ข้อมูลอัพเดทวันที่ 29 พ.ย.2563 โดยองค์การอนามัยโลก
ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals ) หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี สามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 ได้หรือไม่
การศึกษาเล็กๆจากหลายแหล่งให้ความสนใจว่ายาต้านรีโทรไวรัสจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 (SARS-CoV2) ได้หรือไม่ ปรากฏว่าผลการศึกษายังไม่สอดคล้องกันนัก
การศึกษาในช่วงที่ผ่านมานำเสนอว่าผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่ใช้ยา Tenofovir Disoproxil fumarate (TDF) มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อโควิดน้อย อย่างไรก็ตามมีการศึกษาอื่นแสดงให้เห็นว่ายาต้านสูตรที่มี TDF ผสมอยู่ได้แก่ยา PrEP ไม่สามารถป้องกันได้ และก็ไม่สามารถเยียวยาโรคจากการติดเชื้อโควิด การศึกษานี้กลับพบว่ากลุ่มผู้ที่รับประทานยา PrEP มีอุบัติการณ์ของโควิทมากว่ากลุ่มที่ไม่รับประทาน
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร บทความต่างๆที่เกี่ยวข้องยังไม่มีหลักฐานพอจะสรุปได้ว่ายาต้านรีโทรไวรัส (หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี) สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบรายบุคคลได้ หรือช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยจากเชื้อโควิด ซึ่งหลักฐานที่พบก็ยังไม่มีความแน่นอนเนื่องจากเป็นการศึกษากลุ่มเล็กและความหนาแน่นของเชื้อที่กลุ่มประชากรมีโอกาสได้สัมผัสก็ยังไม่แน่ชัด
ดังนั้นในขณะนี้ ผู้ที่กินยา PrEP หรือ ยาต้านไวรัสรักษาโรคเอดส์ ที่มีความหวังให้ช่วยป้องกันเชื้อโควิด จึงควรมีการป้องกันตัวเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้รับยาเหล่านี้
องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำอย่างไรกับการใช้ ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals) หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี ในการรักษาหรือป้องกัน Covid-19
องค์การอนามัยโลกยังไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านรีโทรไวรัสเพื่อรักษาหรือป้องกันเชื้อ Covid-19 นอกเหนือจากการทดลองทางคลินิกในขณะนี้ บทความและงานวิจัยที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับยาต้านรีโทรไวรัสต่างๆ ก็ยังเป็นสังเกตการณ์จากธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับการทดลองทางคลินิกไม่กี่แห่ง และไม่ปรากฏหลักฐานที่มีคุณภาพที่จะมาสนับสนุน
การศึกษาล่าสุดพบว่ายา LPV/r (โลพินาเวียร์+ริโทนาเวียร์) ไม่ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิดและไม่ช่วยให้ผลลัพธ์ทางคลินิกของอาการจากโรคที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยจากเชื้อโควิดดีขึ้น มีการศึกษาอีกสองแห่งยืนยันผลเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้ใช้ยา LPV/r เพื่อรักษาผู้ป่วยจากโควิดที่กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากยาไม่ได้ลดอัตราการตาย ระยะเวลาที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล และความเสี่ยงที่จะเกิดอาการลุกลามจนถึงขึ้นใช้เครื่องช่วยหายใจ อีกทั้งการศึกษาขององค์การอนามัยโลกเองจากหลายประเทศ ก็ให้ผลว่ายานี้ให้ประสิทธิภาพน้อยหรือแทบไม่มีประสิทธภาพต่อการควบคุมอัตราการตาย การลดภาวะพึ่งเครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาของผู้ป่วยจากเชื้อโควิดที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล
แหล่งอ้างอิง
https://www.who.int/news-room/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19-hiv-and-antiretrovirals