยางอนามัยชนิดลาเท็กซ์, ไม่สวมถุงยางอนามัยสองชั้น และไม่ใช้ถุงยางอนามัยที่หมดอายุ
“เชื้อเอชไอวีลอดผ่านถุงยางได้” จริงๆ แล้ว เชื้อเอชไอวีไม่สามารถลอดผ่านถุงยางอนามัยลาเท็กซ์หรือโพลียูรีเทนได้ แต่อย่าใช้ถุงยางอนามัยที่ทำจากหนังแกะ
เมื่อเราใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีแล้วจะรู้ว่ามันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพราะถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันการสัมผัสโดยตรงทางปาก ช่องคลอด และทวารหนัก นอกจากนี้ยังป้องกันองคชาติให้สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งด้วย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่เชื้อได้
แหล่งข้อมูล: www.adamslove.org/
PEP (Post -Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสที่ช่วยลดโอกาสในการสร้างไวรัสเอชไอวีในร่างกายหลังจากที่ร่างกายได้รับการสัมผัสเชื้อเอชไอวีมาจากหลายรูปแบบ อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรืออุบัติเหตุจากการโดนเข็มฉีดยาตำ เป็นต้น
ยาเป๊ป เป็นสูตรยาต้านไวรัสเอดส์ที่ประกอบไปด้วยตัวยา 2-3 ชนิด โดยจะเข้าไปช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมในเชื้อ และยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด และต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมงภายหลังจากที่ร่างกายได้รับการสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี เพราะการรับประทานหลังจากเวลาดังกล่าวจะทำให้ขาดประสิทธิภาพในการรักษา
ข้อสำคัญคือยาเป๊ปยังต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน และต้องทานยาต้านไวรัสเหมือนกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีประกอบกันไปอีก 2-3 ชนิด ทั้งนี้อาจมีผลข้างเคียงโดยเกิดอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย ซึ่งผลข้างเคียงอาจมีอาการรุนแรงในบางรายจนจำเป็นต้องหยุดยา อย่างไรก็ตามหากใช้แล้วเกิดผลข้างเคียงรุนแรงควรปรึกษาแพทย์
ขณะที่มีการวิจัยระบุว่าการทานยาเป๊ปนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีในบางรายที่ล้มเหลว ซึ่งความล้มเหลวนี้ เกิดจากการได้รับยาเป๊ปช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด หรือระดับของเชื้อไวรัสที่ได้รับมามีสูงมาก หรืออาจเป็นทั้งสองกรณีรวมกัน
อย่างไรก็ดีเรื่องของระยะเวลาและระดับของเชื้อไวรัสก็ขึ้นอยู่กับการให้ข้อมูลของผู้ป่วยเช่นเดียวกัน ยาเป็ปสามารถเข้าไปช่วยลดความไวในการสร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้การตรวจผลออกมาเป็นลบ หรือไม่พบเชื้อเอชไอวีในร่างกายนั่นเอง โดยแพทย์จะให้คำแนะนำแก่คนไข้ที่ได้รับยา และให้มาทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้งเมื่อทานครบสูตรแล้ว และหลังจากนั้นอีก 3-6 เดือนจึงค่อยมาตรวจอีกครั้ง
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การรับประทานยา เป็ป จะมีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อิดโรย คลื่นไส้ และอาเจียน ดังนั้นคนไข้จึงควรทำความเข้าใจว่าหากผลข้างเคียงไม่รุนแรงมากก็ควรรับประทานยาให้ครบเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการรับสรุปที่แน่นอนว่าการทานเป๊ปจะให้ผลได้ 100% หากไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้ว ดังนั้น การป้องกันด้วยถุงยางอนามัยและเจลหล่อลื่นก็ยังเป็นวิธีที่ได้ผลดีกว่า
แหล่งข้อมูล: http://www.adamslove.org/