ข้อมูลและความรู้

ติดตามได้ที่ช่อง

Caremat_CNX-Youtube
ค่ายกิจกรรม Young KPs Leader Camp ค่ายกิจกรรม Young KPs Leader Camp

ค่ายกิจกรรม Young KPs Leader Camp
มูลนิธิแคร์แมท จัดกิจกรรม Young KPs Leader Camp เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนในการให้ข้อมูล และส่งต่อเนื่อง เข้าสู่บริการด้านการป้องกันที่เหมาะสม สำหรั

ผลสำรวจเพศสภาวะ SOGIE  by Caremat ผลสำรวจเพศสภาวะ SOGIE by Caremat
อ้างไม่รู้ ก็ไม่รอด “บุหรี่ไฟฟ้า” อ้างไม่รู้ ก็ไม่รอด “บุหรี่ไฟฟ้า”
งานวิจัยโปรไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของผู้มีเชื่อ HIV งานวิจัยโปรไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของผู้มีเชื่อ HIV

งานวิจัยโปรไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของผู้มีเชื่อ HIV
โปรไบโอติกคือจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสมสามารถชะลอการทำลายระบบภูมิคุ้มกันและช่วยรักษาภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย HIV ได้ โปรไบโอติก

ข่าวคุ้มครองผู้บริโภค ข่าวคุ้มครองผู้บริโภค

ข่าวคุ้มครองผู้บริโภค
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ขอส่งข่าว สคบ. เดือน กุมภาพันธ์ 2568

ข้อมูลและความรู้

คนไทยทุกคนมีสิทธิตามกฎหมาย ในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุม

ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล

และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

สิทธิประกันสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีดังนี้

  1. สิทธิบัตรทอง (สปสช.)
  2. สิทธิประกันสังคม
  3. สิทธิราชการ (กรมบัญชีกลาง)
  4. สิทธิประกันสุขภาพต่างด้าว
  5. สิทธิอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ ประกันสุขภาพเอกชน เป็นต้น

ข้อควรรู้

  • ผู้ติดเชื้อเอซไอวีควรรู้สิทธิประกันสุขภาพของตนเอง เพื่อเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข
  • รู้ช่องทางและวิธีในการตรวจสอบและเข้าถึงสิทธิประกันสุขภาพของตนเอง
  • ผู้ติดเชื้อเอซไอวีที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณียาต้านเอชไอวีหมดระหว่างเดินทางหรือท่องเที่ยว สามารถแสดงบัตรประชาชนเพื่อขอรับยาต้านเอซไอวีฉุกเฉินที่โรงพยาบาลของรัฐได้ทุกแห่ง โดยจะได้รับยาสำรองเพื่อกินต่อเนื่องในระยะเว่ลาสั้นๆ
  • สำหรับแรงงานต่างด้าวแนะนำให้ซื้อบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ

ผู้ใช้สิทธิตามระบบประกันสุขภาพ สามารถเข้ารับบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการตามระบบโดยได้รับการดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย

ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  • สามารถขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ไม่เกิน 4 ครั้ง/ต่อบี
  • หากเกิดอุบัติเหตุหรือภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถใช้สิทธิเข้ารับบริการที่หน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ตามความจำเป็นโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

การตีตราต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีและผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวีจากผู้ปฏิบัติงานบริการสุขภาพ

  1. ทัศนคติของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานบริการสุขภาพต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ให้บริการและผู้ปฏิบัติงานบริการสุขภาพมีความกังวลและระวังเป็นพิเศษ เช่น เจาะเลือด ทำแผล หยิบจับเสื้อผ้าหรือข้าวของเครื่องใช้ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

  1. ทัศนคติเชิงลบต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์

ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ถูกตีตราว่า เพราะขาดความรับผิดชอบและมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่ควรมีลูก ควรมีความรู้สึกละอายต่อสถานะการติดเชื้อของตัวเอง และอาจจะถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีให้คนอื่น

คำพูดตีตราต่อผู้รับบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เช่น แนะนำว่า “อย่ามีเพศสัมพันธ์อีกเลย” “อย่ามีลูกเลย” “จะได้รับยาต้านไวรัสก็ต่อเมื่อคุมกำเนิดหรือทำหมันเท่านั้น”  แม้กระทั่ง “ให้ยุติการตั้งครรภ์”

  1. ความรู้สึกลำบากใจที่จะทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี
  2. มีการป้องกันตัวเองระหว่างการให้บริการผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ

 

พฤติกรรมการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

เช่น เจ้าหน้าที่ไม่เต็มใจให้บริการแก่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อหรือผู้ที่ถูกสงสัยว่าอยู่ร่วมกับเชื้อ  ให้บริการอย่างด้อยคุณภาพกว่าผู้ป่วยทั่วไป ถูกจัดให้รับบริการเป็นคิวสุดท้ายหรือถูกจัดให้รอนานกว่าผู้ป่วยรายอื่นๆ ได้รับการดูแลเอาใจใส่น้อย ปฏิเสธที่จะให้บริการสุขภาพหรือปฏิเสธที่จะให้การรักษา ให้ผู้รับบริการเอาชุดโรงพยาบาลที่ใส่แล้วไปทิ้งในถังหรือบริเวณที่จัดไว้ให้เฉพาะผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เกิดจากการรับรู้ มุมมอง ความคิด ทัศนคติ หรือได้รับประสบการ์ที่ไม่ดีจากผู้อื่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความกลัว กังวลใจในรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะการถูกตำหนิ ทำให้รู้สึกอาย รู้สึกไม่มีคุณค่า 

แนวทางลดการตีตราตนเองในผู้ติดเชื้อ HIV 

– มองตนเองในด้านดี คิดถึงคุณค่าในตนเอง

– เข้าร่วมกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี 

– ทำกิจกรรมคลายเครียดต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือเสริมกำลังใจ

– หาคนที่ไว้ใจพูดคุยปรึกษา เมื่อมีความรู้สึกไม่สบายใจ 

– หาข้อมูล ความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี เช่น ความรู้ในเรื่อง U=U ( Undetectable = Untransmittable ) “ตรวจไม่พบ เท่ากับ ไม่ถ่ายทอดเชื้อ” 

“สวัสดีปกป้อง”

ระบบรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองการละเมิดสิทธิด้านเอดส์ เพศภาวะ และความเป็นกลุ่มประชากรเปราะบางต่อการถูกเลือกปฏิบัติ

  • ถูกบังคับตรวจเอชไอวี
  • ถูกเปิดเผยสถานะการติดเชื้อเอชไอวี
  • ถูกกีดกันหรือเลือกปฏิบัติ เนื่องมาจากการติดเชื้อเอชไอวี
  • ถูกกีดกันหรือเลือกปฏิบัติ เนื่องมาจากเป็นกลุ่มเปราะบาง

*กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ กลุ่มหลากหลายทางเพศ พนักงานบริการ ผู้ใช้สารเสพติด ประชากรข้ามชาติ ผู้ต้องขัง กลุ่มชาติพันธุ์ และชนเผ่า