อัพเดท สถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV
ข้อมูลจากการสำรวจโดย NHES ชี้ให้เห็นว่า ทัศนคติการตีตรามีแนวโน้มลดลง โดยรวมแล้วผู้คนมีความเข้าใจที่จะอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV มากขึ้น แต่สังเกตได้ว่า คนก็ยังกลัวการตรวจเลือด เพราะกังวลว่าคนรอบข้างจะรู้ ถ้าตนเองติดเชื้อ ถึงเกือบ 80% ซึ่งนี่เป็นประเด็นใหญ่ที่สุด และเป็นความท้าทายใหญ่ที่สุด ที่ทางผู้ให้บริการ หรือองค์กรที่รับผิดชอบการยุติปัญหาเอดส์ จะทำอย่างไร ให้ผู้คนตระหนัก และคลายกังวลในการเข้าถึงบริการเพื่อให้รู้สถานะผลเลือดของตัวเอง
การตีตราและเลือกปฏิบัติจากบุคลากรโรงพยาบาล 48 แห่งในประเทศไทย มีแนวโน้มลดลงใน 3 ปีที่ได้สำรวจมา พบว่าบุคลากรโรงพยาบาลยังมีทัศนคติ ตีตราและเลือกปฏิบัติผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV สูงมาก จาก 83% ในปี 2018 และลงลงอย่างมีนัยสำคัญ เหลือ 68% ในปี 2020 แต่ยังอยู่ในระดับที่สุง ซึ่งก็เป็นความท้าทายอีกประการที่จะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้รับบริการไว้วางใจและเข้าสู่กระบวนการป้องกันรักษาเอชไอวี/เอดส์ ได้มากขึ้น
ส่วนผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV นั้น พบว่าถูกตีตราและเลือกปฏิบัติจากบุคลากรในโรงพยาบาล ในระดับที่น้อยลง โดยเฉพาะประเด็นการถูกเปิดเผยสถานภาพ ดังนั้นจึงเริ่มมั่นใจได้มากขึ้นว่า ทางโรงพยาบาลมีมาตรการ การเก็บรักษาความลับของผู้รับบริการ ในขณะที่การตัดสินใจไม่ไปรับบริการ ซึ่งเป็นปมการตีตราตนเองของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV เอง ก็แทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า
ทางมูลนิธิแคร์แมท หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลสำรวจนี้จะทำให้ผู้อ่าน ได้มีความมั่นใจ คลายกังวล และมีความกล้าที่จะตรวจเลือด ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ยุติเอดส์ของชาติ มาช่วยยุติปัญหาร่วมกัน ในขณะเดียวกัน บุคลากรในโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพก็มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ต่อการมอง การปฏิบัติตัวต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ทั้งนี้การรู้สถานะผลเลือด การเข้าสู่กระบวนการรักษา การคงสถานะผลเลือดลบ และการมีค่าไวรัสในเลือดในระดับที่ตรวจไม่พบสำหรับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV เป็นหัวใจสำคัญต่อการยุติปัญหาเอดส์ คุณ และเรา ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ มาร่วมมือกันเถอะ!
อ้างอิงจาก
นิอร อริโยทัย เครือข่ายลดการตีตราและเลือกปฏิบัติจากเอชไอวี, กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, เอกสารประกอบการประชุมการขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์จังเหวัดเชียงใหม่, 20-21 ต.ค.2565