การพัฒนากระบวนการเพื่อเข้าถึงกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงโดยใช้รูปแบบของเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อสนับสนุนการทำงานยุติปัญหาเอดส์ของประเทศไทยขององค์กรแคร์แมท ดำเนินการโดยกระบวนการเสริมศักยภาพผู้รับบริการที่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีให้มีความรู้และทักษะในการให้ข้อมูลเรื่องเอชไอวีกับกลุ่มเพื่อนที่ยังมีพฤติกรรมเสี่ยง การสร้างแรงจูงใจในการนำกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพ และการประสานภาคีเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการเพื่อให้เกิดการทำงานที่ยั่งยืน เป็นกระบวนการสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายเพื่อยุติปัญญาเอชไอวี/เอดส์ได้อย่างแท้จริง
จากข้อมูลสถานการณ์การระบาดของเอชไอวีในประเทศไทยโดยการนำเสนอของศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข (TUC) ในเวทีเสวนาเรื่องการจัดบริการสุขภาพโดยชุมชน เมื่อวันที่11 มกราคม 2560 ที่ผ่านมาข้อมูลการคาดประมาณการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรต่าง ๆ ยังพบว่ากลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง รวมถึงพนักงานบริการชายยังมีจำนวนที่สูงกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 49 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมดจำนวน 6,139 ราย/ปี (Summary Result 2010-2030 Projection for HIV/AIDS in Thailand by Thailand Working Group on HIV/AIDS Projection) ซึ่งก่อให้เกิดส่งผลกระทบในหลายด้านทั้งในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพ การรับและถ่ายทอดเชื้อ การใช้ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัย ประเด็นสุดท้ายคือผลกระทบในเรื่องการของตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศของคนทั่วไป หน่วยงานด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้ร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในรูปแบบของชุดบริการ RRTTPR ซึ่งได้แก่
นอกจากนี้ยังรวมถึงงานด้าน Prevention การส่งเสริมการป้องกันไม่ว่าผู้รับบริการจะมีผลเลือดจะเป็นลบหรือบวกด้วยการแจกอุปกรณ์การป้องกันซึ่งได้แก่ถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นสำหรับกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย ซึ่งแนวทางนี้ถือว่าเป็นแนวทางการทำงานหลักของหน่วยงานผู้ให้บริการสุขภาพทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ในประเทศไทย
องค์กรแคร์แมทเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ไม่แสวงผลกำไร มีการดำเนินงานด้านการดูแลและสนับสนับสนุนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และในปัจจุบันได้เปิดบริการศูนย์สุขภาพชุมชนแคร์แมทเพื่อให้บริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจโดยในปี พ.ศ. 2558 – 2560 มีผู้มาใช้บริการรวมทั้งสิ้น 4,874 ราย แยกเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย 3,794ราย และสาวประเภทสอง 1,080 ราย มีการตรวจพบสถานะการมีเชื้อเอชไอวี จำนวน 407 ราย และมีสถานะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 110 ราย (M&E: รายงานสรุปข้อมูลผู้มาใช้บริการศูนย์สุขภาพแคร์แมท,ตุลาคม 2560) โดยทั้งหมดได้มีการประสานต่อกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตามสิทธิของผู้รับบริการ
แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ากลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่ถูกประเมินว่าเป็นผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง และในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาของศูนย์ฯ ได้สะท้อนว่าการตัดสินใจเพื่อตรวจเลือดของกลุ่มเป้าหมายยังมีความไม่มั่นใจในคุณภาพและบริการในเรื่องของผลแลปการอ่านค่าผลเลือดที่ออกมาของศูนย์สุขภาพ รวมถึงเชื่อมประสานการทำงานกับหน่วยงานผู้ดูแลและให้บริการด้านสุขภาพในแต่ละพื้นที่ขององค์กรแคร์แมทยังมีน้อยเมื่อมี
การประสานต่อส่อกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่กระบวนการรักษาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลและสนับสนุนจึงทำให้ขาดการติดตามเรื่องการดูแลสุขภาพที่ต่อเนื่องของกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ องค์กรแคร์แมทจึงได้ดำเนินการประสานความร่วมมือการทำงานกับหน่วยงานผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (รพ./รพสต.) หน่วยงานสถานศึกษา ผู้นำชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาด้านเอชไอวี/เอดส์และสุขภาพแบบองค์รวม โดยการจัดประชุมสร้างความเข้าใจและกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกันในระดับพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการทำงานเพื่อยุติปัญหาเอดส์ซึ่งถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพของคนทุกคนในชุมชน
การดำเนินการเพื่อยุติปัญหาเอดส์ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศที่จะนำไปสู่ความสำเร็จประเด็นสำคัญคือต้องให้กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลที่รอบด้านสามารถวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของตัวเอง มีทางเลือกในการใช้บริการด้านสุขภาพโดยคำนึงเรื่องพื้นที่ปลอดภัย ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติ ตลอดจนมีคุณภาพมาตรฐานที่เท่าเทียมกันกับระบบบริการปกติของภาครัฐ มีเพื่อนที่คอยสนับสนุนและติดตามดูแลสร้างความตระหนักในการป้องกันตัวเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนจากภาคส่วนต่างๆ ในการร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อยู่บนพื้นฐานในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของคนไทยที่เท่าเทียมกันทุกคน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD (Sexually Transmitted Disease) หมายถึง โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีดังนี้:
เป็นไวรัสสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์
เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคซึ่งไม่ใช่หนองในแท้ (Gonococcal Urethritis) สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมที่พบบ่อยที่สุดคือ Chlamydia trachomatis คนไทยจะรู้จักกันในชื่อ “ฝีมะม่วง” ซึ่งหมายถึงต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอักเสบจากการติดเชื้อ เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนที่ขาหนีบและปวด หรือที่ชาวบ้านเรียก “ไข่ดันบวม” ก็เกิดจากเชื้อ Chlamydia trachomatis นี่เอง
โรคติดเชื้อทริโคโมนาสเป็นโรคติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่ง ปกติแล้วมักอาศัยอยู่ในช่องคลอด แต่ก็พบเชื้อนี้อาศัยอยู่ในท่อปัสสาวะ (องคชาติ) ของผู้ชายเช่นกัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการใดๆ แต่บางคนอาจตกขาวสีเหลือง มีลักษณะเป็นฟอง มีอาการคันที่อวัยวะเพศหรือเจ็บบริเวณแคมของช่องคลอด ส่วนผู้ชายมักจะไม่มีอาการ แต่อาจทําให้ปัสสาวะขัดได้ โรคติดเชื้อทริโคโมนาสติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธุ์ทางช่องคลอดกับผู้ที่เป็นโรคโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoea เชื้อนี้จะทำให้เกิดโรคเฉพาะเยื่อเมือก mucous membrance เช่น
HPV เป็นเชื้อไวรัสที่พบบ่อย คนส่วนใหญ่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้ โดยเฉลี่ยไวรัสนี้มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ และมากกว่า 30 สายพันธุ์เกิดบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
บางคนที่ติดเชื้อ HPV โดยไม่มีอาการแสดงออกของโรคและหายไปเอง แสดงว่าเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงมาก โดยทั่วไป HPV จะติดต่อกันโดยการสัมผัสผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ บริเวณหูด หรือส่วนที่ติดเชื้อไวรัส เป็นส่วนน้อยที่ติดต่อกันจากการร่วมเพศทางปาก ซึ่งยังไม่มีผลยืนยันว่าการสัมผัสของนิ้วมือหรือวัตถุที่ติดเชื้อไวรัสจะสามารถส่งต่อเชื้อได้ ส่วนยารักษาในปัจจุบันยังไม่มีตัวยาที่ใช้ฆ่าเชื้อไวรัส HPV ได้ แต่ยาสามารถรักษาอาการของหูดได้
เริม คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มาจากเชื้อ herpes simplex virus type 1 (HSV-1) หรือ type 2 (HSV-2) ที่พบเห็นส่วนมากมักจะเป็นชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของการติดเชื้อเริมที่ผิวหนัง ริมฝีปาก และอวัยวะเพศ อาจลามติดเชื้อไปที่ส่วนอื่นของร่างกายและทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ลักษณะผื่นของโรค herpes จะเหมือนกันไม่ว่าเกิดที่ไหน จะเป็นตุ่มน้ำเล็กๆ บนผิวหนังที่อักเสบสีแดง
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายและอยู่ในชั้นของผิวหนัง เชื้อจะแบ่งตัวทำให้ผิวหนังเกิดอาการบวมเป็นตุ่มน้ำและเกิดการอักเสบ หลังจากนั้นเชื้อจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ปมประสาท ganglia เป็นเวลานานโดยที่ไม่มีการแบ่งตัว แต่หากปัจจัยแวดล้อมเหมาะสมเชื้อก็อาจเกิดการแบ่งตัวได้ และทำให้เกิดอาการเป็นซ้ำ
ผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปากจะมีอัตราการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 20-40 สำหรับเริมที่อวัยวะเพศจะมีอัตราการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 80
ปัจจัยที่กระตุ้นยังไม่แน่ชัด เชื่อว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับแสงแดด ไข้ การมีประจำเดือน ความเครียด การเป็นซ้ำจะมีอาการน้อยกว่า และหายเร็วกว่าการเป็นครั้งแรก
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Treponema pallidum เชื้อนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือกเช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา หรือทางผิวหนังที่มีแผล เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเข้ากระแสเลือดและไปจับตามอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดโรคตามอวัยวะ
โรคตับอักเสบบี เป็นการอักเสบของตับซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยเชื้อไวรัสจะบุกรุกเข้าสู่เซลล์ตับและก่อให้เกิดการอักเสบขึ้น ในบางกรณีเชื้ออาจจะอยู่นิ่งเป็นปีๆ ซึ่งผู้ที่มีเชื้ออาจไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกาย เชื้อนี้สามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วในเซลล์ตับ ส่งผลก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายตับ
ไวรัสตับอักเสบซี แพร่กระจายมากขึ้น เนื่องจากพบได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยประมาณประมาณ 1-2% ของคนที่มาบริจาคเลือด หลังเป็นตับอักเสบแล้วก็มีแนวโน้มเกิดเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
20% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังชนิดซี จะเป็นตับแข็งภายใน 10-20 ปี บางส่วนกลายเป็นมะเร็งตับ
แหล่งข้อมูล: www.adamslove.org
ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิด ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในขณะร่วมเพศ มีทั้งแบบสำหรับผู้ชายและผู้หญิง
ส่วนใหญ่ฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายใช้โดยสวมครอบอวัยวะเพศชายที่กำลังแข็งตัวในขณะร่วมเพศ เมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิแล้ว น้ำอสุจิจะถูกเก็บไว้ในถุงยางอนามัย ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่น ซิฟิลิส หนองใน และ เอดส์ได้อีกด้วย
ถุงยางอนามัย ทำมาจากอะไร?
ถุงยางอนามัยในสมัยก่อนเคยทำจากหนังธรรมชาติ เช่นหนังแกะและยางพารา แต่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะทำมาจากลาเท็กซ์หรือโพลียูรีเทน
ลาเท็กซ์ คือวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการทำถุงยางอนามัย เพราะเชื้อไวรัสไม่สามารถผ่านทะลุไปได้ และราคาถูก หาซื้อง่าย ทว่ามีข้อเสียคือน้ำมันอาจทำให้ถุงยางฉีกขาดได้ และหลายคนอาจเกิดอาการแพ้
โพลียูรีเทน คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้ลาเท็กซ์ ในท้องตลาดมีอยู่ยี่ห้อหนึ่งวางขาย ทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง
เจลหล่อลื่น
เจลหล่อลื่นเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในถุงยางอนามัยที่มีความแตกต่างหลากหลาย เพราะบางครั้งถุงยางอนามัยก็ไม่มีเจลหล่อลื่น หรือบางครั้งก็ใช้ซิลิโคนเคลือบแทน บางครั้งอาจเป็นถุงยางอนามัยที่ใช้น้ำเป็นตัวหล่อลื่น วัตถุประสงค์ของสารหล่อลื่น คือทำให้ถุงยางมีความลื่นและง่ายต่อการใช้ อีกทั้งป้องกันไม่ให้ถุงยางฉีกขาดด้วย
ข้อควรรู้ก่อนออกศึก
ถุงยางอนามัย สามารถป้องกันการสัมผัสโดยตรงระหว่างองคชาติ ปาก ช่องคลอด หรือช่องทวารหนักได้ แต่หากใช้ไม่ถูกต้องถุงยางอนามัยจะใช้ไม่ได้ผลหรือไม่สามารถป้องกันเชื้อเอชไอวีได้เลย
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับถุงยางอนามัย
“ถุงยางอนามัย ใช้ไม่ได้ผลหรอก” จริงๆ แล้ว จากการศึกษาพบว่า 80% – 97% ถุงยางอนามัยสามารป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีได้ ถ้าใช้อย่างถูกต้องทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
“ถุงยางแตกตลอด!” จริงๆ แล้ว มีเพียง 2% เท่านั้น ที่ถุงยางอนามัยจะแตกได้หากใช้ถูกวิธี อย่าลืมว่าห้ามใช้น้ำมันกับถุงยางอนามัยชนิดลาเท็กซ์, ไม่สวมถุงยางอนามัยสองชั้น และไม่ใช้ถุงยางอนามัยที่หมดอายุ
“เชื้อเอชไอวีลอดผ่านถุงยางได้” จริงๆ แล้ว เชื้อเอชไอวีไม่สามารถลอดผ่านถุงยางอนามัยลาเท็กซ์หรือโพลียูรีเทนได้ แต่อย่าใช้ถุงยางอนามัยที่ทำจากหนังแกะ
เมื่อเราใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีแล้วจะรู้ว่ามันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพราะถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันการสัมผัสโดยตรงทางปาก ช่องคลอด และทวารหนัก นอกจากนี้ยังป้องกันองคชาติให้สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งด้วย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่เชื้อได้
แหล่งข้อมูล: www.adamslove.org/
PEP (Post -Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสที่ช่วยลดโอกาสในการสร้างไวรัสเอชไอวีในร่างกายหลังจากที่ร่างกายได้รับการสัมผัสเชื้อเอชไอวีมาจากหลายรูปแบบ อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรืออุบัติเหตุจากการโดนเข็มฉีดยาตำ เป็นต้น
ยาเป๊ป เป็นสูตรยาต้านไวรัสเอดส์ที่ประกอบไปด้วยตัวยา 2-3 ชนิด โดยจะเข้าไปช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมในเชื้อ และยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด และต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมงภายหลังจากที่ร่างกายได้รับการสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี เพราะการรับประทานหลังจากเวลาดังกล่าวจะทำให้ขาดประสิทธิภาพในการรักษา
ข้อสำคัญคือยาเป๊ปยังต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน และต้องทานยาต้านไวรัสเหมือนกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีประกอบกันไปอีก 2-3 ชนิด ทั้งนี้อาจมีผลข้างเคียงโดยเกิดอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย ซึ่งผลข้างเคียงอาจมีอาการรุนแรงในบางรายจนจำเป็นต้องหยุดยา อย่างไรก็ตามหากใช้แล้วเกิดผลข้างเคียงรุนแรงควรปรึกษาแพทย์
ขณะที่มีการวิจัยระบุว่าการทานยาเป๊ปนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีในบางรายที่ล้มเหลว ซึ่งความล้มเหลวนี้ เกิดจากการได้รับยาเป๊ปช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด หรือระดับของเชื้อไวรัสที่ได้รับมามีสูงมาก หรืออาจเป็นทั้งสองกรณีรวมกัน
อย่างไรก็ดีเรื่องของระยะเวลาและระดับของเชื้อไวรัสก็ขึ้นอยู่กับการให้ข้อมูลของผู้ป่วยเช่นเดียวกัน ยาเป็ปสามารถเข้าไปช่วยลดความไวในการสร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้การตรวจผลออกมาเป็นลบ หรือไม่พบเชื้อเอชไอวีในร่างกายนั่นเอง โดยแพทย์จะให้คำแนะนำแก่คนไข้ที่ได้รับยา และให้มาทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้งเมื่อทานครบสูตรแล้ว และหลังจากนั้นอีก 3-6 เดือนจึงค่อยมาตรวจอีกครั้ง
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การรับประทานยา เป็ป จะมีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อิดโรย คลื่นไส้ และอาเจียน ดังนั้นคนไข้จึงควรทำความเข้าใจว่าหากผลข้างเคียงไม่รุนแรงมากก็ควรรับประทานยาให้ครบเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการรับสรุปที่แน่นอนว่าการทานเป๊ปจะให้ผลได้ 100% หากไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้ว ดังนั้น การป้องกันด้วยถุงยางอนามัยและเจลหล่อลื่นก็ยังเป็นวิธีที่ได้ผลดีกว่า
แหล่งข้อมูล: http://www.adamslove.org/
ยาเพร็ป คืออะไร? เพร็ป (PrEP) ย่อมาจาก PreExposure Prophylaxis เป็นส่วนสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี แต่มีความเสี่ยงสูง
เพร็ป คือ สูตรยาต้านไวรัสที่ให้ทานเป็นประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติด เชื้อเอชไอวี ถ้าเขาไปรับเชื้อมา ทุกวันนี้ เพร็ป ให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากในกลุ่มชายรักชาย และสาวประเภทสองที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สูตรยานี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพใน การลดการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ในกลุ่มชายหญิงทั่วไป และในกลุ่มผู้ใช้เข็มฉีดยาเสพติด
การกินยา PrEP เป็นวิธีการป้องกันเชื้อเอชไอวีอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิผลสูง และมีความปลอดภัยมากหากมีการกินอย่างถูกวิธีและมารับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ ทางคลินิกนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จึงได้เริ่มเปิดให้บริการ “PrEP-30” ขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้มารับบริการที่คลินิกนิรนามสามารถประเมินลักษณะพฤติกรรมเสี่ยงของตนเองได้ว่าเหมาะสมกับการเลือก PrEP มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันเชื้อเอชไอวีของตนเองหรือไม่ โดยช่วยประเมินความพร้อมของร่างกายเมื่อจะเริ่มใช้ PrEP และจ่ายยา PrEP โดยเน้นความสำคัญของการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงต้องกลับมาตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเป็นประจำอย่างน้อยทุก 3 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับบริการที่เลือกใช้ยา PrEP มีความเข้าใจและตั้งใจจะใช้อย่างจริงจัง คอยเฝ้าระวังผลข้างเคียง และหากพบว่าติดเชื้อเอชไอวีขึ้นมาก็จะได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาอีกด้วย
เนื่องจากบริการ PrEP ยังไม่ได้ถูกรวมอยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพต่างๆ ของประเทศไทย บริการ “PrEP-30” นี้ จึงเป็นบริการที่ผู้รับบริการต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมค่ายา และค่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30 บาทต่อวัน หรือ 900 บาทต่อเดือน
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 National Institures of Health (NIH) หรือสถาบันวิจัยสุขภาพ ได้ประกาศผลการวิจัยว่า ในการจ่ายยาต้านไวรัสนั้น สามารถป้องกันเอชไอวีด้วยได้หรือไม่ ผลปรากฎว่า ยาทานที่หลายคนรู้จักในนาม ทรูวาด้า (Truvada) ให้ผลโดยเฉลี่ยถึง 44% ในการเพิ่มการป้องกันเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชาย และสาวประเภทสอง ที่ได้รับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน ควบคู่ไปกับตรวจเลือด และใช้ถุงยางอนามัย รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์วิธีอื่นโดยป้องกัน
การศึกษายังอยู่ในระหว่างงานวิจัยว่ายาต้านจะสามารถใช้ได้ผลในกลุ่มชายหญิง และผู้ใช้ยาหรือไม่ โดยผลปรากฎว่า การรับประทานยาทรูวาด้า สำหรับผู้หญิง ที่ออกมาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 นั้น ยังไม่ปรากฏผลงานวิจัยออกมา
สรุปคือทุกวันนี้ยาเพร็ป ให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากในกลุ่มชายรักชาย และสาวประเภทสองที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สูตรยานี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยว่ามีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ในกลุ่มชายหญิงทั่วไป และในกลุ่มผู้ใช้เข็มฉีดยาเสพติด
กองควบคุมโรค หรือ CDC เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนานโยบายในการให้บริการการรับประทานยาเพร็ป แต่ในขณะที่ยังรอการอนุมัติอยู่นั้น กองควบคุมโรคได้พัฒนาวิธีการจ่ายยาเพร็ปสำหรับป้องกันเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว นอกจากนี้กองควบคุมโรคในสหรัฐอเมริกา ยังออกคำแนะนำให้กลุ่มชายรักชาย ดังนี้
3.1 ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง และใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
3.2 ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบถึงสภาพร่างกายของตัวเอง
3.3 ตรวจและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของท่านอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ
3.4 รับข้อมูลและคำแนะนำของการรับประทานยาทุกครั้ง รวมถึงลดความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันและการใช้ยาเสพติด
3.5 ลดจำนวนคู่นอนลง
3.6 การรับประทานยาเพร็ปเป็นประจำทุกวันสำคัญมาก เพราะงานวิจัยระบุว่ายาเพร็ปให้ผลในการป้องกันในระดับที่สูงในกลุ่มที่ทานเป็นประจำ
แต่การป้องกันจะไม่ได้ผลในกลุ่มที่ไม่ทายาอย่างต่อเนื่อง
3.7 รับประทานยาเพร็ปควบคู่ไปกับการรับคำปรึกษาเรื่องสุขภาพ การตรวจเอชไอวี และการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
3.8 ผู้ใดที่คิดว่าตัวเองควรได้รับประทานยาเพร็ปควรปรึกษาแพทย์
แหล่งข้อมูล: www.adamslove.org/
ปัจจุบันได้มีการพัฒนารักษาไวรัส รวมทั้งมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกันเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรจะปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ เพื่อวางแผนการรักษา ซึ่งเชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันโดยเริ่มทำลายเซลล์ CD4 เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดการติดเชื้อ และการรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัสนั้นก็เป็นเพียงการหยุดหรือทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวลดลงจนไม่อาจลุกลามกลายเป็นโรคเอดส์
ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเพื่อวางแผนในการรักษา
เลือกแพทย์และโรงพยาบาลที่รักษา
ปัจจัยข้อหนึ่งที่ทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จคือแพทย์ผู้รักษาและโรงพยาบาล ทีมงานทางการแพทย์ตะต้องมีคุณภาพ และต้องเข้าใจปัญหาที่ผู้ป่วยกำลังประสบอยู่ทุกวัน อีกทั้งยังต้องวางแผนการรักษา ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ และป้องกันผู้อื่นไม่ให้ได้รับเชื้อจากตัวผู้ป่วย
ผู้ที่ติดเชื้อมักจะมีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาทางด้านจิตใจ ปัญหาเรื่องยาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถปรึกษากับทีมงานที่รักษาได้ ที่สำคัญคือต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน
เข้าใจหลักการรักษา
เชื้อ HIV จะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อนั้นจะถูกสร้างโดย CD4 Cell เมื่อเชื้อมีปริมาณมากเซลล์ CD4 Cell ก็จะต่ำ จึงควรเริ่มการรักษาก่อนที่ภูมิคุ้มกันจะถูกทำลาย
และนอกจากดูจำนวน CD4 Cell แล้วก็ยังต้องดู viral load หรือปริมาณเชื้อที่อยูในกระแสเลือดด้วย หากพบ viral load มาก เชื้อในร่างกายก็จะมาก อวัยวะก็จะถูกทำลายมากและเร็ว ที่สำคัญคืออาจเกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาคือจะต้องทำให้ปริมาณเชื้อ (viral load) ในร่างกายมีน้อยที่สุด
การรักษาจะใช้ยาร่วมกันหลายชนิดเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา โปรดจำไว้ว่าหากเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้รักษาอย่าหยุดยาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยลำพัง ให้ปรึกษาแพทย์เสมอ เพราะอาจจะทำให้เชื้อดื้อยา
การเลือกใช้ยารักษา
การจะเลือกใช้ยารักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
เมื่อไรถึงจะเริ่มรักษา
ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นเหมือนกันว่าจะเริ่มรักษาโรคต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเอดส์ นั่นคือเซลล์ CD4 ลดลง และมีปริมาณเชื้อมาก (viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณีที่แตกต่างกันไป ดังเช่น
กรณีการรักษาผู้ป่วยหลังสัมผัสโรคติดเชื้อ HIV ( Post-Exposure Prophylaxis ) ควรทำภายใน 72 ชั่วโมง เช่น การที่เจ้าหน้าที่ถูกเข็มตำขณะทำงานโดยที่เข็มนั้นเปื้อนเลือดผู้ป่วย HIV… หลังสัมผัสเชื้อทันทีจะไม่สามารถใช้วิธีการเจาะเลือดหา viral load หรือ antigen หรือ antibody ได้ เพราะจะยังหาไม่พบ
การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ แต่ในกรณีของผู้ที่ร่วมเพศกับผู้ที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อ HIV หรือไม่ ยังไม่มีรายงานว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากแค่ไหน ดังนั้นผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการใช้ยา หากต้องใช้จะเป็นเวลานานแค่ไหน และผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
กรณี Primary Infection หมายถึง ภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั่งภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HIV เพิ่มขึ้นจนสามารถตรวจพบได้ ช่วงระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยในระยะนี้ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
กรณี ผู้ที่ติดเชื้อ HIV โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ เป็นต้น
การรักษา
ก่อนการรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อในหลายแง่มุม รวมทั้งการระยะและอาการของโรค การดื้อยา ผลข้างเคียงของยา ราคายา การติดเชื้อฉวยโอกาส และเมื่อตัดสินใจรักษาแล้ว แพทย์จะจ่ายยาที่คิดว่าดีที่สุดเพื่อป้องกันการดื้อยา ผู้ป่วยต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะรักษา เพราะการขาดยาแม้เพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง ก็จะทำให้ระดับยาในเลือดลดลง ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้ ผู้ป่วยต้องปรึกษากับแพทย์ถึงราคายาเนื่องจากขณะนี้ราคายังแพงอยู่
เป้าหมายในการรักษา
เชื้อ HIV เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ การยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV จะทำให้เชื้อหยุดหรือชะลอการดำเนินของโรคเอดส์ โดยมีเป้าหมายในการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ดังนี้
ข้อสำคัญคือผู้ที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในระยะยาวโดยที่ไม่เกิดอาการ ทั้งที่ยังไม่ได้รักษา ดังนั้นผู้ป่วยบางรายยังไม่จำเป็นต้องรีบรักษาก็ได้ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์
การติดตามการรักษา
หลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส HIV เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นแพทย์อาจจะนัดตรวจทุก 3-6 เดือน เพื่อประเมินสิ่งต่อไปนี้
แหล่งข้อมูล: www.siamhealth.net
ส่วนใหญ่แล้ว การติดเชื้อเอชไอวีเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันและการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึ่งอาจไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายได้ 100% แต่คุณสามารถป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยหรือลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ด้วยเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ ดังต่อไปนี้
หนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือถุงยางอนามัยชาย ซึ่งมีวิธีการใช้งานที่ง่ายและหาซื้อได้ในราคาถูก ข้อดีคือถุงยางอนามัยมีรูปทรง ขนาด พื้นผิว และกลิ่นหลากหลายรูปแบบให้เลือก หากคุณหรือคู่ไม่ชอบถุงยางอนามัยประเภทใดก็สามารถเปลี่ยนไปลองใช้ประเภทอื่นได้
คำเตือน: ควรใช้ก่อนวันหมดอายุ หากเลยกำหนดวันหมดอายุให้ทิ้ง, อย่าเก็บถุงยางอนามัยให้โดนแสงแดด หรือในสถานที่ร้อนจัด / เย็นจัด
วิธีการใส่ถุงยางอนามัย:
วิธีการถอดถุงยางอนามัย:
ถุงยางอนามัยหญิง ที่เรียกว่า ถุงยางอนามัยแบบสอด (Insertive Condom) ได้รับการออกแบบเฉพาะสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ในช่องคลอด ทำจากโพลียูรีเทนที่ทำหน้าที่เหมือนซับหลวมๆ ภายในช่องคลอด แต่หากตัดสินใจใช้ถุงยางอนามัยผู้หญิงในการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักก็ควรตรวจสอบให้บ่อยครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าถุงยางอนามัยจะไม่ลื่นหลุดเข้าไปในลำไส้ตรง
*ถุงยางอนามัยชายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
เคล็ดลับ: ไม่ควรใช้ถุงยางอนามัยชายและหญิงในเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการลื่นหลุดหรือฉีกขาด
วิธีการใส่ถุงยางอนามัยแบบสอด:
วิธีการถอดถุงยางอนามัยแบบสอด:
หลังจากหลั่งเรียบร้อย ให้บีบ และบิดวงแหวนภายนอกของถุงยางอนามัย จากนั้นจึงนำออกจากช่องคลอดก่อนที่จะลุกขึ้นยืน โดยระมัดระวังไม่ให้มีการรั่วไหลของของเหลว (น้ำอสุจิ) ภายใน
ยาเพร็พ หรือ ยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัส Pre- Exposure Prophylaxis (PrEP)
เป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อแบบใหม่สำหรับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง ยาเพร็พช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงที่มีภาวะเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อเอชไอวีผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้เข็มฉีดยา
ยาเป๊ป หรือ ยาต้านไวรัสหลังการสัมผัส Post-Exposure Prophylaxis (PEP)
เป็นยาต้านเชื้อที่ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อเอชไอวีก่อนที่ตัวเชื้อจะกระจายตัวในร่างกาย ตัวยาประกอบด้วยยาต้านไวรัส 2-3 ชนิด ควรรับประทานอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หลังจากที่คุณได้รับเชื้อเอชไอวี (เพื่อให้มีประสิทธิภาพควรเริ่มทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อ) และควรจะรับประทานให้ครบ 28 วัน
เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อมีการฉีดยาก็ควรใช้เข็มใหม่และแท่นเจาะที่สะอาดทุกครั้ง หลังจากที่คุณใช้เข็มฉีดยาแล้ว ควรจัดเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ขวดน้ำพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวคุณหรือผู้อื่นได้สัมผัสและรับบาดเจ็บ
แหล่งข้อมูล: www.hivcl.org, www.plannedparenthood.org, www.cdc.gov
HIV แพร่กระจายโดยการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย (condom) เป็นสิ่งจำเป็นมากในการช่วยป้องกันโรคเอดส์ และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นการไม่ใช้ถุงยางอนามัย จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูง
กิจกรรมดังต่อไปนี้ไม่ทำให้ติด HIV
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า กิจวัตรประจำวันดังกล่าวไม่ทำให้คุณติดเชื้อ HIV ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวการอยู่ร่วมกลุ่มกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ และไม่จำเป็นต้องกีดกันพวกเขาออกจากสังคม
แหล่งข้อมูล: http://www.migesplus.ch
เมื่อเร็วๆ นี้ สภากาชาดไทย แถลงข่าวโครงการลดการติดเอดส์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง พร้อมให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อรับยาต้านไวรัสเอดส์ก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือเพร็ป (PrEP) ซึ่งส่วนกลางรับได้ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของสมาคมฟ้าสีรุ่งที่กรุงเทพฯ หรือ สอบถามเพิ่มเติม โทร.0 2253 0996 ในเวลาราชการ
สำหรับกลุ่มเป้าหมายการใช้ยาตัวดังกล่าวคงพอทราบแล้วว่ายาต้านไวรัสตัวนี้คืออะไร ใช้เมื่อใด แต่กับบุคคลทั่วไปเชื่อว่าอาจยังสับสน วันนี้ mars จึงทำข้อมูลพอสังเขปให้เข้าใจง่ายขึ้น
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โดยทั่วไปเราจะคุ้นชินกับการเห็นคนรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดแผง 28 เม็ด ทุกวัน ต่อมามีการพัฒนาเป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน คือ รับประทานหลังมีกิจกรรมร่วมกัน 1 เม็ดทันที และอีก 1 เม็ด ภายใน 12 ชั่วโมง ซึ่งเหตุผลการใช้ต่างกัน และคนละเรื่องกับ ‘PrEP’ หรือ ‘PEP’ อย่างสิ้นเชิง
PrEP (PreExposure Prophylaxis) หรือ PEP (Post -Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัส HIV ในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มรักร่วมเพศ แพทย์ พยาบาล ที่อาจจำเป็นต้องรับประทานยาชนิดนี้ประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือกรณีสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไปแล้วภายใน 72 ชั่วโมง ก็ยังสามารถรับประทานเพื่อป้องกันได้
แม้ยาชนิดนี้มีชื่อเรียก 2 แบบ ตามลักษณะของเวลาในการรับประทาน แต่เนื้อยาคือตัวเดียวกัน โดยผลข้างเคียงของมันอาจเกิดขึ้นได้คือ อาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ และอาเจียน เป็นต้น
ขอบคุณข่าวสารจาก http://www.manager.co.th