ซิฟิลิส (Syphilis)
โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทรีโพนีมาพาลลิดัม (Treponema pallidum) เมื่อได้รับเชื้อจะกระจายไปตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดพยาธิสภาพได้เกือบทุกอวัยวะ
ติดต่อได้ 2 ทางคือ
- จากมารดาสู่ทารก โดยมารดาที่มีเชื้อซิฟิลิสสามารถส่งเชื้อผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ ทำให้ทารกติดเชื้อตั้งแต่กำเนิด
2. ทางเพศสัมพันธ์ จากคู่นอนที่มีเชื้อถ่ายทอดให้อีกฝ่าย
วิถีป้องกันและปฏิบัติเกี่ยวกับซิฟิลิส
1.มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลซิฟิลิส คู่นอนอาจมีแผลที่ปาก ลิ้น อวัยวะเพศ ดังนั้นอาจติดเชื้อได้จากการจูบหรือทำ Oral sex
3.การทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆของคู่นอน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งซิฟิลิสไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือสวนล้างช่องคลอดทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
5.ไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาด้วยตัวเอง หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลในอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิส
เอกสารอ้างอิง
- https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=883
- หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “ซิฟิลิส (Syphilis)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 1044-1046.
- Siamhealth. “ซิฟิลิส Syphilis”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.siamhealth.net. [05 มี.ค. 2017].
- หาหมอดอทคอม. “ซิฟิลิส (Syphilis)”. (นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : haamor.com. [06 มี.ค. 2017].
- ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. “ซิฟิลิส Syphilis”. (โดยคณะอนุกรรมการภาคประชาชนและสังคม พ.ศ.2556-2558). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rtcog.or.th. [06 มี.ค. 2017].